Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/3202
Title: DEVELOPMENT OF FLEXIBLE DIGITAL LEARNING ENVIRONMENT MODEL TO PROMOTE INFORMATION AND COMMUNICATION TECHNOLOGY SKILLS FOR UNDERGRADUATE STUDENTS IN DIGITAL MEDIA AND MASS COMMUNICATION TECHNOLOGY
การพัฒนารูปแบบสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ดิจิทัลแบบยืดหยุ่น เพื่อส่งเสริมทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีสื่อดิจิทัลและสื่อสารมวลชน
Authors: NAIPAPORN JARUKASETWIT
นัยน์ปพร จารุเกษตรวิทย์
Khwanying Sriprasertpap
ขวัญหญิง ศรีประเสริฐภาพ
Srinakharinwirot University
Khwanying Sriprasertpap
ขวัญหญิง ศรีประเสริฐภาพ
khwanying@swu.ac.th
khwanying@swu.ac.th
Keywords: การเรียนรู้ดิจิทัลแบบยืดหยุ่น
สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ดิจิทัล
ทักษะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
Flexible Digital Learning
Digital Learning Environment
Information and Communication Technology Skills
Issue Date:  19
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: The aims of this research are as follows: (1) investigate the flexible digital learning environment model to promote information and communication technology skills for students in digital technology and mass communication fields; (2) develop a model of a flexible digital learning environment to model to promote information and communication technology skills; and (3) study a flexible digital learning environment model to promote information and communication technology skills. The population used in the research in Phase One consisted of 234 instructors at the professorial level from 27 institutions and 30 undergraduate students. In Phase Two, there were five qualified individuals in the field of technology and educational communication. In Phase Three, there were 30 third-year undergraduate students majoring in Digital Technology and Mass Communication. The statistical analyses employed in the data analysis included the mean, standard deviation (SD), qualitative content analysis, one-way ANOVA, and a dependent t-test. The research findings indicated the following: (1) regarding the flexible digital learning environment, instructors had high expectations for the physical, psychological, and social environments. Meanwhile, learners had the highest level of demand for physical, psychological, and social environments; (2) the "ETCL Flexible Model" for digital learning environments were comprised of four components: (2.1) Environment; (2.2) Technology; (2.3) Communication; and (2.4) Learning. The flexible digital learning environment helps understand how to utilize technology to enhance efficient learning and adapt to continuous changes in both social and technological aspects; (3) the results of using the flexible digital learning environment model were as follows: (3.1) all students demonstrated an overall improvement in information technology and communication skills; and (3.2) there were statistically significant differences in the learning outcomes of students before, during, and after the experiment, with a statistical significance of .05.
การศึกษาวิจัย เรื่อง การพัฒนารูปแบบสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ดิจิทัลแบบยืดหยุ่น เพื่อส่งเสริมทักษะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ดิจิทัลแบบยืดหยุ่น เพื่อส่งเสริมทักษะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีดิจิทัลและสื่อสารมวลชน 2) พัฒนารูปแบบสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ดิจิทัลแบบยืดหยุ่น เพื่อส่งเสริมทักษะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ดิจิทัลแบบยืดหยุ่น เพื่อส่งเสริมทักษะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ระยะที่ 1 ได้แก่ อาจารย์ระดับอุดมศึกษาที่สอนวิชาปฏิบัติ จาก 27 สถาบัน จำนวน 234 คน และนักศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 30 คน ระยะที่ 2 ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา จำนวน 5 คน ระยะที่ 3 ได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาเทคโนโลยีดิจิทัลและสื่อสารมวลชน จำนวน 30 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) สถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-Way Anova) และสถิติการทดสอบที (t-test Dependent) ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ดิจิทัลแบบยืดหยุ่น ผู้สอนมีความคาดหวังสภาพแวดล้อมทางด้านกายภาพ สภาพแวดล้อมด้านจิตภาพ และสภาพแวดล้อมด้านสังคม อยู่ในระดับมาก และผู้เรียนมีความต้องการสภาพแวดล้อมทางด้านกายภาพ สภาพแวดล้อมด้านจิตภาพ และสภาพแวดล้อมด้านสังคม อยู่ในระดับมากที่สุด 2) รูปแบบสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ดิจิทัลแบบยืดหยุ่น “ETCL Flexible Model” ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 2.1) ด้านสภาพแวดล้อม 2.2) ด้านสื่อการสอน 2.3) ด้านการสื่อสาร 2.4) ด้านวิธีการ โดยสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ดิจิทัลที่ยืดหยุ่น ช่วยให้เข้าใจวิธีการใช้เทคโนโลยี เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพและเติบโตไปพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง 3) ผลการใช้รูปแบบสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ดิจิทัลแบบยืดหยุ่น พบว่า 3.1) นักศึกษาทุกคนมีทักษะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในภาพรวมระดับดีขึ้นไป 3.2) นักศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อน ระหว่าง และหลังการทดลองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/3202
Appears in Collections:Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs641150052.pdf6.94 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.