Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1789
Title: A CAUSAL MODEL OF WORK EFFORT ON RESEARCH PROJECT AMONG SRINAKHARINWIROT UNIVERSITY DEMONSTRATION SCHOOL TEACHERS
โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุความมุ่งมั่นในการทำงานวิจัยของอาจารย์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 
Authors: THANAKRIT KONGSILP
ธนกฤติ กองศิลป์
Sittipong Wattananonsakul
สิทธิพงศ์ วัฒนานนท์สกุล
Srinakharinwirot University
Sittipong Wattananonsakul
สิทธิพงศ์ วัฒนานนท์สกุล
sittipongw@swu.ac.th
sittipongw@swu.ac.th
Keywords: ความมุ่งมั่นในการทำงานวิจัย, การรับรู้บรรยากาศทางวิชาการ, อัตมโนทัศน์ทางวิชาการ, ความคาดหวังในความสามารถของตนเอง, การให้คุณค่าในชิ้นงานวิจัย
Academic environment perception Academic self-concept Expectancy Value Work effort on research project
Issue Date:  8
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: The objectives of this study are to test the causal model of the effect of academic environment perception on work effort on research projects among teachers at Srinakharinwirot University Demonstration School and to test the mediating role of academic self-concept, expectancy and value. A self-report questionnaire was used to collect data from 220 teachers with simple random sampling with academic environment perception, academic self-concept, expectancy value and work effort on research project questionnaires. The Cronbach’s alpha criteria was used and the reliability of the questionnaire was established at .89 .91 .93 .88 and .96, respectively. A Path Analysis was performed to analyze the tested model with AMOS. The results revealed the following: overall goodness-of-fit statistical analysis of a causal model of work effort on research projects among teachers at Srinakharinwirot University Demonstration School as a mediation role in terms of academic self-concept, expectancy and value, which showed that the calculated of indices provided a good model fit (Chi-Square = .392, df = 1, p = .53, AGFI = .98, CFI = 1.00, GFI = .99, RMSEA = .00). An independent variable of academic environment perception, the role mediation in academic self-concept, expectancy and value accounted for the calculation of indices and they could explain work effort on research projects of school teachers at 71.6%.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของการรับรู้บรรยากาศทางวิชาการที่มีผลต่อความมุ่งมั่นในการทำงานวิจัยของอาจารย์โรงเรียนสาธิต โดยมีอัตมโนทัศน์ทางวิชาการ ความคาดหวังในความสามารถของตนเองและการให้คุณค่าในชิ้นงานวิจัยเป็นตัวแปรส่งผ่าน กลุ่มตัวอย่างเป็นอาจารย์โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จำนวน 220 คน ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบวัดแบบรายงานตนเองด้วยวิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบง่าย โดยแบบวัดการรับรู้บรรยากาศทางวิชาการ แบบวัดอัตมโนทัศน์ ทางวิชาการ แบบวัดความคาดหวังในความสามารถตน แบบวัดการให้คุณค่าในชิ้นงานวิจัยและแบบวัดความมุ่งมั่นในการทำงานวิจัย มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ เท่ากับ .89 .91 .93 .88 และ .96 ตามลำดับ และใช้การวิเคราะห์เส้นทาง (Path Analysis) ด้วยโปรแกรม AMOS นอกจากนี้ยังตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลสมมติฐานกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ผลการวิจัย พบว่า โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุความมุ่งมั่นในการทำงานวิจัยของอาจารย์ โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ โดยมีอัตมโนทัศน์ทางวิชาการ การให้ความคาดหวังในความสามารถของตนเองและการให้คุณค่าในชิ้นงานวิจัยเป็นตัวแปรส่งผ่านมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (Chi-Square = .392, df = 1, p = .53, AGFI = .98, CFI = 1.00, GFI = .99, RMSEA = .00) โดยตัวแปรอิสระ ได้แก่ การรับรู้บรรยากาศทางวิชาการ และตัวแปรส่งผ่าน ได้แก่ อัตมโนทัศน์ทางวิชาการ การให้คุณค่าในชิ้นงานวิจัย และความคาดหวังในความสามารถตน สามารถอธิบายความแปรปรวนของความมุ่งมั่นในการทำงานวิจัยของอาจารย์ โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ร้อยละ 71.6
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1789
Appears in Collections:Graduate School

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs631130453.pdf2.4 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.