Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2817
Title: FACTORS ASSOCIATED WITH THE QUALITY OF LIFE AMONG THE ELDERLY PARTICIPATING IN THE FOOD AND INCOME SECURITY FOR ELDERY PROJECT IN KHOK KLANG SUBDISTRICT, LAM PLAI MAT DISTRICT BURIRAM PROVINCE
ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการความมั่นคงด้านอาหารและรายได้ ในตำบลโคกกลาง อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์
Authors: PITSINEE LHAOPREECHAKUL
พิชญ์สินี เหล่าปรีชากุล
Lamson Lertkulprayad
ล่ำสัน เลิศกูลประหยัด
Srinakharinwirot University
Lamson Lertkulprayad
ล่ำสัน เลิศกูลประหยัด
lamson@swu.ac.th
lamson@swu.ac.th
Keywords: คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ
การสนับสนุนทางสังคม
การรับรู้ความสามารถของตนเอง
Quality of life
Social support
Self-efficacy
Issue Date:  24
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: The aim of this research is to examine the factors associated with the quality of life among elderly individuals participating in the Food and Income Security program in the Khok Klang subdistrict of Buriram province, using quantitative research methods. A total of 150 questionnaires were utilized to collect data, then analyzed through the one-way analysis of variance and correlation coefficient analysis. The majority of respondents were female, aged between 60-65, married, living in households with four or more members, and with an average monthly income below 3,000 baht. Social support factors were categorized in three aspects: emotional, instrumental, and informational support, all of which were highly rated. Self-efficacy factors were divided into five aspects: stress management, health responsibility, interpersonal relationships, physical activity, and nutrition, all of which also receive high ratings. The quality of life of the elderly was assessed across four dimensions: physical, mental, social relationships, and environmental, all of which were rated highest. Furthermore, the research found that demographic factors, such as family size and income level significantly influenced the quality of life. Additionally, self-efficacy factors were found to be associated with various dimensions of quality of life, underscoring the importance of promoting healthcare, nutritious food choices, and fostering interpersonal relationships among elderly participants. Therefore, the project should include activities that promote healthcare and encourage the selection of nutritious food for the elderly, leading to improved living conditions. Additionally, promoting activities that foster relationships among the elderly within the project and the broader community helps establish bonds between the elderly and the community, enhancing their sense of self-worth and overall quality of life.
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการความมั่นคงด้านอาหารและรายได้ให้กับผู้สูงอายุ ในตำบลโคกกลาง จังหวัดบุรีรัมย์ ใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลจำนวนทั้งสิ้น 150 ชุด โดยมีการวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 60-65 ปี มีสถานภาพสมรส มีจำนวนสมาชิกในครอบครัว 4 คนขึ้นไป และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่ำว่า 3,000 บาท ปี ปัจจัยด้านการสนับสนุนทางสังคม แบ่งเป็น 3 ด้านได้แก่ ด้านอารมณ์ มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนด้านการช่วยเหลือ สิ่งของ การเงิน แรงงาน และบริการสุขภาพ ด้านการสนับสนุนข้อมูลข่าวสาร มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ปัจจัยด้านการรับรู้ความสามารถของตนเอง แบ่งเป็น 5 ด้านได้แก่ ด้านการจัดการความเครียด มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนด้านความรับผิดชอบด้านสุขภาพ ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ด้านการออกกำลังกาย ด้านโภชนาการ ด้านการจัดการความเครียด มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ แบ่งเป็น 4 ด้านได้แก่ ด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านสัมพันธภาพทางสังคม และด้านสิ่งแวดล้อม มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด นอกจากนั้นงานวิจัย พบว่า ผู้สูงอายุที่มีสถานภาพ จำนวนสมาชิกในครอบครัว และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนที่แตกต่างกัน มีผลต่อคุณภาพชีวิตที่ต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 มากไปกว่านั้น ปัจจัยด้านการรับรู้ความสามารถของตนเองนั้นมีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ดังนี้ ด้านความรับผิดชอบด้านสุขภาพ มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตด้านสิ่งแวดล้อม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตด้านร่างกาย ด้านจิตใจ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และด้านสัมพันธภาพทางสังคมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนด้านการออกกำลังกาย และด้านโภชนาการ มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตด้านจิตใจ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ดังนั้น โครงการควรมีกิจกรรมที่ส่งเสริมการดูแลสุขภาพ และการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้กับผู้สูงอายุ จะช่วยให้ผู้สูงอายุสามารถช่วยเหลือตนเอง และผู้อื่นได้ ส่งผลให้มีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น รวมถึงส่งเสริมกิจกรรมที่เชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างผู้สูงอายุในโครงการ และชุมชนมากขึ้น เพื่อสร้างความผูกพันระหว่างผู้สูงอายุและชุมชน ช่วยให้ผู้สูงอายุรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2817
Appears in Collections:Faculty of Business administration for society

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs651160362.pdf4.62 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.