Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/412
Title: Factor of tourism image affecting the revisiting of tourist behavior in less visited areas in the Nan Province.
ภาพลักษณ์การท่องเที่ยวที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการกลับมาเที่ยวซ้ำในแหล่งท่องเที่ยวเมืองรอง กรณีศึกษา จังหวัดน่าน
Authors: PORNNAPAT THANAKISSOOVISIT
พรนภัทร์ ธนากิจสุวิสิฐ
Atchareeya Saknarong
อัจฉรียา ศักดิ์นรงค์
Srinakharinwirot University. Faculty of Business Administration for Society
Keywords: ภาพลักษณ์การท่องเที่ยว
พฤติกรรมการกลับเที่ยวซ้ำ
แหล่งท่องเที่ยวเมืองรอง
จังหวัดน่าน
Tourism image
Revisiting behavior
Less Visited Areas
Nan Province
Issue Date:  19
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: The study aimed to explore the factor of tourism image affecting the revisiting of tourist behavior in less visited areas in the Nan Province. A total of four hundred Thai tourists living in Bangkok and travelling participated in the study by answering the questionnaires. The data was analyzed in terms of percentage, mean and standard deviation. Also, the results of the hypothesis testing were interpreted using t – test, a one – way ANOVA and multiple regression. The results revealed showed that most of the respondents were single, female, worked as staff members and employees for a private company and between the ages of twenty – seven and thirty – three. The education level was lower than a bachelor's degree or equivalent and an average income of 15,001 to 30,000 THB. by giving opinions about the image of tourism in culture and attractiveness side is a very good level and worthiness, accommodation, safety and facilities in a good level. The results of hypothses testing implied as follows: travelers with different occupations and salaries also demonstrated different types of behavior as well as tourism image and attractiveness which affects behavior in terms of benefit at a statistically significant level of 0.01 and 0.05.
การศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาภาพลักษณ์การท่องเที่ยวที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการกลับมาเที่ยวซ้ำในแหล่งท่องเที่ยวเมืองรอง กรณีศึกษา จังหวัดน่าน ซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ นักท่องเที่ยวไทยในเขตกรุงเทพมหานคร ที่เคยเดินทางไปท่องเที่ยวที่จังหวัดน่าน จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน คือ การวิเคราะห์ความแตกต่างโดยการหาค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 27 – 33 ปี มีระดับการศึกษาปริญญาตรี ประกอบอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 15,001 - 30,000 บาท และมีสถานภาพโสด โดยให้ความคิดเห็นเกี่ยวภาพลักษณ์การท่องเที่ยวด้านวัฒนธรรม และด้านสิ่งดึงดูดใจ อยู่ในระดับดีมาก และด้านความคุ้มค่า ด้านที่พัก ด้านความปลอดภัยและสภาพแวดล้อม และด้านสิ่งอำนวยความสะดวก อยู่ในระดับดี ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า นักท่องเที่ยวที่มีอาชีพแตกต่างกัน มีพฤติกรรมการกลับมาเที่ยวซ้ำในจังหวัดน่าน ด้านกลับมาท่องเที่ยวจังหวัดน่านซ้ำเมื่อมีโอกาส และด้านการแนะนำ ชักชวน บอกต่อ ประสบการณ์ที่ดีในการมาเที่ยวแก่ผู้อื่นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และนักท่องเที่ยวที่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนแตกต่างกัน มีพฤติกรรมการกลับมาเที่ยวซ้ำในจังหวัดน่าน ด้านกลับมาท่องเที่ยวจังหวัดน่านซ้ำเมื่อมีโอกาส แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ภาพลักษณ์การท่องเที่ยวด้านสิ่งดึงดูดใจ และด้านความคุ้มค่ามีผลต่อพฤติกรรมการกลับมาเที่ยวซ้ำในจังหวัดน่าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 0.05
Description: MASTER OF BUSINESS ADMINISTRATION (M.B.A.)
บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บธ.ม.)
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/412
Appears in Collections:Faculty of Business administration for society

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs601130344.pdf2.25 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.