Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/3100
Title: | THE INFLUENCE OF INTRINSIC MOTIVATION, ECONOMIC UNCERTAINTY AND SOCIAL SUPPORT ON DIGITAL INTELLIGENCE AT DIGITAL ENTREPRENEURSHIP LEVEL IN MIDDLE ADULTHOOD อิทธิพลของแรงจูงใจภายใน ความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจ และการสนับสนุนทางสังคม ที่มีต่อความฉลาดทางดิจิทัลระดับผู้ประกอบการดิจิทัลในวัยกลางคน |
Authors: | PAVENA PUMMARA ปวีณา ภุมรา Pinyapan Piasai ภิญญาพันธ์ เพียซ้าย Srinakharinwirot University Pinyapan Piasai ภิญญาพันธ์ เพียซ้าย pinyapan@swu.ac.th pinyapan@swu.ac.th |
Keywords: | วัยกลางคน, ผู้ประกอบการขายสินค้าออนไลน์, ความฉลาดทางดิจิทัล Middle adulthood Digital entrepreneurship Digital intelligence |
Issue Date: | 19 |
Publisher: | Srinakharinwirot University |
Abstract: | The aims of this research are as follows: (1) to examine the relationship between intrinsic motivation, economic uncertainty, and social support with digital intelligence at digital entrepreneurship level in middle adulthood; and (2) to investigate the predictive ability of intrinsic motivation, economic uncertainty, and social support on the digital intelligence at digital entrepreneurship level in middle adulthood. The sample used in this research consisted of 129 middle-aged individuals, aged 41-59, and engaged in online businesses. Using a convenience sampling method, this research employed a questionnaire consisting of five sections on general information among online sellers, digital technology usage in online selling, perception of work, perception of the economic situation, perception of society. The measurement scales used in the questionnaire are five-point Likert scales. The following statistics were used to analyze the data: frequency, percentage, mean, standard deviation, and Coefficient of Variation, to analyze the initial data of the sample. Pearson's product-moment correlation coefficient and multiple regression analysis (Enter method) were used to test the hypotheses. The research findings indicated that social support and intrinsic motivation have a positive relationship with digital intelligence at the digital entrepreneurship level in middle adulthood. On the other hand, economic uncertainty had a negative relationship. All variables collectively predicted 46% of the variance in digital, with a statistical significance of .001. The variable with the highest impact is social support, followed by economic uncertainty, and lastly, intrinsic motivation. These variables can predict digital intelligence at digital entrepreneurship level in middle adulthood at .001, .05, and .01, respectively. การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจภายใน ความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจ และการสนับสนุนทางสังคมกับความฉลาดทางดิจิทัลระดับผู้ประกอบการดิจิทัลในวัยกลางคน 2) ศึกษาความสามารถในการทำนายความฉลาดทางดิจิทัลระดับผู้ประกอบการดิจิทัลในวัยกลางคน ของตัวแปรแรงจูงใจภายใน ความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจ และการสนับสนุนทางสังคม ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ วัยกลางคน อายุระหว่าง 41 – 59 ปี ที่ประกอบการขายสินค้าออนไลน์ จำนวน 129 คน โดยใช้วิธีการเลือกตัวอย่างแบบตามสะดวก (convenience sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม จำนวน 5 ตอน ได้แก่ ตอนที่ 1 แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปของผู้ประกอบการขายสินค้าออนไลน์ ตอนที่ 2 แบบวัดการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการขายสินค้าออนไลน์ ตอนที่ 3 แบบวัดฉันกับการทำงาน ตอนที่ 4 แบบวัดฉันกับการมองภาวะเศรษฐกิจ ตอนที่ 5 แบบวัดฉันกับสังคม โดยแบบวัดมีลักษณะเป็นมาตรประเมินรวมค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ จำนวน ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์การกระจาย เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นของตัวอย่าง ใช้การหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน(Pearson's product moment correlation coefficient) และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (Multiple regression analysis) แบบปกติ (Enter) เพื่อทดสอบสมมติฐาน ผลวิจัยพบว่า การสนับสนุนทางสังคม และแรงจูงใจภายใน มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความฉลาดทางดิจิทัลระดับผู้ประกอบการดิจิทัลในวัยกลางคน ส่วนความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจ มีความสัมพันธ์ทางลบ ซึ่งตัวแปรทั้งหมดสามารถร่วมกันทำนายความฉลาดทางดิจิทัลระดับผู้ประกอบการดิจิทัลในวัยกลางคน ได้ร้อยละ 46 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 โดยตัวแปรที่ส่งผลสูงสุด ได้แก่ การสนับสนุนทางสังคม รองลงมาคือ ความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจ และ ลำดับสุดท้ายคือ แรงจูงใจภายใน สามารถทำนายความฉลาดทางดิจิทัลระดับผู้ประกอบการดิจิทัล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 .05 และ .01 ตามลำดับ |
URI: | http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/3100 |
Appears in Collections: | Faculty of Humanities |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
gs641110091.pdf | 4.17 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.