Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/890
Title: FACTORS AFFECTING CORPORATE SOCIAL RESPONSIBILITY BEHAVIOR AMONG SMALL AND MEDIUM SIZE ENTERPRISE ENTREPRENEURS
ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของไทย
Authors: ANUWAT JULINTRON
อนุวัตร จุลินทร
Dusadee Yoelao
ดุษฎี โยเหลา
Srinakharinwirot University. BEHAVIORAL SCIENCE RESEARCH INSTITUTE
Keywords: ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร
พฤติกรรมผู้ประกอบการ
วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
Corporate Social Responsibility
Entrepreneur Behavior
Small and Medium Size Enterprise
Issue Date:  19
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: The objectives of this research were (1) to study the corporate social responsibility (CSR) behavior of small and medium enterprises (SMEs) in Thailand; and (2) to analyze the CSR behavior of SME entrepreneurs in Thailand utilizing Structural Equation Model (SEM) developed from the theory of planned behavior by Ajzen. The causal variables included CSR intentions, CSR attitudes, subjective norms and perceived behavioral control. The samples consisted of five hundred and ten medium size entrepreneurs in the top six most important industrial sectors in terms of income. The tool used for data collection included a questionnaire developed from the theory of planned behavior. The results of study demonstrated that in terms of CSR behavior, Thai SME entrepreneurs paid more attention to CSR activities in areas of social development, followed by community involvement.  In terms of the factors affecting CSR behavior, for the direct factor, both CSR intentions and perceived behavioral control had direct effects on CSR behavior. For the indirect factors, CSR attitudes had an indirect effect on CSR behavior through CSR intentions, while there was no indirect effect found between subjective norms and perceived behavior control of CSR behavior via CSR intentions. For the factors related to belief, all of the CSR beliefs, normative beliefs and control beliefs had influence on CSR attitudes, subjective norms and perceived behavioral control, respectively. Therefore, in planning to promote CSR activities, the relevant agencies should focus on creating a good attitude regarding CSR and making SME to realize their ability and importance in doing CSR.
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร (CSR) ของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในประเทศไทย 2) เพื่อทำความเข้าใจและอธิบายถึงพฤติกรรมด้าน CSR ของผู้ประกอบการ SMEs ในประเทศไทย โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์รูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงสาเหตุ จากแบบจำลองที่พัฒนามาจากทฤษฎีพฤติกรรมตามแผนของ ไอเซน ที่มีตัวแปรเชิงสาเหตุ ได้แก่ เจตนาในการทำ CSR เจตคติในการทำ CSR การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง และ ความรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรม กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ คือผู้ประกอบการอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมในสาขาอุตสาหกรรมที่สำคัญที่สุด 6 อันดับแรกเรียงตามลำดับสัดส่วนรายได้ประชาชาติของ SMEs รวมทั้งสิ้น 510 ราย สำหรับเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลได้แก่แบบสอบถามที่สร้างขึ้นตามทฤษฎีพฤติกรรมตามแผน ผลการศึกษาพบว่า ในด้านพฤติกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร ผู้ประกอบการ SMEs ไทยให้ความสำคัญกับการทำกิจกรรม CSR ด้านการพัฒนาสังคม มากที่สุด รองลงมาได้แก่ ด้านการมีส่วนร่วมกับชุมชม สำหรับในด้านปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร ในส่วนของปัจจัยทางตรงพบว่าพฤติกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร ได้รับอิทธิพลทางตรงจากเจตคติในการทำ CSR และความรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรม  สำหรับปัจจัยทางอ้อมพบว่าเจตคติในการทำ CSR มีอิทธิพลทางอ้อมต่อพฤติกรรมผ่านเจตนาในการทำพฤติกรรม แต่ไม่พบว่าการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงและความรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมมีผลทางอ้อมต่อพฤติกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรผ่านเจตคติในการทำ CSR สำหรับความเชื่อในด้านต่าง ๆ พบว่า ความเชื่อด้านผลการทำ CSR ความเชื่อด้านกลุ่มอ้างอิง และความเชื่อด้านปัจจัยควบคุมมีอิทธิพลต่อ เจตคติในการทำ CSR การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง และความรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรม ตามลำดับ ดังนั้นในการวางแผนส่งเสริมให้มีการทำกิจกรรมด้าน CSR หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรให้ความสำคัญกับการสร้างเจตคติที่ดีต่อ CSR และการสร้างให้ผู้ประกอบการตระหนักถึงความสามารถและความสำคัญของ SME ในการทำ CSR
Description: DOCTOR OF PHILOSOPHY (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/890
Appears in Collections:Institute of Research in Behavioral Science

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs561150056.pdf2.07 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.