Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/3098
Title: | COPING STRATEGIES TO REDUCE THE IMPACT ON PSYCHOLOGICAL PAIN CAUSED BY VERBAL ABUSE IN EARLY ADULTHOOD IN BANGKOK AREA กลวิธีการรับมือเพื่อลดผลกระทบที่ก่อให้เกิดความเจ็บปวดทางจิตใจจากความรุนแรงทางคำพูดของวัยผู้ใหญ่ตอนต้นในเขตกรุงเทพมหานคร |
Authors: | THANUTCHA SOWANNADITTAPORN ธนัชชา โสวรรณดิฐพร Charn Rattanapisit ชาญ รัตนะพิสิฐ Srinakharinwirot University Charn Rattanapisit ชาญ รัตนะพิสิฐ charn@swu.ac.th charn@swu.ac.th |
Keywords: | ความรุนแรงทางคำพูด กลวิธีรับมือต่อความรุนแรงทางคำพูด วัยผู้ใหญ่ตอนต้น Verbal abuse Coping strategies Early adulthood |
Issue Date: | 19 |
Publisher: | Srinakharinwirot University |
Abstract: | This qualitative research aims to explore the individual factors causing the patterns of verbal abuse and the coping strategies employed by young adults in Bangkok, Thailand, to mitigate the psychological pain inflicted by such abuse. The study involved 20 participants, aged 20-40, who experienced psychological distress from verbal violence, but have managed to adapt and achieve emotional growth, allowing them to lead normal lives. The data were collected through psychological pain and coping capability from verbal abuse assessment forms and interviews. The findings revealed that the most distressing verbal abuse, typically originated from family members, such as parents and relatives, followed by close friends, colleagues, or supervisors, partners, teachers, and other individuals, like customers. The most harmful types of verbal abuse identified include crude criticism, false accusations, demeaning and belittling comments, gaslighting, threats of physical harm, and passive aggression through silence. The prevalent coping strategies among the participants include distancing themselves from the abusers, seeking social support from trusted individuals, striving to improve and prove their self-worth, and shifting their focus to more positive activities to distract from negative feelings. งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแหล่งที่มาที่เป็นตัวบุคคล รูปแบบของความรุนแรงทางคำพูดและกลวิธีการรับมือต่อความรุนแรงทางคำพูดที่สร้างความเจ็บปวดทางจิตใจของวัยผู้ใหญ่ตอนต้นในเขตกรุงเทพมหานคร โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ที่มีอายุระหว่าง 20 – 40 ปี ที่เคยผ่านประสบการณ์ความเจ็บปวดทางจิตใจจากความรุนแรงทางคำพูด แต่สามารถรับมือจนเกิดความเติบโตทางจิตใจและสามารถใช้ชีวิตได้อย่างเป็นปกติ จำนวน 20 คน เก็บข้อมูลด้วยแบบประเมินประสบการณ์ และแบบประเมินความสามารถในการเผชิญปัญหาความเจ็บปวดทางจิตใจจากความรุนแรงทางคำพูดและแบบสัมภาษณ์ ผลการวิจัยพบว่า ประสบการณ์การได้รับความเจ็บปวดทางจิตใจจากคำพูดรุนแรงมักมาจากบุคคลที่เป็นบุคคลภายในครอบครัว เช่น พ่อ แม่ ญาติ รองลงมา คือ เพื่อนสนิท เพื่อนร่วมงานหรือผู้บังคับบัญชา คนรัก ครู-อาจารย์ และบุคคลอื่น ๆ เช่น ลูกค้า โดยลักษณะคำพูดรุนแรงที่เห็นพ้องกันว่าสามารถทำร้ายจิตใจได้อย่างมาก คือ การตำหนิ-วิพากษ์วิจารณ์ด้วยถ้อยคำที่หยาบคาย การกล่าวหาแบบผิดๆ และไม่เป็นความจริง การเหยียดหยามดูถูกและด้อยค่าความสามารถ การปั่นหัวเพื่อให้เกิดความสงสัยสับสนในตนเอง การขู่ทำร้ายร่างกาย และการประชดโดยการเงียบ โดยกลวิธีที่กลุ่มตัวอย่างนิยมใช้เพื่อรับมือกับคำพูดที่รุนแรง คือ การปฏิเสธหากพบว่าคำพูดนั้นไม่เป็นความจริง การสร้างระยะห่าง เช่น พยายามออกห่างหรือหนีจากบุคคลที่ใช้คำพูดรุนแรง การหาการสนับสนุนทางสังคมจากบุคคลที่ไว้ใจ การพยายามปรับปรุงและพิสูจน์คุณค่าของตนเอง และการเปลี่ยนจุดสนใจด้วยตนเอง คือ หาสิ่งอื่นที่น่าสนใจมากกว่าจะมาใส่ใจความรู้สึกทางลบ |
URI: | http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/3098 |
Appears in Collections: | Faculty of Humanities |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
gs631130320.pdf | 3.73 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.