Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/3056
Title: MARKETING PLAN OF GASTRONOMY TOURISM IN BAN KHUN SAMUT CHIN SAMUTPRAKAN PROVINCE
แผนการตลาดการท่องเที่ยวเชิงอาหารบ้านขุนสมุทรจีน จังหวัดสมุทรปราการ
Authors: KANNIKA SAISOD
กรรณิการ์ ใสสด
Usanee Watcharaphaisankul
อุษณีย์ วัชรไพศาลกุล
Srinakharinwirot University
Usanee Watcharaphaisankul
อุษณีย์ วัชรไพศาลกุล
usaneeph@swu.ac.th
usaneeph@swu.ac.th
Keywords: การท่องเที่ยวเชิงอาหาร. พฤติกรรมนักท่องเที่ยว. ศักยภาพการท่องเที่ยว. ส่วนประสมทางการตลาด. แผนการตลาดการท่องเที่ยวเชิงอาหาร
Gastronomic Tourism. Tourism Behavior. Tourism Potential. Marketing Mix. Gastronomic Tourism Marketing Plan
Issue Date:  24
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: This study utilized a mixed methods approach with the following objectives: (1) to examine the food tourism behavior of Thai tourists visiting Ban Khun Samut Chin: (2) to assess the potential of food resources in Ban Khun Samut Chin: (3) to evaluate satisfaction with the marketing mix among Thai tourists traveling to Ban Khun Samut Chin: and (4) proposing a marketing plan for food tourism in Ban Khun Samut Chin. The quantitative questionnaire involved 385 participants, while the semi-structured interviews were conducted with 10 stakeholders. The findings indicated that tourists tend to travel with their families and are interested in experiencing the local way of life and the unique cultural aspects of the food from that area. The decision to travel is often driven by a desire for new and challenging tourism experiences, and weekends were the preferred time for travel. Online booking and social media played significant roles for gastronomy trip planning. Tourists generally expressed satisfaction with the marketing mix, especially concerning the sequence of experience, everywhere and evangelism. While no statistically significant relationships were found between tourist behavior and overall marketing satisfaction, and there were significant connections between travel partners/influencers and reaching consumers at a significant level of 0.05. A marketing plan for gastronomy tourism in Ban Khun Samut Chin, Samut Prakan Province was created. The researcher therefore used the marketing plan (4Es) as a marketing tool to develop gastronomy tourism in Ban Khun Samut Chin, Samut Prakan Province.
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1)ศึกษาพฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงอาหารของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวบ้านขุนสมุทรจีน (2)เพื่อศึกษาศักยภาพทรัพยากรอาหารบ้านขุนสมุทรจีน (3)เพื่อศึกษาความพึงพอใจด้านส่วนประสมทางการตลาดของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวบ้านขุนสมุทรจีน และ (4)เพื่อนำเสนอแผนการตลาดการท่องเที่ยวเชิงอาหารบ้านขุนสมุทรจีน โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในแบบสอบถามเชิงปริมาณจำนวน 385 คน และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจำนวน 10 คน ซึ่งการวิจัยพบว่าพฤติกรรมนักท่องเที่ยวนิยมเดินทางกับครอบครัว โดยลักษณะนักท่องเที่ยวเชิงอาหารต้องการเรียนรู้สัมผัสวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนพื้นที่นั้นและศึกษาเอกลักษณ์วัฒนธรรมของอาหารเฉพาะถิ่น เหตุผลที่เลือกเดินทางเพราะต้องการรูปแบบการท่องเที่ยวแปลกใหม่ท้าทาย โดยมีครอบครัวเป็นผู้มีอิทธิพลในการตัดสินใจท่องเที่ยว ในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์เป็นช่วงที่เลือกเดินทางมากที่สุด ใช้วิธีการจองการท่องเที่ยวเชิงอาหารผ่านสื่อออนไลน์ และรู้จักประเภทการท่องเที่ยวเชิงอาหารจากสื่อสังคมออนไลน์ และผลการวิจัยระดับความพึงพอใจส่วนประสมทางการตลาดของนักท่องเที่ยว พบว่า ในภาพรวมนักท่องเที่ยวมีความคิดเห็นเกี่ยวกับระดับความพึงพอใจส่วนประสมทางการตลาด อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน เรียงจากมากไปน้อย พบว่า การกำหนดราคา การแนะนำประสบการณ์ การเข้าถึงผู้บริโภค และการเผยแพร่ ในส่วนของระดับความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมนักท่องเที่ยวกับระดับความพึงพอใจส่วนประสมทางการตลาดในภาพรวมไม่มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยหากพิจารณาข้อคำถามที่มีความสัมพันธ์ พบว่า ผู้ร่วมเดินทางท่องเที่ยวและผู้มีอิทธิพลช่วยตัดสินใจในการท่องเที่ยวมีความสัมพันธ์กับส่วนประสมทางการตลาดด้านการเข้าถึงผู้บริโภคมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ผู้วิจัยจึงได้ใช้แผนการตลาด (4Es) เป็นเครื่องมือทางการตลาดในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอาหารบ้านขุนสมุทรจีน จังหวัดสมุทรปราการ
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/3056
Appears in Collections:Faculty of Environmental Culture and Ecotourism

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs651160508.pdf6.87 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.