Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2699
Title: EXPLORATORY FACTOR ANALYSIS FOR WORK ENGAGEMENT OF THE EMPLOYEES IN CONSTRUCTION EQUIPMENT COMPANY  IN THAILAND
การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจความผูกพันในงานของพนักงานบริษัทจัดจำหน่ายและบริการหลังการขายเครื่องจักรกลหนักแห่งหนึ่งในประเทศไทย
Authors: PHAISARN SORNCHAI
ไพศาล ศรชัย
Kanyakit Keeratiangkoon
กัลยกิตติ์ กีรติอังกูร
Srinakharinwirot University
Kanyakit Keeratiangkoon
กัลยกิตติ์ กีรติอังกูร
kanyakit@swu.ac.th
kanyakit@swu.ac.th
Keywords: การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ
ความผูกพันในงาน
บริษัทจัดจำหน่ายและบริการหลังการขายเครื่องจักรกลหนัก
Exploratory Factor Analysis
Work Engagement
Construction Equipment Company
Issue Date:  15
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: The objective of this research was to examine the work engagement of employees in construction equipment company in Thailand using Exploratory Factor Analysis. The sample consisted of 190 employees in a construction equipment company in Thailand. The sample was selected based on cluster and accidental sampling. The research instrument for data collection was a questionnaire. The data were analyzed using statistics including percentage, mean, standard deviation, and Exploratory Factor Analysis by Principal Component Analysis and Orthogonal Rotation by the Varimax Method. In the analysis of the Exploratory Factor from 48 variables, the Kaiser-Meyer-Okin (KMO) was 0.935 and the Bartlett's Test of Sphericity found the Chi-Square was 8263.673. The elements can be extracted by analysis of the Principal Component Analysis when the Orthogonal Rotation was done, the variables can be grouped into eight elements, and these elements had Eigen values between 1.517-7.053, with a cumulative variance of 72.004% and an elemental weight of more than 0.4. The eight elements were as follows: (1) passion; (2) understanding at work; (3) relationship with supervisors; (4) benefits; (5) loyalty; (6) career path; (7) speed of responses; and (8) training.
งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบเชิงสำรวจความผูกพันในงานของพนักงานบริษัทจัดจำหน่ายและบริการหลังการขายเครื่องจักรกลหนักแห่งหนึ่งในประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างคือ พนักงานในบริษัทจัดจำหน่ายและให้บริการหลังการขายเครื่องจักรกลหนักแห่งหนึ่งในประเทศไทย จำนวน 190 คน การวิจัยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Sampling) และแบบบังเอิญ (Accidental Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (Exploratory Factor Analysis) โดยทำการวิเคราะห์องค์ประกอบสำคัญ (Principal Component Analysis) และใช้การหมุนแกนมุมฉาก (Orthogonal Rotation) ด้วยวิธีแวริแมกซ์ (Varimax Method) ผลการวิจัยพบว่า การวิเคราะห์องค์ประกอบของความผูกพันในงาน จากตัวแปร 48 ตัว มีค่าสถิติของไคเซอร์-ไมเยอร์-โอคิน (KMO) มีค่าเท่ากับ 0.935 และทดสอบสมมุติฐานของบาร์ทเลทท์ (Bartlett’s Test of Sphericity) พบว่า ค่าสถิติไค-สแควร์ (Chi-Square) เท่ากับ 8263.673 ได้ทำการสกัดองค์ประกอบด้วยวิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบสำคัญ (Principal Component Analysis) ซึ่งผู้วิจัยทำการหมุนแกนองค์ประกอบและพบว่าได้องค์ประกอบทั้งหมด 8 องค์ประกอบ มีพิสัยของค่าไอเกนอยู่ระหว่าง 1.517 - 7.053 มีค่าความแปรปรวนสะสมร้อยละ 72.004 และค่าน้ำหนักองค์ประกอบ เกิน 0.4 โดยองค์ประกอบทั้ง 8 ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 ความหลงไหลในการทางาน (Passion) องค์ประกอบที่ 2 ความเข้าใจและการรับรู้ในงาน (Understanding in work) องค์ประกอบที่ 3 ความสัมพันธ์กับหัวหน้างาน (Relationship with supervisor) องค์ประกอบที่ 4 ผลประโยชน์ที่ได้ (Benefit) องค์ประกอบที่ 5 ความจงรักภักดีต่อองค์การ (Loyalty) องค์ประกอบที่ 6 ความก้าวหน้าในอาชีพ (Career path) องค์ประกอบที่ 7 ความเร็วในการตอบสนอง (Speed of responses) และองค์ประกอบที่ 8 การฝึกอบรม (Training)
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2699
Appears in Collections:Faculty of Business administration for society

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs621130091.pdf2.71 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.