Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/650
Title: | EFFECT OF SELF-LEADERSHIP ON WORK EFFORT AMONG COMPANY EMPLOYEES: THE MEDIATION ROLE OF PSYCHOLOGICAL EMPOWERMENT
AND JOB SATISFACTION อิทธิพลของภาวะผู้นำในตนเองที่มีต่อความมุ่งมั่นในการทำงานของพนักงานบริษัท โดยมีการเสริมพลังอำนาจทางจิตวิทยา และความพึงพอใจในงานเป็นตัวแปรส่งผ่าน |
Authors: | NARUPOT PIAMPANYA นฤพจน์ เปี่ยมปัญญา Sittipong Wattananonsakul สิทธิพงศ์ วัฒนานนท์สกุล Srinakharinwirot University. Graduate School |
Keywords: | ความมุ่งมั่นในการทำงาน พนักงาน ทฤษฎีการกำหนดตนเอง work effort employee self-determination theory |
Issue Date: | 30 |
Publisher: | Srinakharinwirot University |
Abstract: | The aims of this study were to test the causal model of work effort among employees, in which psychological empowerment and job satisfaction served as a mediator and to examine the direct and indirect effects of self-leadership through psychological empowerment and job satisfaction. A self-report questionnaire was used to collect data from three hundred and thirty-eight employees in the Bangkok Metropolitan Region and path analysis was performed to analyze the tested model. The results revealed that overall goodness-of-fit statistical analysis showed the tested model of work effort was well suited with the empirical data. The factors of self-leadership, psychological empowerment, and job satisfaction positively influenced work effort and those factors explain the variance of work effort 55%. However, there was no direct impact from self-leadership in terms of work effort, but self-leadership had an indirect effect on work effort via psychological empowerment and job satisfaction, which resulted in a completely mediating effect. These results suggested that self-leadership, psychological empowerment, and job satisfaction should be applied in terms of further work effort programs among employees. การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบโมเดลเชิงสาเหตุของความพยายามในการทำงานของพนักงาน โดยมีการเสริมพลังอำนาจทางจิตวิทยาและความพึงพอใจในงานเป็นตัวแปรส่งผ่าน และเพื่อตรวจสอบอิทธิพลทางตรงและอิทธิพลทางอ้อมของภาวะผู้นำในตนเอง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ พนักงานบริษัทในวัยผู้ใหญ่ตอนกลางอายุเฉลี่ย 42 ปี จำนวน 338 คน ผู้วิจัยเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามแบบรายงานตนเอง และใช้การวิเคราะห์เส้นทาง ในการประมาณค่าพารามิเตอร์ในโมเดลการวิจัยเพื่อตอบสมมติฐานการวิจัย ผลการวิจัย พบว่า โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของอิทธิพลภาวะผู้นำในตนเองที่มีต่อความมุ่งมั่นในการทำงานของพนักงาน โดยมีการเสริมพลังอำนาจเชิงจิตวิทยาและความพึงพอใจในงานเป็นตัวแปรส่งผ่านมีความสอดคล้อง กลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยภาวะผู้นำในตนเอง การเสริมพลังอำนาจเชิงจิตวิทยา และความพึงพอใจในงานมีอิทธิพลทางบวกต่อความมุ่งมั่นในการทำงานของพนักงาน และร่วมกันอธิบายความแปรปรวนในความมุ่งมั่นในการทำงาน คิดเป็นร้อยละ 55 ทั้งนี้ ภาวะผู้นำในตนเองไม่มีอิทธิพลทางตรงต่อความมุ่งมั่นในการทำงาน แต่มีอิทธิพลทางอ้อมโดยส่งผ่านการเสริมพลังอำนาจเชิงจิตวิทยาและความพึงพอใจในงานอย่างสมบูรณ์ ผลที่ได้จากการวิจัยนี้สอดคล้องกับสมมติฐานและยืนยันตามทฤษฎีแรงจูงใจการประยุกต์ทฤษฎีทางจิตวิทยาในการสร้างโปรแกรมเพื่อเพิ่มความมุ่งมั่นในการทำงานของพนักงานในลำดับต่อไป |
Description: | MASTER OF ARTS (M.A.) ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.) |
URI: | http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/650 |
Appears in Collections: | Graduate School |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
gs611130211.pdf | 3.61 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.