Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1852
Title: | FACTORS AFFECTING THE EMPLOYEE PERFORMANCE EFFECTIVENESS IN A NON-PROFIT ORGANIZATION A CASE STUDY OF POPULATION AND COMMUNITY DEVELOPMENT ASSOCIATION (PDA) ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานในองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไรกรณีศึกษา สมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน |
Authors: | SUJIRA MOONARSA สุจิรา มูลอาษา Atchareeya Saknarong อัจฉรียา ศักดิ์นรงค์ Srinakharinwirot University Atchareeya Saknarong อัจฉรียา ศักดิ์นรงค์ atchareeyas@swu.ac.th atchareeyas@swu.ac.th |
Keywords: | แรงจูงใจในการทำงาน สภาพแวดล้อมในการทำงาน ความพึงพอใจการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ประสิทธิภาพการทำงาน Performance efficiency Satisfaction with human resources Works motivation Works environment |
Issue Date: | 27 |
Publisher: | Srinakharinwirot University |
Abstract: | The objectives of this research are to study the factors affecting the effectiveness of employee performance in a non-profit organization, a case study of the population and community development association. The sample consisted of 180 employees in the population and community development association with one or more years of tenure. A questionnaire was used as the tool for data collection. The statistics for data analysis included frequency, mean, percentage, and standard deviation. The statistics for hypothesis testing included a t-test, one-way analysis of variance and multiple regression analysis. The study found that the respondents had an excellent level of overall job motivation. They also had a very good opinion of their working environment and overall satisfaction with human resources management was at a high level. Their opinion of the performance efficiency was very good as a whole. The result of the study revealed the following: (1) the employees of the non-profit organization were of a different gender, age, status, number of years worked and income per month and had different levels of efficiency in their work at statistically significant levels of 0.05; (2) the working motivation in terms of responsibilities and assigned tasks affected employee performance efficiency at a statistically significant level of 0.05 and the adjusted R2 was 35.2%; (3) the work environment, in terms of participation and receiving support from supervisors affected employee performance efficiency at a statistically significant level of 0.05 and the adjusted R2 was 43%; and (4) satisfaction with human resources management, in terms of recruiting, developing, and assessing the employees affected employee performance efficiency at a statistically significant level of 0.05 and the adjusted R2 was 26.5%. การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานในองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร กรณีศึกษาสมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัยครั้งนี้คือ พนักงานและลูกจ้างในสมาคมพัฒนาประชากรและชุมชนที่มีระยะเวลาในการทำงานตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป มีจำนวน 180 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน คือ การวิเคราะห์ความแตกต่างโดยการหาค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และสถิติการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณ ผลวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีแรงจูงใจในการทำงานโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมในการทำงานโดยรวมอยู่ในระดับดีมาก มีความพึงพอใจในการบริหารทรัพยากรมนุษย์โดยรวมอยู่ในระดับมาก และมีความคิดเห็นเกี่ยวประสิทธิภาพการทำงานโดยรวมอยู่ในระดับดีมาก ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า 1) พนักงานในองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่มีเพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา ระยะเวลาในการทำงาน และรายได้ต่อเดือนแตกต่างกันมีประสิทธิภาพการทำงานแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) แรงจูงใจในการทำงาน ด้านความรับผิดชอบงาน และด้านลักษณะงานที่ได้รับ มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานในองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ตามลำดับ โดยสามารถอธิบายได้ร้อยละ 35.2 3) สภาพแวดล้อมในการทำงาน ด้านการมีส่วนร่วมในงาน และด้านการได้รับการสนับสนุนจากผู้บังคับบัญชามีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานในองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ตามลำดับ โดยสามารถอธิบายได้ร้อยละ 43 4) ความพึงพอใจในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ด้านสรรหาและคัดเลือกบุคลากร ด้านการพัฒนาบุคลากร และด้านการประเมินผล มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานในองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ตามลำดับ โดยสามารถอธิบายได้ร้อยละ 26.5 |
URI: | http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1852 |
Appears in Collections: | Faculty of Business administration for society |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
gs631110146.pdf | 2.95 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.