Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/658
Title: EFFECTS OF THE SUPPORTIVE PARENTING STYLE ON ACADEMIC ACHIEVEMENT IN SCIENCE AMONG MATHAYOM SUKSA THREE STUDENTS: THE MEDIATING ROLE OF ACADEMIC SELF-CONCEPT,EXPECTATION AND VALUE
อิทธิพลของการอบรมเลี้ยงดูแบบเอาใจใส่ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยมีอัตมโนทัศน์ด้านวิชาการ ความคาดหวัง และการให้คุณค่า เป็นตัวแปรส่งผ่าน
Authors: ATHITHAN THONGSUB
อธิษฐาน ทองทรัพย์
Sittipong Wattananonsakul
สิทธิพงศ์ วัฒนานนท์สกุล
Srinakharinwirot University. Faculty of Humanities
Keywords: ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
อบรมเลี้ยงดูแบบเอาใจใส่
อัตมโนทัศน์ด้านวิชาการ
ความคาดหวัง
การให้คุณค่า
Supportive parenting
Academic achievement
Academic Self-concept
Expectation
Value
Issue Date:  30
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: The aims of this study are to test the causal model of supportive parenting effecting academic achievement in science among Matthayom Three students, in which self-concept expectation and value served as the mediator and to examine the direct and indirect effects of supportive Parenting on academic achievement in science through academic self-concept expectation and value. The expectancy-value theory model (Wigfield & Eccles, 2000) was adopted as the conceptual framework of this study and illustrated the causal relationships among five variables. A two-stage random sampling technique was employed to recruit the participants. The study sample consisted of 450 Matthayom Three students. A questionnaire was used for the purposes of data collection. The validity and reliability estimates of all instruments were satisfactory. Path analysis was applied to analyze and to estimate the pathway of the relationships among these variables. The findings of this study revealed that the goodness of fit statistical analyses indicated that the causal model was a good fit for the empirical data. The supportive parenting academic self-concept expectation and value positively influenced academic achievement in science. However, there was no direct impact from supportive parenting on academic achievement in science. The results revealed that supportive parenting had an indirect effect on academic achievement in science via academic self-concept expectation and value which resulted in the completely mediating effect. Supportive parenting should have a positive influence to academic self-concept, expectation and value then academic self-concept, expectation and value should have a positive influence on academic achievement. The study indicated that these variables should be utilized in further study program development for students.
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ เพื่อตรวจสอบความตรงของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยมีอัตมโนทัศน์ด้านวิชาการ ความคาดหวัง และการให้คุณค่าเป็นตัวแปรส่งผ่าน และเพื่อวิเคราะห์รูปแบบอิทธิพลทางตรงและอิทธิพลทางอ้อมของการอบรมเลี้ยงดูแบบเอาใจใส่ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ส่งผ่านความคาดอัตมโนทัศน์ด้านวิชาการ ความคาดหวัง และการให้คุณค่า ตามกรอบแนวคิดโมเดลทฤษฎีคาดหวัง- คุณค่า (Wigfield & Eccles, 2000) กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 450 คน สุ่มตัวอย่างโดยใช้เทคนิคการเลือกตัวอย่างแบบ 2 ขั้นตอน ผู้วิจัยเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และแบบวัดนี้ผ่านการหาคุณภาพความตรงและความเที่ยง สถิติที่ใช้ในการศึกษานี้ คือการวิเคราะห์เส้นทางใช้ในการวิเคราะห์และประเมินเส้นทางของความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร ผลการวิจัยพบว่า โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของอิทธิพลของการอบรมเลี้ยงดูแบบเอาใจใส่ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยมีอัตมโนทัศน์ด้านวิชาการ ความคาดหวัง และการให้คุณค่าเป็นตัวแปรส่งผ่านมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ดี โดยการอบรมเลี้ยงดูแบบเอาใจใส่ อัตมโนทัศน์ด้านวิชาการ ความคาดหวัง การให้คุณค่า มีอิทธิพลทางบวกต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ทั้งนี้ การอบรมเลี้ยงดูไม่มีอิทธิพลทางตรงต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ แต่มีอิทธิพลทางอ้อมโดยส่งผ่านอัตมโนทัศน์ด้านวิชาการ ความคาดหวัง การให้คุณค่าอย่างสมบูรณ์ จากผลการวิจัยการอบรมเลี้ยงดูแบบเอาใจใส่จะส่งอิทธิพลทางบวกเพื่อไปส่งเสริมอัตมโนทัศน์ด้านวิชาการ ความคาดหวัง การให้คุณค่า จากนั้นอัตมโนทัศน์ ความคาดหวัง และการให้คุณค่าจะส่งอิทธิพลทางบวกเพื่อไปส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ จากการศึกษาสามารถนำองค์ความรู้ตามทฤษฎี เสริมสร้างอัตมโนทัศน์ด้านวิชาการ ความคาดหวังและการให้คุณค่ากับวิชาวิทยาศาสตร์ โดยการพัฒนาโปรแกรมการเรียนรู้ที่เหมาะสามกับนัเรียนต่อไป 
Description: MASTER OF ARTS (M.A.)
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/658
Appears in Collections:Faculty of Humanities

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs611130354.pdf2.32 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.