Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/380
Title: APPLICATION OF THE RELATIONSHIP BETWEEN LICHEN SPECIES DIVERSITY INDEX OF ATMOSPHERIC PURITY (IAP) CARBONMONNOXIDE AND HEAVY METAL FOR MONITORING AIR QUALTIY IN NATURE- BASED TOURISM NAKORN NAYOK PROVINCE
การประยุกต์ใช้ความสัมพันธ์ระหว่างความหลากชนิดของไลเคน ค่า Index of Atmospheric Purity (IAP) ปริมาณก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ และ โลหะหนัก เพื่อติดตามคุณภาพอากาศในบริเวณแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ จังหวัดนครนายก
Authors: KASTSIRI SILIKUL
เกษศิริ ศิริกุล
KUN SILPRASIT
กัญจน์ ศิลป์ประสิทธิ์
Srinakharinwirot University. Faculty of Environmental Culture and Ecotourism
Keywords: โลหะหนัก;ค่าดัชนีความบริสุทธิ์คุณภาพอากาศ;ไลเคน;สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดนครนายก;ค่าบอนมอนนอกไซด์
Heavy metals; Air purity index lichen; Tourist Nakhon Nayok province;Carbon monoxide
Issue Date:  19
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: This research studied the air quality indicators by applying the relationship between a variety of lichens The air purity index measured the amount of Carbon monoxide (CO) and heavy metals in lichens to indicate the air quality in the natural tourist areas of Nakhon Nayok Province by exploring lichens during the rainy season, in two types of areas, community areas and natural tourist areas Using lichen data to calculate biodiversity and air purity index (IAP) by comparing with the amount of carbon monoxide (CO) in each areas. The study found that there were twenty lichens in which the natural sources were found. This mostly consisted of Arthracothecium, while in the community it was found that the same species of Arthracothecium was similarly prevalent. The study found that natural sources had lichen biodiversity index values, including a variety of values (s), consistency values consistent with IAP air quality and CO content, nickel values in lichens and the lichen diversity index There was also a statistically significant relationship at 0.05 level with a Pearson value equal to 0.95. Moreover, it was found that the popular natural tourist area with good air quality values close to community areas
งานวิจัยครั้งนี้ได้มีการศึกษาเกี่ยวกับตัวบ่งชี้คุณภาพอากาศ โดยการประยุกต์ใช้ความสัมพันธ์ระหว่างความหลากหลายของไลเคน ดัชนีความบริสุทธ์ของอากาศ ปริมาณก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์(CO) และโลหะหนักในไลเคน เพื่อบ่งชี้คุณภาพอากาศในบริเวณแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติจังหวัดนครนายกโดยสำรวจไลเคน ช่วงฤดูฝน ในพื้นที่สองกลุ่มคือพื้นที่ชุมชน และพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ นำข้อมูลไลเคนมาคำนวณค่าความหลากหลายทางชีวภาพ และ ค่าดัชนีความบริสุทธ์ของอากาศ(IAP) โดยเปรียบเทียบกับค่าปริมาณคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) ในแต่ละพื้นที่ จากการศึกษาพบว่ามีไลเคนทั้งสิ้น 20 สกุล โดยในแหล่งธรรมชาติจะพบชนิด Arthracothecium มากที่สุด ขณะที่ในแหล่งชุมชนจะพบชนิด Arthracothecium มากที่สุดเช่นเดียวกัน จากการศึกษาความหลากหลายทางชนิดของไลเคน พบว่าแหล่งธรรมชาติมีค่าดัชนีความหลากหลายทางชีวภาพของไลเคน ค่าความหลากชนิด (S) ค่าความสม่ำเสมอ สอดคล้องกับค่าคุณภาพอากาศ IAP และ ปริมาณ CO ซึ่งค่านิกเกิลในไลเคนกับค่าดัชนีความหลากหลายของไลเคน มีความสัมพันธ์ทางสถิติที่ระดับ 0.05 แบบแปรผันตรง ค่าเพียร์สันเท่ากับ เท่ากับ 0.95 ยิ่งไปกว่านั้นยังพบว่าบริเวณแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่นิยมนั้น มีค่าคุณภาพอากาศใกล้เคียงกับพื้นที่ชุมชน
Description: MASTER OF SCIENCE (M.Sc.)
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/380
Appears in Collections:Faculty of Environmental Culture and Ecotourism

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs571110212.pdf2.98 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.