Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/3242
Title: | THE DEVELOPMENT OF CREATIVE DRAMA LEARNING ACTIVITIESFOR STIMULATING EXECUTIVE FUNCTION SKILL IN SELF CONTROL BEHAVIOROF KINDERGARTEN STUDENTS การพัฒนาชุดกิจกรรมละครสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดที่มีผลต่อการควบคุมตนเองในเด็กปฐมวัย |
Authors: | CHANON BUTPUM ชานนท์ บุตรพุ่ม Porawan Pattayanon ปรวัน แพทยานนท์ Srinakharinwirot University Porawan Pattayanon ปรวัน แพทยานนท์ porawanp@swu.ac.th porawanp@swu.ac.th |
Keywords: | ทักษะการคิด การควบคุมตนเอง ชุดกิจกรรมละครสร้างสรรค์ เด็กปฐมวัย Executive function skills Self-control behavior Set of creative drama learning activities Kindergarten students |
Issue Date: | 17 |
Publisher: | Srinakharinwirot University |
Abstract: | This research has the objective to develop creative drama learning activities for simulating executive function skills in the self-control behavior of kindergarten students and to compare the results regarding executive function skills in the self-control behavior of kindergarten students after the pretest and posttest. The study occurred during the second semester of Srinakharinwirot University Demonstration School (Elementary) 2023 academic year with 30 third-year kindergarten students, both male and female, aged 5-6 and were the sample group. The participating students were selected based on the purposive sampling method are presented with three aspects of executive function skills in self-control behavior, which included concentration, emotional control and self-evaluation. The results were as follows: (1) 12 sets of creative drama learning activities for stimulating executive function skills in self-control behavior were developed and approved by specialized experts with the highest measure of Index of Item - Objective Congruence (IOC). The activities included plan 1-4, regarding concentration, plans 5-8 focusing on developing emotional control and plans 9-12 on self- evaluation; (2) the results of the tests conducted pre-and-post activities to compare indications of executive function skills in self-control behavior showed that the average scores of the pretests were lower than the results of the post-tests with a self-evaluation test using evaluation forms showing highest average score followed by the average score the concentration indication test and the self-control indication test, respectively. การวิจัยการพัฒนาชุดกิจกรรมละครสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดที่มีผลต่อการควบคุมตนเองในเด็กปฐมวัย งานวิจัยชิ้นนี้เป็นงานวิจัยแบบกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. พัฒนาชุดกิจกรรมละครสร้างสรรค์ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดที่มีผลต่อการควบคุมตนเองในเด็กปฐมวัย 2. เพื่อเปรียบเทียบผลการใช้ชุดกิจกรรมละครสร้างสรรค์ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดที่มีผลต่อการควบคุมตนเองในเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชายและหญิงที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายประถม) จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ ชุดกิจกรรมละครสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดที่มีผลต่อการควบคุมตนเอง และแบบประเมินพัฒนาการด้านการคิดเชิงบริหาร (EF) ในเด็กก่อนวัยเรียน (MU.EF-101) ของศูนย์ประสาทวิทยาศาสตร์ สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล ม.มหิดล ผลการวิจัยพบว่า 1) ชุดกิจกรรมละครสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดที่มีผลต่อการควบคุมตนเองในเด็กปฐมวัย ประกอบด้วย สื่ออุปกรณ์และแผนกิจกรรมจำนวน 12 ชุด โดยชุดกิจกรรมที่ 1 – 4 มุ่งพัฒนาด้านการใส่ใจจดจ่อ ชุดกิจกรรมที่ 5 – 8 มุ่งพัฒนาด้านการควบคุมอารมณ์ และชุดกิจกรรมที่ 9 – 12 มุ่งพัฒนาด้านการติดตามประเมินตนเอง โดยกิจกรรมการเรียนรู้ในแต่ละกิจกรรมประกอบด้วยทฤษฎีการจัดกิจกรรมละครสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย คือ การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 การใช้ความทรงจำ จินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ และการสวมบทบาทสมมติภายใต้สถานการณ์และกติกาที่ตกลงร่วมกัน และ 2) ผลการเปรียบเทียบการใช้ชุดกิจกรรมละครสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดที่มีผลต่อการควบคุมตนเองในเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังการทดลอง พบว่า ผลการทดลองเปรียบเทียบตัวบ่งชี้ทักษะการคิดที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการยับยั้งชั่งใจ ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมละครสร้างสรรค์ทั้ง 3 ด้าน มีระดับคะแนนเฉลี่ยก่อนจัดกิจกรรมต่ำกว่าหลังจัดกิจกรรม โดยจากการใช้แบบประเมินด้านการติดตามประเมินตนเอง ผลประเมินอยู่ในระดับสูงสุด รองลงมา ตัวบ่งชี้ปัญหาด้านการใส่ใจจดจ่อ และตัวบ่งชี้ปัญหาด้านการควบคุมอารมณ์ ตามลำดับ |
URI: | http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/3242 |
Appears in Collections: | Faculty of Fine Arts |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
gs631130413.pdf | 5.86 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.