Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/794
Title: FRACTURE RESISTANCE OF SIMULATED OPEN APEX ROOT WITH THREE BRANDS OF CALCIUM SILICATE CEMENT AS AN APICAL PLUG 
ความต้านทานการแตกหักของฟันจำลองสภาวะปลายรากฟันเปิดเมื่ออุดปลายรากฟันด้วยวัสดุในกลุ่มแคลเซียมซิลิเกตซีเมนต์สามชนิด
Authors: PATTARA ANCHEUN
ภัทร อันชื่น
Jaruma Sakdee
จารุมา ศักดิ์ดี
Srinakharinwirot University. Faculty of Dentistry
Keywords: ปลายรากฟันเปิด, แนวกั้นปิดปลายรากฟัน, ความต้านทานการแตกหัก, วัสดุในกลุ่มแคลเซียมซิลิเกตซีเมนต์
Open apex Apical barrier Fracture resistance Calcium silicate cement
Issue Date:  15
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: Objective: The aim of this study was to examine the fracture resistance of simulated immature teeth after orthograde apical plug with three brands of calcium silicate cement. Materials and Methods: Sixty single-rooted lower premolars were sectioned to obtain 8 mm length. An artificial open apex was prepared using a No.1- No.6 Peeso Reamers all the length of the tooth. After that, all specimens were randomly allocated into 4 groups, 15 teeth each, according to the type of calcium silicate cement: groups I - ProRoot MTA, groups II - MTA angelus, groups III -   Retro MTA and groups IV (control) – completely filling with gutta-percha. Each specimen was then subjected to fracture testing using a Universal Testing Machine. The samples were loaded at a crosshead speed of 1 mm/min until the fracture occurred. The maximum force to fracture was recorded in newtons. Data were analyzed statistically by One-Way ANOVA with Scheffe test. Results: The control group showed significantly lower fracture resistance compared with the other groups (p < .05). No significant difference in fracture resistance between the ProRoot MTA, MTA angelus, and Retro MTA groups were revealed (P > .05). The most common fracture level was the 1/3 middle in 27 of 45 teeth. Conclusions: The immature teeth complete filling with ProRoot MTA , MTA angelus, and  Retro MTA seems to increase the fracture resistance.
วัตถุประสงค์ : ศึกษาเปรียบเทียบความต้านทานการแตกหักของฟันจำลองสภาวะปลายรากฟันเปิด เมื่อสร้างแนวกั้นปิดปลายรากฟันด้วยวัสดุในกลุ่มแคลเซียมซิลิเกตซีเมนต์ 3 ชนิด วัสดุอุปกรณ์และวิธีการ : ฟันกรามน้อยล่างรากเดี่ยวจำนวน 60 ซี่ ตัดปลายรากฟันให้มีความยาว 8 มิลลิเมตร และจำลองสภาวะปลายรากฟันเปิดด้วยพีโซรีมเมอร์ ขนาด 1-6 ตลอดความยาวรากฟัน แบ่งกลุ่มโดยการสุ่มคัดเลือกฟันออกเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มละ 15 ซี่ ซึ่งแบ่งตามชนิดของวัสดุในกลุ่มแคลเซียมซิลิเกตซีเมนต์; กลุ่มที่ 1 โปรรูทเอ็มทีเอ, กลุ่มที่ 2 เอ็มทีเอแองเจลัส, กลุ่มที่ 3 เรโทรเอ็มทีเอ และกลุ่มที่ 4 กลุ่มควบคุม ทำการอุดด้วยวัสดุที่ระบุไว้ในแต่ละกลุ่ม ยกเว้นกลุ่มที่ 4 ทำการอุดตลอดคลองรากฟันด้วยกัตตาเปอร์ชา ทำการทดสอบค่าความต้านทานการแตกหักของฟันด้วยเครื่องทดสอบแรงสากลให้ความเร็ว 1 มิลลิเมตรต่อนาที จนเกิดการแตกหัก และบันทึกค่าแรงสูงสุดที่ทำให้ฟันเกิดการแตกหักด้วยหน่วยนิวตัน ทำการถ่ายรูปชิ้นฟันที่แตกหักด้วยกล้องจุลทรรศน์ปฏิบัติการทันตกรรม เปรียบเทียบค่าความต้านทานการแตกหักของฟันด้วยสถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) และสถิติเชฟเฟ (Scheffe test) ผลการศึกษา: กลุ่มควบคุมมีค่าความต้านทานการแตกหักของฟันน้อยกว่ากลุ่มการทดลองอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และไม่พบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่ออุดภายในคลองรากฟันด้วยโปรรูทเอ็มทีเอ เอ็มทีเอแองเจลัส และ เรโทรเอ็มทีเอ ชิ้นฟันที่แตกส่วนใหญ่มีตำแหน่งการแตกที่ระดับ 1 ใน 3 ของกึ่งกลางรากฟัน จำนวน 27 ใน 45 ซี่ สรุป: การอุดตลอดคลองรากฟันด้วยโปรรูทเอ็มทีเอ เอ็มทีเอแองเจลัส และเรโทรเอ็มทีเอ มีแนวโน้มเพิ่มความต้านทานการแตกหักของฟันจำลองสภาวะปลายรากฟันเปิด 
Description: MASTER OF SCIENCE (M.Sc.)
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/794
Appears in Collections:Faculty of Dentistry

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs601110055.pdf1.13 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.