Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/511
Title: | EXISTENCE OF SMALL-SIZE THEATRE COMPANY IN BANGKOK การดำรงอยู่ของคณะละครเวทีขนาดเล็กในกรุงเทพมหานคร |
Authors: | SETSIRI NIRANDARA เศรษฐ์สิริ นิรันดร Noppadol Inchan นพดล อินทร์จันทร์ Srinakharinwirot University. Faculty of Fine Arts |
Keywords: | คณะละครเวทีขนาดเล็ก การดำรงอยู่ ละครเวที Small-Size Theatre Company Bangkok |
Issue Date: | 20 |
Publisher: | Srinakharinwirot University |
Abstract: | The study explores the existence of small-size theatre companies in Bangkok and has the following three objectives: (1) the administration and management of the theatre companies; (2) the production and creation of theatrical works by theatre companies; and (3) how theatre companies adapt, attain their goals, integrate and maintain patterns in terms of administration, management and the production of theatrical works. This qualitative research used in-depth interviews with the producers and directors involved with seven small-sized theatre companies. The sample was selected using the following criteria: length of time after the establishment and continuity of the production of theatrical works. In terms of administration and management, the study revealed that almost all of theatre companies were founded solely, without any commercial purposes, with the intention to reflect their beliefs and social ideology through the performing arts. Funding is collected from different sources such as in-house artists, a common fund within the theatre company, and financial support from bureaucracy, social organizations and international institutions. The establishment of theatre companies could be in form of an informal setup or a formal organization registered with a juristic person. Six out of seven theatre companies did not have their own theatre, while all of them engaged in marketing activities and public relations through social media. All of the theatre companies built networks with related external parties. The recruitment of new members, creating continuity in theatrical productions and extension in performance genres and tapping into the educational aspects, e.g. organizing workshops and talks were also used to ensure their existence. With regard to the theatrical work production and creation, all of the theatre companies produced performances and plays in accordance with their original intentions, beliefs or ideologies, with more than half focused on political issues. The productions of works of each theatre company differed in the aspects of direction methods and processes adopted to create and develop performance. The collaboration of productions between theatre companies and outside networks can also be seen with either domestic or foreign artists and/or institutions that provided financial support for productions. Each theatre company was unique in their productions and works. In terms of their existence, it has been found that all theatre companies have performed adaptations, achieved goal attainment, integration and pattern maintenance in the aspects of management and production to ensure their existence. การศึกษาวิจัยเรื่อง “การดำรงอยู่ของคณะละครเวทีขนาดเล็กในกรุงเทพมหานคร” มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารจัดการคณะละครเวทีขนาดเล็ก 2) ศึกษาการผลิตและสร้างสรรค์งานละครเวทีของคณะละครเวทีขนาดเล็ก 3) ศึกษาการทำหน้าที่ในการปรับตัว การบรรลุเป้าหมาย การบูรณาการ และการรักษาแบบแผนของคณะละครเวทีขนาดเล็กในแง่มุมของการบริหารจัดการ และการผลิตสร้างสรรค์งานละครเวที ดำเนินงานวิจัยด้วยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้เกี่ยวข้องกับคณะละครเวทีขนาดเล็กในกรุงเทพมหานครทั้งหมด 7 คณะ โดยประเมินจากอายุ และการผลิตผลงานอย่างต่อเนื่องของคณะ ผลการวิจัยพบว่าในด้านการบริหารจัดการคณะละครเวทีขนาดเล็กในกรุงเทพมหานครโดยมากเกิดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงออกทางความคิด และอุดมการณ์ต่อสังคมผ่านศิลปะการแสดงโดยมิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อการพานิชย์ เงินทุนของคณะมาจากทุนส่วนตัว และทุนสนับสนุนจากราชการ องค์กรทางสังคมภายในประเทศ และต่างประเทศ การจัดตั้งองค์กรมีทั้งลักษณะที่ไม่เป็นทางการและเป็นทางการโดยจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล โดยคณะละคร 6 ใน 7 คณะ ไม่มีพื้นที่โรงละครของตัวเอง พบว่าทุกคณะใช้การตลาดและประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อออนไลน์ พบว่ามีการสร้างเครือข่ายกับภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง การสืบสานเพื่อการดำรงอยู่ของคณะฯ มีทั้งการสร้างสมาชิกใหม่ การสร้างงานอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการขยายประเภทงาน เช่น การฝึกอบรมทางด้านศิลปะการแสดง ด้านการผลิตสร้างสรรค์ละครของคณะพบว่าคณะละครจะนำเสนองานที่มีประเด็นสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของคณะฯ มีคณะละครมากกว่าครึ่งหนึ่งมุ่งนำเสนอประเด็นทางการเมือง ลักษณะการผลิตสร้างสรรค์งานของแต่ละคณะมีความแตกต่างกันโดยเป็นวิธีการกำกับการแสดง รวมทั้งวิธีการใช้กระบวนการสร้างสรรค์และพัฒนางานร่วมกัน พบว่ามีการสร้างงานร่วมกับเครือข่ายศิลปินทั้งในและต่างประเทศรวมทั้งร่วมสร้างงานกับองค์กรที่สนับสนุนด้านเงินทุนจากทั้งในและต่างประเทศ ทั้งนี้คณะละครแต่ละคณะมีรูปแบบการแสดงที่แตกต่างกันเป็นอัตลักษณ์ของแต่ละคณะ พบว่าคณะละครทุกคณะมีการปรับตัวให้เข้ากับธุรกิจและสังคม มีการกำหนดเป้าหมาย การบูรณาการ และมีวิธีการสืบสานสิ่งต่าง ๆ เพื่อให้คณะฯ สามารถดำรงอยู่ได้ |
Description: | DOCTOR OF ARTS (D.A.) ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต (ศศ.ด.) |
URI: | http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/511 |
Appears in Collections: | Faculty of Fine Arts |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
gs562150023.pdf | 1.74 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.