Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/3116
Title: THE EFFECTS OF CONTEXT-BASED LEARING ABOUT FUNCTIONSON MATHEMATICAL CONCEPTUAL KNOWLEDGE AND CONNECTION ABILITYOF MATHAYOMSUKSA IV STUDENTS
ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐาน เรื่องฟังก์ชัน ที่มีต่อความรู้เชิงมโนทัศน์และความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4
Authors: TRIPOP PLAENAK
ไตรภพ แปลนาค
Khawn Piasai
ขวัญ เพียซ้าย
Srinakharinwirot University
Khawn Piasai
ขวัญ เพียซ้าย
khawn@swu.ac.th
khawn@swu.ac.th
Keywords: การจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐาน
ความรู้เชิงมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์
ความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์
Context-based learning
Mathematical conceptual knowledge
Mathematical connection ability
Issue Date:  8
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: The purposes of this study are to compare the mathematical conceptual knowledge of the functions through using context-based learning with the criterion and to compare the ability of mathematical connection about the functions through using context-based learning with another criterion. The subjects who satisfied the criterion of 70% of the total scores. The participants in the study were 30 Mathayomsuksa Four students from Horwang School in the second semester of the 2021 academic year. The research instruments of this study were lesson plans using context-based learning, a mathematical conceptual knowledge test, and a mathematical connection test. The statistical analysis tools were percentage, arithmetical mean, standard deviation and a Z-test for population proportion. The results of the study, after being taught through using context-based learning, were as follows: (1) students with mathematical conceptual knowledge about the functions and satisfied the criterion were no more than 70% of the total students at a level of .05; and    (2) students who had the ability of mathematical connection and satisfied another criterion were no more than 70% of the total students at a level of .05.
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) เปรียบเทียบความรู้เชิงมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ฟังก์ชัน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐานกับเกณฑ์ และ 2) เปรียบเทียบความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ฟังก์ชัน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐานกับเกณฑ์ โดยการวิจัยครั้งนี้กำหนดเกณฑ์การผ่าน คือ ตั้งแต่ร้อยละ 70 ของคะแนนทั้งหมด กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนหอวัง กรุงเทพมหานคร จำนวน 1 ห้องเรียน มีนักเรียน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐาน เรื่อง ฟังก์ชัน 2) แบบทดสอบวัดความรู้เชิงมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ฟังก์ชัน และ 3) แบบทดสอบวัดความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์เรื่อง ฟังก์ชัน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต  และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้การทดสอบ Z (Z-Test for Population Proportion)  ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีความรู้เชิงมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ฟังก์ชัน หลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐาน ผ่านเกณฑ์มีจำนวนไม่มากกว่าร้อยละ 70 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด ที่ระดับนัยสำคัญ .05 และ 2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ฟังก์ชัน หลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐาน ผ่านเกณฑ์มีจำนวนไม่มากกว่าร้อยละ 70 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด ที่ระดับนัยสำคัญ .05
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/3116
Appears in Collections:Faculty of Science

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs611110173.pdf15.57 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.