Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/65
Title: THE POLITICAL THOUGHTS AND ROLES OF H.H PRINCE DHANI NIVATKROMAMUN BIDAYALABH BRDIHYAKORN, 1909 - 1974
แนวคิดและบทบาททางการเมืองของ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าธานีนิวัต กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร พ.ศ. 2452 – 2517
Authors: PAPHANGKORN CHANHOM
ปภังกร จันทร์หอม
Chatichai Muksong
ชาติชาย มุกสง
Srinakharinwirot University. Faculty of Social Sciences
Keywords: ธานีนิวัต, พิทยลาภพฤฒิยากร, การเมืองวัฒนธรรม, พระราชพิธี, ประเพณีประดิษฐ์
Dhani Nivat Kromamun Bidayalabh Bridhyakorn cultural political royal ceremony invented traditions
Issue Date:  17
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: This research aims to study the political concepts, attitudes and roles of His Highness Prince Dhani Nivat Kromamun Bidayalabh Bridhyakorn from 1909 to 1974. This time period was selected because this was the time that he started working in the government service (following university graduation) until he passed away. The research found that he played a significant role before the change of governance. He began working in the Ministry of the Interior. Then he served as a secretary for King Rama VI until a change in governance. He also played an important role in the Ministry of Justice during the reign of King Rama VII. In the reign of King Rama VII, democracy was spreading worldwide and Rama VII obviously opposed the idea of democracy. This revealed that he supported the monarchy and that he could be classified as a political conservative. After the change of governance, the Prince adapted himself in order to protect himself. At this point, he stopped expressing his ideas about politics. Instead, he started to write about art and culture before resuming his government service. He then became the supreme president and privy councilor during the reign of King Rama IX and also served as a representative for King Rama IX. When King Rama IX first ascended the throne and played a significant role in building up the popularity of the King. He helped the king to become a populist king. He achieved this by continuously setting up many royal ceremonies since the beginning of 2490. He was recognized as a person who supported the monarchy. The purpose was to praise the King by setting those invented traditional ceremonies and the speech in his writing until it became the main pattern and the concept of the present.
ปริญญานิพนธ์ฉบับนี้ มีจุดหมายหลักเพื่อศึกษาแนวความคิด ทัศนคติ และบทบาททางการเมืองของพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร ตั้งแต่ พ.ศ. 2452 – 2517 เนื่องจากในช่วงเวลาดังกล่าว เป็นช่วงที่ทรงเริ่มรับราชการ หลังจากที่ทรงสำเร็จการศึกษาแล้ว จนกระทั่งสิ้นพระชนม์ จากการศึกษาพบว่า ทรงมีบทบาทสำคัญโดยในช่วงก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เริ่มจากการรับราชการในกระทรวงมหาดไทย ต่อมาได้มีโอกาสรับใช้ใกล้ชิดรัชกาลที่ 6 ในฐานะที่ทรงเป็นราชเลขานุการ จนกระทั่งก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครองยังได้มีส่วนสำคัญในการควบคุมกระทรวงธรรมการในสมัยรัชกาลที่ 7 ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าวยังเป็นช่วงที่รูปแบบการปกครองระบอบประชาธิปไตยกำลังเผยแพร่ไปทั่วโลก และพบว่าทรงแสดงออกอย่างชัดเจนในการพยายามสกัดกั้นการเผยแพร่รูปแบบการปกครองดังกล่าว จึงสะท้อนให้เห็นว่าพระองค์เจ้าธานีนิวัตทรงมีแนวคิดแบบกษัตริย์นิยมมาตั้งแต่ก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง นอกจากนี้ยังสามารถจัดพระองค์เจ้าธานีนิวัตอยู่ในกลุ่มอนุรักษ์นิยมได้อีกเช่นกัน ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองปรับพระองค์ให้เข้าสถานการณ์ เพื่อความปลอดภัยของพระองค์ โดยทรงงดการแสดงออกเกี่ยวกับการเมือง และทรงหันไปทรงงานทางด้านการเขียนบทพระนิพนธ์ที่เกี่ยวข้องศิลปวัฒนธรรมแทน จนกระทั่งได้ทรงกลับสู่หน้าที่ทางราชการอีกครั้งในตำแหน่งอภิรัฐมนตรี  ตำแหน่งประธานองคมนตรีพระองค์แรกในรัชกาลที่ 9 รวมถึงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ในช่วงแรกของการขึ้นครองราชย์ของรัชกาลที่ 9 พระองค์เจ้าธานีนิวัตทรงมีส่วนสำคัญในการสร้างความนิยม และการเผยแพร่ให้พระมหากษัตริย์ทรงกลายเป็นพระมหากษัตริย์แห่งปวงชน โดยกระทำผ่านการจัดพระราชพิธีต่างๆที่ดำเนินอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ต้นทศวรรษ 2490  เป็นต้นมา จึงนับได้ว่าทรงเป็นบุคคลสำคัญผู้สนับสนุนอุดมการณ์กษัตริย์นิยม อันเป็นหนึ่งในกระบวนการสร้างการเมืองวัฒนธรรมที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อเชิดชูสถาบันพระมหากษัตริย์ ผ่านการจัดพระราชพิธีที่มีลักษณะเป็นประเพณีประดิษฐ์แบบราชสำนัก และการสร้างวาทกรรมในบทพระนิพนธ์ จนกลายเป็นมรดกแบบแผนและแนวคิดหลักมาจนถึงปัจจุบัน
Description: MASTER OF ARTS (M.A.)
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/65
Appears in Collections:Faculty of Social Sciences

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs571130477.pdf6.64 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.