Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/312
Title: | APPROACH TO DEVELOPING EFFICIENCIES IN THE MANAGEMENT OF SCHOOL RESOURCES: CASE STUDY OF PANAYA PHATTANAKAN SCHOOL แนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารทรัพยากรของสถานศึกษา: กรณีศึกษา โรงเรียนปาณยา พัฒนาการ |
Authors: | BHANRAWEE TANTINIRANDR พันธุ์ระวี ตันตินิรันดร์ Mingkwan Kongjarecn มิ่งขวัญ คงเจริญ Srinakharinwirot University. Faculty of Education |
Issue Date: | 19 |
Publisher: | Srinakharinwirot University |
Abstract: | The purposes of this research were: (1) to study the current state of management at Panaya Phattanakan School in terms of resources in four departments, according to school management models, which included: (1) the academic departments; (2) the budgeting and planning department; (3) the human resources department; and (4) the general administrative department. The school resources studied were as follows: (1) human resources; (2) financial resources; (3) material resources and (4) time resources. Furthermore, this research attempted to find the most appropriate approaches to developing efficiency in the management of school resources. The research used structured interviews with four key informants to study the current state of resources management at Panaya Phattanakan School in all four departments. The research also used a focus group discussion with nine experts, in the attempt to identify appropriate approaches to develop efficiency in the management of school resources at Panaya Phattanakan School. The conclusions of the approaches to efficiency development in the management of school resources could be applied to management at Panaya Phattanakan School as follows: (1) approaches to developing efficiency in Human Resources management consisting of four approaches; (2) approaches to developing efficiency of the management of financial resources, which consisted of four approaches; (3) approaches to developing efficiency in the management of material resources consisted of three approaches; (4) approaches to developing efficiency in the management of time resources consisted of three approaches. การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพปัจจุบันของการบริหารทรัพยากรของสถานศึกษาของ รร.ปาณยา พัฒนาการ โดยศึกษาการบริหารทรัพยากรใน 4 ด้าน คือ 1) ด้านการบริหารวิชาการ 2) ด้านการบริหารงบประมาณและการเงิน 3) ด้านการบริหารบุคคล และ 4) ด้านการบริหารทั่วไป โดยศึกษาการบริหารทรัพยากรของสถานศึกษาใน 4 ประเภท คือ 1) ทรัพยากรด้านบุคคล 2) ทรัพยากรด้านการเงิน 3) ทรัพยากรด้านวัสดุอุปกรณ์ และ 4) ทรัพยากรด้านเวลา (2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพในการบริหารทรัพยากรของ รร.ปาณยา พัฒนาการ โดยใช้แบบสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่มเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่ใช้ในการสัมภาษณ์จำนวน 4 ท่าน ซึ่งปัจจุบันเป็นหัวหน้าการบริหารงานในแต่ละด้านของสถานศึกษาและมีความรู้ในข้อมูลเชิงลึกในการบริหารงานของฝ่าย เพื่อสัมภาษณ์และศึกษาประสิทธิภาพในการบริหารทรัพยากรของสถานศึกษาในปัจจุบัน 2) กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ 9 ท่าน เพื่อการศึกษาและหาแนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพในการบริหารทรัพยากรของ รร.ปาณยา พัฒนาการโดยใช้การสนทนากลุ่ม เพื่อยืนยันข้อมูลและตรวจสอบความเป็นไปได้ในการนำแนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพในการบริหารทรัพยากรของสถานศึกษานำไปดำเนินการใช้กับ รร.ปาณยา พัฒนาการ ซึ่งผลการวิจัยพบว่า แนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพในการบริหารทรัพยากรของสถานศึกษา ที่โรงเรียนปาณยา พัฒนาการ สามารถนำไปดำเนินการปฏิบัติในสถานศึกษา นั้น ได้มีการสรุปเป็นจำนวนทั้งหมด 14 แนวทาง โดยจำแนกแนวทางตามประเภทของทรัพยากรของสถานศึกษาได้ดังนี้ 1) แนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารทรัพยากรด้านบุคคลนั้น สรุปได้ 4 แนวทาง 2) แนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพในการบริหารทรัพยากรทางงบประมาณและการเงิน สรุปได้ 4 แนวทาง 3) แนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพในการบริหารทรัพยากรทางด้านวัสดุอุปกรณ์ สรุปได้ 3 แนวทาง 4) แนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพในการบริหารทรัพยากรทางด้านเวลา สรุปได้ 3 แนวทาง |
Description: | MASTER OF EDUCATION (M.Ed.) การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.) |
URI: | http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/312 |
Appears in Collections: | Faculty of Education |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
gs571130106.pdf | 1.55 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.