Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1430
Title: THE ACCEPTANCE FACTOR OF THE ELECTRONIC RECEIPTOF THE CONSUMER WHO PURCHASES IN THE SUPERMARKETOF A DEPARTMENT STORE IN BANGKOK.
ปัจจัยการยอมรับใบเสร็จอิเล็กทรอนิกส์ของผู้บริโภคที่ซื้อสินค้าในซูปเปอร์มาร์เก็ตของห้างสรรพสินค้าค่ายหนึ่งในกรุงเทพมหานคร
Authors: JEDSADA WANITSUMPUN
เจษฎา วานิชสัมพันธ์
Nattapat Manirochana
ณัฏฐพัชร มณีโรจน์
Srinakharinwirot University. Faculty of Business Administration for Society
Keywords: การยอมรับใบเสร็จอิเล็กทรอนิกส์
ใบเสร็จอิเล็กทรอนิกส์
Acceptance of e-Receipt
e-Receipt
Issue Date:  16
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: The objectives of this research were as follows: (1) to study the level of acceptance regarding e-Receipts; (2) to compare differences in acceptance of e-Receipts in terms of individual factors; and (3) to study the relationship between buying behavior and acceptance of e-Receipts for consumers who shop at a supermarket in a department store. The sample consisted of 385 consumers who shopped in a department store supermarket in Bangkok. The questionnaire was used as a tool to collect data in this research. The perceived usefulness reliability value was .745 and perceived ease of use reliability value was 0.883. The data were analyzed by descriptive statistics with mean and standard deviation. Research hypothesis testing by T-Test, One-way ANOVA and Pearson Product Moment Correlation. The results indicated that: (1) the overall level of acceptance of e-Receipts was at a high level (Mean = 4.00, SD = 0.759). Considering the aspect with the highest average value, the perceived usefulness was at a high level (Mean = 4.19, SD = 0.822), followed by perceived ease of use at a high level (Mean = 3.81, SD = 0.835). The results of this study were as follows: (1) differences in age and average income affect the level of acceptance of e-Receipts among consumers who shopped at a supermarket in a department store in Bangkok with a statistical significance level of 0.5, while gender, the educational level and the occupation of consumers who shopped at a supermarket in a department store in Bangkok were not affected by the level of acceptance of e-Receipt with statistical significance; (2) purchase frequency was moderately positively correlated with perceived usefulness (r = .681*, p < .05);  purchase frequency was moderately positively correlated with perceived ease of use (r = .796*, p < .05); the value per purchase was moderately positively correlated with perceived usefulness (r = .633*, p < .05); and value per purchase was moderately positively correlated with perceived ease of use (r = .718*, p < .05).
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการยอมรับใบเสร็จอิเล็กทรอนิกส์ 2) เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของการยอมรับใบเสร็จอิเล็กทรอนิกส์ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมในการซื้อสินค้ากับการยอมรับใบเสร็จอิเล็กทรอนิกส์ของผู้บริโภคที่ซื้อสินค้าในซูปเปอร์มาร์เก็ตของห้างสรรพสินค้าค่ายหนึ่งในกรุงเทพฯ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริโภคที่ซื้อสินค้าในซูปเปอร์มาร์เก็ตของห้างสรรพสินค้าค่ายหนึ่งในกรุงเทพฯ จำนวน 385 ตัวอย่าง ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย มีค่าความเชื่อมั่นด้านการรับรู้ประโยชน์เท่ากับ .745 และค่าความเชื่อมั่นด้านการรับรู้ความง่ายต่อการใช้เท่ากับ 0.883 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณาโดยวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานการวิจัยด้วยการวิเคราะห์ค่าที (t-test) วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) และวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson Product Moment Correlation) ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการยอมรับใบเสร็จอิเล็กทรอนิกส์ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.00, SD = 0.759) เมื่อพิจารณารายด้านด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านการรับรู้ว่ามีประโยชน์อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.19, SD = 0.822) รองลงมาเป็นด้านการรับรู้ว่าง่ายต่อการใช้อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 3.81, SD = 0.835) 2) อายุและรายได้เฉลี่ยที่ต่างกันมีผลต่อระดับความคิดเห็นการยอมรับใบเสร็จอิเล็กทรอนิกส์ของผู้บริโภคที่ซื้อสินค้าในซูปเปอร์มาร์เก็ตของห้างสรรพสินค้าค่ายหนึ่งในกรุงเทพฯ ที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนเพศ ระดับการศึกษาและอาชีพที่ต่างกันมีผลต่อระดับความคิดเห็นการยอมรับใบเสร็จอิเล็กทรอนิกส์ของผู้บริโภคที่ซื้อสินค้าในซูปเปอร์มาร์เก็ตของห้างสรรพสินค้าค่ายหนึ่งในกรุงเทพฯ แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 3) ความถี่ในการซื้อสินค้ามีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางกับการรับรู้ว่ามีประโยชน์ (r = .681*, p < .05 ) ความถี่ในการซื้อสินค้ามีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางกับการรับรู้ว่าง่ายต่อการใช้ (r = .796*, p < .05 ) ด้านค่าใช้จ่ายในการซื้อต่อครั้งมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางกับการรับรู้ว่ามีประโยชน์ (r = .633*, p < .05 ) และด้านค่าใช้จ่ายในการซื้อต่อครั้งมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางกับการรับรู้ว่าง่ายต่อการใช้ (r = .718*, p < .05 )
Description: MASTER OF BUSINESS ADMINISTRATION (M.B.A.)
บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บธ.ม.)
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1430
Appears in Collections:Faculty of Business administration for society

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs602130031.pdf2.48 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.