Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1807
Title: | AWARENESS AND FACTORS INFLUENCING GREEN PRODUCTRE-PURCHASING BEHAVIOR TREND OF CONSUMERIN BANGKOK METROPOLITAN AREA การตระหนักรู้และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อแนวโน้มพฤติกรรมการซื้อซ้ำผลิตภัณฑ์สีเขียวของผู้บริโภค ในเขตกรุงเทพมหานคร |
Authors: | ROMYANUN CHANPANICH รมยนันท์ จันทร์พานิช Supada Sirikutta สุพาดา สิริกุตตา Srinakharinwirot University Supada Sirikutta สุพาดา สิริกุตตา supadas@swu.ac.th supadas@swu.ac.th |
Keywords: | ผลิตภัณฑ์สีเขียว พฤติกรรมการซื้อซ้ำ สิ่งแวดล้อม การตระหนักรู้ กลุ่มอ้างอิงทางสัมคม นโยบายภาครัฐ Green products Re-purchasing behavior Environment Awareness Social reference Government policy |
Issue Date: | 27 |
Publisher: | Srinakharinwirot University |
Abstract: | This research aims to study the awareness and factors influencing green product re-purchasing behavior trends among consumers in the Bangkok metropolitan area. The sample group in this research consisted of 400 people, aged 20 years and over, lived in the Bangkok metropolitan area, and used to or currently bought green products. The data were collected by a questionnaire and the statistics used for hypothesis testing included t-statistics, One-Way Analysis of Variance, and multiple regression. The results of hypothesis testing showed that consumers with different demographic characteristics, including age, gender, income, occupation and marital status had an influence on re-purchasing behavior trends on green products, which were statistically significant at a level of 0.05. Environmental awareness had an influence on re-purchasing behavior trends on green products, which were statistically significant at a level of 0.05 and affected the tendency by 12.8%. The social reference groups included a direct reference group and an indirect reference group, which had an influence on re-purchasing behavior trends on green products, which were statistically significant at a level of 0.05 and affected the tendency by 27.6%. Government policy had an influence on re-purchasing behavior trends on green products, which were statistically significant at a level of 0.05 and affected the tendency by 15.9%. the research results are used as guideline for targeting and developing marketing strategies to meet consumer behavior trends for green product. งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของลักษณะประชากรศาสตร์ การตระหนักรู้ด้านสิ่งแวดล้อม กลุ่มอ้างอิงทางสังคม และนโยบายของรัฐที่มีอิทธิพลต่อแนวโน้มพฤติกรรมการซื้อซ้ำผลิตภัณฑ์สีเขียว กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ผู้บริโภคที่ซื้อหรือเคยซื้อผลิตภัณฑ์สีเขียวที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ การวิเคราะห์ค่าความแตกต่างโดยใช้สถิติค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว สถิติการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า (1) ลักษณะประชากรศาสตร์ ได้แก่ เพศ อายุ รายได้ส่วนตัว อาชีพ และสถานภาพ ที่แตกต่างกันมีแนวโน้มพฤติกรรมการซื้อซ้ำผลิตภัณฑ์สีเขียว แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (2) การตระหนักรู้ด้านสิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อแนวโน้มพฤติกรรมการซื้อซ้ำผลิตภัณฑ์สีเขียวของผู้บริโภคได้ร้อยละ 12.80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (3) กลุ่มอ้างอิงทางสังคม ได้แก่ กลุ่มอ้างอิงทางตรงและกลุ่มอ้างอิงทางอ้อมมีอิทธิพลต่อแนวโน้มพฤติกรรมการซื้อซ้ำผลิตภัณฑ์สีเขียวของผู้บริโภค ได้ร้อยละ 27.6 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ (4) นโยบายภาครัฐมีอิทธิพลต่อแนวโน้มพฤติกรรมการซื้อซ้ำผลิตภัณฑ์สีเขียวของผู้บริโภคได้ร้อยละ 15.9 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลวิจัยนี้สามารถนำไปเป็นแนวทางในการกำหนดกลุ่มเป้าหมายและพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อให้ตรงต่อแนวโน้มพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์สีเขียวของผู้บริโภคได้ |
URI: | http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1807 |
Appears in Collections: | Faculty of Business administration for society |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
gs612130004.pdf | 2.32 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.