Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/3150
Title: | STUDY OF THE CONTININUATION OF POLICES FOR SMALL SCHOOL MANAGEMENT BETWEEN 2010 - 2022 การศึกษาความต่อเนื่องของนโยบายเพื่อการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก ระหว่างปี พ.ศ. 2553 - 2565 |
Authors: | SUDARAT THAITAD สุดารัตน์ ไทยถัด Rungchai Yensabai รุ้งฉาย เย็นสบาย Srinakharinwirot University Rungchai Yensabai รุ้งฉาย เย็นสบาย rungchai@swu.ac.th rungchai@swu.ac.th |
Keywords: | โรงเรียนขนาดเล็ก ความต่อเนื่องของนโยบาย การกำหนดนโยบาย Small Schools Policy Continuity Policy Formulation |
Issue Date: | 19 |
Publisher: | Srinakharinwirot University |
Abstract: | This study aims to examine the continuity and changes in policies for managing small schools between 2010 and 2022. A qualitative research approach was employed, utilizing incremental theory as the main conceptual framework. The data was collected through documentary analysis. The study found that six key policies for managing small schools during this period included "Good Schools in Communities," "Merging Small Schools," "Magnet Schools," "Quality Schools in Communities," "Community Quality Schools," and "Quality Schools." These policies were continuous in all dimensions, addressing the prevailing issues of educational quality and the problem of an excessive number of small schools. The expectation was that core schools would be developed into quality institutions in terms of infrastructure, academics, personnel, and budget, thus reducing educational inequality. Despite differing implementation methods, all policies were built upon previous ones to address the same issue of small schools. The analysis within the theoretical framework revealed the following: (1) the policies were generally satisfactory to policymakers, with all governments prioritizing the problem of small schools, driven by a shared vision of improving educational quality, reducing inequality, and creating educational opportunities. The Office of the Basic Education Commission (OBEC) played a crucial role in implementing these policies due to its expertise, and contributing to policy continuity; (2) while feedback from social groups led to changes in policy details, the core principles remained intact, indicating that existing policy frameworks continued to influence decision-making in policy formulation; (3) all policies shared the same direction, focusing on creating quality schools to accommodate students from small schools, which required substantial investment, making these initiatives difficult to change; and (4) OBEC established the "Quality School Community Development center", a dedicated unit to drive policy implementation directly, suggesting that such policies would continue to receive attention and be consistently enacted. การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต่อเนื่องและความเปลี่ยนแปลงของนโยบายเพื่อการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก ระหว่างปี พ.ศ. 2553 - 2565 เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) นำแนวคิดการตัดสินใจในการกำหนดนโยบายการเปลี่ยนแปลงจากเดิมบางส่วน (Incremental Theory) เป็นกรอบแนวคิดหลักเก็บรวบรวมข้อมูลจากการค้นคว้าเอกสาร (documentary analysis) ผลการศึกษาพบว่า นโยบายเพื่อการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 – 2565 จำนวน 6 นโยบาย ประกอบด้วย โรงเรียนดีประจำตำบล รวมโรงเรียนขนาดเล็ก โรงเรียนดีใกล้บ้าน (แม่เหล็ก) โรงเรียนคุณภาพประจำตำบล โรงเรียนคุณภาพของชุมชน และโรงเรียนคุณภาพ มีความต่อเนื่องกันในทุกมิติ กล่าวคือ จากการพิจารณากระแสสังคม กระแสปัญหา เป็นเรื่องของคุณภาพการศึกษา มุมมองต่อการเกิดปัญหา คือ การมีจำนวนโรงเรียนขนาดเล็กมากเกินไป มีความคาดหวังต่อนโยบายที่จะให้โรงเรียนหลักได้รับการพัฒนาเป็นโรงเรียนที่มีคุณภาพ ทั้งกายภาพ วิชาการ บุคลากร และงบประมาณ ช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา แม้วิธีการดำเนินงานจะไม่เหมือนกันทุกนโยบาย แต่ส่วนใหญ่จะมีความต่อเนื่องกัน และทุกนโยบายเกิดจากการปรับปรุงต่อยอดจากนโยบายเดิม เพื่อแก้ไขปัญหาเดียวกัน คือ ปัญหาโรงเรียนขนาดเล็ก เมื่อนำผลการศึกษาความต่อเนื่องและความเปลี่ยนแปลงดังกล่าว วิเคราะห์ตามกรอบทฤษฎี ปรากฎว่า 1. ผลของนโยบายที่เป็นอยู่เป็นที่พึงพอใจของฝ่ายกำหนดนโยบาย โดยทุกรัฐบาลให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาโรงเรียนขนาดเล็ก เกิดจากการมีวิสัยทัศน์หลักที่มีความเข้มข้นร่วมกัน คือ การพัฒนาคุณภาพการศึกษา ลดความเหลื่อมล้ำ และสร้างโอกาสทางการศึกษา นอกจากนี้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นตัวแสดงทางการเมืองที่สำคัญ เป็นหน่วยงานที่นำทุกนโยบายไปสู่การปฏิบัติ ซึ่งมีความเชี่ยวชาญ จึงมีแนวโน้มที่จะให้ข้อมูลและทำให้เกิดความต่อเนื่องของนโยบายดังกล่าว 2. แม้จะมีความคิดเห็นหรือข้อมูลย้อนกลับจากกลุ่มทางสังคมที่ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดนโยบาย แต่สาระสำคัญหลักของนโยบายเดิมยังคงมีอยู่ จึงกล่าวได้ว่าแนวทางหลักของนโยบายที่มีมาอยู่เดิม ยังคงมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจในการกำหนดนโยบายต่อไป 3. ทุกนโยบายมีแนวทางดำเนินนโยบายเป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยแนวคิดหลักคือการสร้างโรงเรียนให้มีคุณภาพ รองรับนักเรียนจากโรงเรียนขนาดเล็ก เป็นการลงทุนที่ใช้งบประมาณสูง จึงยากที่จะเปลี่ยนแปลงโครงการเหล่านั้น 4. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จัดตั้งศูนย์ขับเคลื่อนโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล เป็นการเพิ่มกลุ่มงานที่มีบทบาทเฉพาะในการขับเคลื่อนนโยบายไปสู่การปฏิบัติโดยตรง จึงคาดการณ์ได้ว่านโยบายในลักษณะดังกล่าวจะยังได้รับความสนใจและจะมีการประกาศใช้อย่างต่อเนื่อง |
URI: | http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/3150 |
Appears in Collections: | Faculty of Social Sciences |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
gs641130230.pdf | 1.35 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.