Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/518
Title: CULTURAL SPACE OF TAI- YOH’S HOUSE:CASE STUDY OF KLONG NAMSAI SUB-DISTRICT, ARANYAPATHET DISTRICT,SA KAEO PROVINCE
พื้นที่ทางวัฒนธรรมในเฮือนไทญ้อ: กรณีศึกษาตำบลคลองน้ำใส อำเภออรัญประเทศจังหวัดสระแก้ว
Authors: ASAWIN ROJSANGA
อัศวิน โรจน์สง่า
Kittikorn Nopudomphan
กิตติกรณ์ นพอุดมพันธุ์
Srinakharinwirot University. Faculty of Fine Arts
Keywords: เฮือนไทญ้อ
พื้นที่ทางวัฒนธรรม
Tai-Yoh house
Cultural space
Issue Date:  20
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: Cultural spaces are symbolic, but also manifest ethnic identity and values. The Tai-Yoh houses in Klong Namsai Village identifies a lifestyle and reflect the culture of space usage via intergenerational learning. Nowadays, economic and social changes affect Tai-Yoh houses and result in the culture of space usage becoming lost. This research has two purposes: to study the cultural identity of space usage, Tai-Yoh house dynamics and the development of inherited cultural identities related to the culture of space usage. The data was collected using qualitative research on thirty houses from 2016 to 2019. The received information was arranged, analyzed and then identified the factors that affected the cultural identity of space usage changes for both traditional and applied Tai-Yoh houses. This factor was under the conceptual framework of theories related to space, vernacular architecture, identity, and cultural interaction. This study revealed that cultural space can be divided into two dimensions. Firstly, it is the physical space that represents a tangible space, i.e. a house with an empty space underneath and a sloping roof including the kitchen, the bedroom, the space in front of bedroom (Ra-bieng), and terrace (Chan) that reflect the physical identity of the Tai-Yoh house. The second dimension is the mental space that represents the intangible, such as the space of cherished and deep connections, the space of feeling secure, the space of spiritual protection, etc. Furthermore, both spaces interacted with each other. It was found that Tai-Yoh does not just define the cultural space, nor is it limited to a physical space. On the other hand, the culture of space can be empowered to control human behavior when entering the space. These factors reflect the identity and characteristics of the Tai-Yoh house. Due to changing social dynamics, the Tai-Yoh combines traditional culture with an urban lifestyle and reflect this via society, lifestyle, housing, and the culture of space usage represents the value that leads to conservation and inheritance.
พื้นที่ทางวัฒนธรรมเป็นเครื่องหมายที่แสดงออกถึงความมีเอกลักษณ์และคุณค่าของชาติพันธุ์เช่น เฮือนไทญ้อ บ้านคลองน้ำใส ที่มีวิถีชีวิตความเป็นอยู่อันเป็นอัตลักษณ์ในด้านวัฒนธรรมการใช้พื้นที่ตามแบบอย่างการเรียนรู้จากบรรพบุรุษ แต่ปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของเฮือนไทญ้อและวัฒนธรรมการใช้พื้นที่รวมถึงอัตลักษณ์ที่อาจสูญหาย การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายสองประการ คือ เพื่อศึกษาอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมการใช้พื้นที่และพลวัตในเฮือนไทญ้อ และเพื่อศึกษาพัฒนาการของการสืบทอดอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม ที่สัมพันธ์กับรูปแบบการใช้พื้นที่ในเฮือนไทญ้อ วิธีการศึกษาโดยการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยลงพื้นที่เก็บข้อมูลในช่วงปี พ.ศ. 2559 – 2562 จำนวน 30 หลัง ซึ่งข้อมูลที่ได้มาถูกนำมาเรียบเรียง วิเคราะห์และระบุปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรมการใช้พื้นที่ในเฮือนไทญ้อทั้งแบบดั้งเดิมและแบบประยุกต์ ภายใต้กรอบแนวความคิดทฤษฎีหลักที่เกี่ยวกับพื้นที่ สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น อัตลักษณ์ และปฎิสัมพันธ์ทางวัฒนธรรม ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า บริบทของพื้นที่ทางวัฒนธรรมถูกแบ่งออกเป็น 2 มิติ คือ มิติพื้นที่ทางกายภาพที่จับต้องได้ มีรูปแบบเป็นเฮือนยกใต้ถุนสูง หลังคาสูงลาดชัน มีพื้นที่ครัวไฟ ห้องนอน ระเบียง และชาน ที่สะท้อนความเป็นอัตลักษณ์ทางกายภาพของเฮือนไทญ้อ แต่มิติที่สำคัญไม่น้อยกว่ากันคือพื้นที่ความรู้สึกนึกคิดที่จับต้องไม่ได้ เช่น ความรู้สึกหวงแหนและผูกพันกับพื้นที่ ความรู้สึกปลอดภัยเมื่ออยู่ในเฮือน ความรู้สึกถูกปกป้องคุ้มครองในพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ เป็นต้น พื้นที่ทั้งสองมิติทำหน้าที่ปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกันจนแยกขาดจากกันไม่ได้ และเกิดข้อค้นพบว่า ชาวไทญ้อไม่ได้กำหนดรูปแบบของพื้นที่ทางวัฒนธรรมแต่เพียงอย่างเดียวและพื้นที่ทางวัฒนธรรมไม่ใช่เป็นเพียงพื้นที่ทางกายภาพ แต่ในทางตรงกันข้ามพื้นที่ทางวัฒนธรรมยังสามารถทำให้เกิดอำนาจเพื่อควบคุมพฤติกรรมของคนที่เข้ามาใช้ในพื้นที่ ปัจจัยเหล่านี้ส่งผลให้เกิดลักษณะเฉพาะที่เป็นอัตลักษณ์ของเฮือนไทญ้อ จากกระแสพลวัตทางสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป กลุ่มชาวไทญ้อจึงต้องมีการผสมผสานรูปแบบวัฒนธรรมดั้งเดิมและรับเอาวิถีความเป็นสังคมเมืองควบคู่กันไป โดยสะท้อนผ่านลักษณะทางสังคม วิถีชีวิต เฮือนพักอาศัย และวัฒนธรรมการใช้พื้นที่ ซึ่งแสดงให้เห็นคุณค่าเพื่อนำไปสู่การอนุรักษ์และสืบทอดต่อไป
Description: DOCTOR OF ARTS (D.A.)
ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต (ศศ.ด.)
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/518
Appears in Collections:Faculty of Fine Arts

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs591150056.pdf6 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.