Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/463
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributorSUTHIDA WANSUDONen
dc.contributorสุธิดา วันสุดลth
dc.contributor.advisorChaninan Pruekpramoolen
dc.contributor.advisorชนินันท์ พฤกษ์ประมูลth
dc.contributor.otherSrinakharinwirot University. Science Education Centeren
dc.date.accessioned2019-12-24T06:55:43Z-
dc.date.available2019-12-24T06:55:43Z-
dc.date.issued2019-
dc.identifier.urihttp://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/463-
dc.descriptionMASTER OF EDUCATION (M.Ed.)en
dc.descriptionการศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)th
dc.description.abstractThe objectives of the research were to study the effects of using science learning unit via STEM education on sunflower sprout to promote problem solving ability of Matthayomsuksa 1 students in three aspects: (1) student problem solving abilities; (2) the science understanding of students; and (3) satisfaction with learning management in STEM science learning units. The pre-experimental research was used in this research. The sample group consisted of thirty samples of seventh grade students in the second semester of the 2018 academic year in a school under the area authority of the Bangkok Primary Education Service Area Office in the Huai Khwang District of the Bangkok metropolitan. The research instruments were comprised of:1) Matthayomsuksa 1 student’s problem solving ability test; 2) science understanding test; and 3) student’s satisfaction towards teaching and learning questionnaire. The statistics used for data analysis included percentage, mean, standard deviation, one-sample t-test and t-test for dependent samples. The results proved the following: 1. The students’ problem solving ability mean scores, in overall and each component, after implementing the STEM science learning unit were higher than the ability before implementation with a statistical significance of .05 level (t = 9.417, p = .000). 2. The students’ science understanding mean score after implementing the STEM science learning unit was higher than before implementation with a statistical significance of .05 level (t = 18.508, p = .000). When compared to the criteria at sixty-five percent, students’ science understanding score after implementing the STEM science learning unit was higher than the determined criteria with statistical significance of .05 level (t = 9.967, p = .000). 3. The students’ satisfaction towards learning with science learning unit mean scores overall and each aspect, after implementation of the STEM science learning unit were at a high level.en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการใช้หน่วยการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตาม  แนวทางสะเต็มศึกษา เรื่อง ต้นอ่อนทานตะวัน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยพิจารณาจาก 3 ประเด็น ดังนี้ 1) ความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียน 2) ความเข้าใจเนื้อหาวิทยาศาสตร์ของนักเรียน และ 3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้หน่วยการเรียนรู้ฯ งานวิจัยนี้ใช้วิธีการวิจัยเชิงทดลองขั้นต้น (The pre-experimental research) กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนแห่งหนึ่ง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร เขตห้วยขวาง จังหวัดกรุงเทพมหานคร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 30 คน เครื่องมือวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบทดสอบความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) แบบวัดความเข้าใจเนื้อหาวิทยาศาสตร์ และ3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีแบบกลุ่มเดียวและแบบกลุ่มตัวอย่างสัมพันธ์กัน ผลการวิจัย พบว่า 1. คะแนนเฉลี่ยความสามารถในการแก้ปัญหาโดยภาพรวมและรายองค์ประกอบของนักเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่างหลังเรียนด้วยหน่วยการเรียนรู้ฯ สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t = 9.417, p = .000) 2. คะแนนเฉลี่ยความเข้าใจเนื้อหาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนหลังเรียนด้วยหน่วยการเรียนรู้ฯ สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t = 18.508, p = .000) และเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนด คือ ร้อยละ 65 พบว่า คะแนนความเข้าใจเนื้อหาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนหลังเรียนรู้ด้วยหน่วยการเรียนรู้ฯ สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t = 9.967, p = .000) 3. คะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยภาพรวมและ รายด้านหลังเรียนด้วยหน่วยการเรียนรู้ฯ อยู่ในระดับมากth
dc.language.isoth-
dc.publisherSrinakharinwirot University-
dc.rightsSrinakharinwirot University-
dc.subjectความสามารถในการแก้ปัญหาth
dc.subjectสะเต็มศึกษาth
dc.subjectProblem Solving Abilityen
dc.subjectSTEM Educationen
dc.subject.classificationSocial Sciencesen
dc.titleTHE EFFECTS OF USING SCIENCE LEARNING UNIT VIA STEM EDUCATION ON SUNFLOWER SPROUT TO PROMOTE PROBLEM SOLVING ABILITY OF MATTHAYOMSUKSA 1 STUDENTSen
dc.titleผลการใช้หน่วยการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวทางสะเต็มศึกษา เรื่อง ต้นอ่อนทานตะวัน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1th
dc.typeThesisen
dc.typeปริญญานิพนธ์th
Appears in Collections:Science Education Center

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs571130411.pdf2.42 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.