Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2702
Title: MALA SHABU CONSUMPTION BEHAVIOR OF CONSUMER IN BANGKOK METROPOLIS
พฤติกรรมการบริโภคชาบูประเภทหมาล่าในเขตกรุงเทพมหานคร
Authors: ANGKAWAN DEELERT
อังควรรณ ดีเลิศ
Rasita Sangboonnak
รสิตา สังข์บุญนาค
Srinakharinwirot University
Rasita Sangboonnak
รสิตา สังข์บุญนาค
supaporns@swu.ac.th
supaporns@swu.ac.th
Keywords: ส่วนประสมทางการตลาดบริการ
ปัจจัยด้านจิตวิทยา
พฤติกรรมการบริโภค
ชาบูประเภทหมาล่า
marketing mix
psychological factor
consumption behavior
mala shabu
Issue Date:  15
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: This current research study aims to study the consumption behavior of mala hotpot in Bangkok. The sample group in this research consisted of  400 consumers who had consumed mala hotpot. The questionnaires were adopted as a tool to collect the data. The statistics used in data analysis included percentage, mean, standard deviation (SD), t-test, one-way ANOVA, and multiple regression analysis. The results of the findings  showed that most of the respondents were females, were aged 26 - 33 years, single, held a Bachelor's degree, worked in a private sector, and with an average monthly income of 10,001 - 20,000 Baht. Overall, the opinions of the respondents on the service marketing mix, and the psychological factors were at a good level. The frequency of eating mala hotpot was twice a month. The expense of eating the mala hotpot was 716 Baht per time. The results of the hypothesis testing demonstrated that consumers with different occupations had different behaviors in consuming mala hotpot at a different frequency per month. Also,  consumers of different ages, statuses, educational levels, average monthly income and occupations spent differently in consuming mala hotpot per time. The service marketing mix was found to have no effect on the consumption of mala hotpot. The monthly frequency which covers the aspects of product, people and employees, and the creation and presentation of physical characteristics, was found to affect the consumption of mala hotpot. The expense per time could be explained by an adjusted R2 is 15.1%. The psychological factors related to perception and learning affected the behavior of consuming mala hotpot. The monthly frequency could be explained by an adjusted R2 is 5.3%. In the same vein, the psychological factor related to attitude, and also affected the behavior of consuming mala hotpot. The expense per time could be explained by an adjusted R2 is 9.6 %.
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีจุดหมายในการศึกษาพฤติกรรมการบริโภคชาบูประเภทหมาล่าในเขตกรุงเทพมหานคร โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ผู้บริโภคที่เคยบริโภคชาบูประเภทหมาล่า จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแตกต่างโดยการหาค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และ การวิเคราะห์ความถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ช่วงอายุ 26 -33 ปี  มีสถานภาพโสด มีการศึกษาระดับปริญญาตรี รายได้เฉลี่ยต่อเดือนเท่ากับ 10,001 - 20,000 บาท อาชีพคือพนักงานบริษัทเอกชน ผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นต่อส่วนประสมทางการตลาดบริการโดยรวมอยู่ในระดับดี และปัจจัยด้านจิตวิทยาโดยรวมอยู่ในระดับดี ความถี่ในการรับประทานชาบูหมาล่า 2 ครั้งต่อเดือน ค่าใช้จ่ายในการรับประทานชาบูหมาล่าต่อครั้ง คือ 716 บาทต่อครั้ง ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ผู้บริโภคที่มีอาชีพแตกต่างกัน มีพฤติกรรมการบริโภคชาบูประเภทหมาล่า ด้านความถี่ต่อเดือน แตกต่างกัน และ ผู้บริโภคที่มี อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และอาชีพ มีพฤติกรรมการบริโภคชาบูหมาล่า ด้านค่าใช้จ่ายต่อครั้ง แตกต่างกัน ส่วนประสมทางการตลาดบริการ ไม่มีผลต่อการบริโภคชาบูประเภทหมาล่า ในด้านความถี่ต่อเดือน ส่วนประสมทางการตลาดบริการ ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์และบริการ ด้านบุคคลและพนักงาน และ ด้านการสร้างและการนำเสนอลักษณะทางกายภาพ มีผลต่อการบริโภคชาบูประเภทหมาล่า ด้านค่าใช้จ่ายต่อครั้ง สามารถอธิบายได้ร้อยละ 15.1 ปัจจัยด้านจิตวิทยา ได้แก่ การรับรู้ การเรียนรู้ และ ทัศนคติ มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคชาบูประเภทหมาล่า ด้านความถี่ต่อเดือน สามารถอธิบายได้ร้อยละ 5.3 ปัจจัยทางด้านจิตวิทยา ได้แก่ ทัศนคติ มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคชาบูประเภทหมาล่า ด้านค่าใช้จ่ายต่อครั้ง สามารถอธิบายได้ร้อยละ 9.6
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2702
Appears in Collections:Faculty of Business administration for society

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs631130497.pdf4.33 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.