Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/3013
Title: | DEVELOPMENT OF EXPERIENTIAL LEARNING ECOSYSTEM WITH IMAGINEERING LEARNING TO PROMOTE THE LERANING MANAGEMENT COMPETENCIES IN COMPUTATIONAL THINKING OF STUDENTS IN THE BACHELOR OF EDUCATION PROGRAM IN COMPUTER AT RAJABHAT UNIVERSITY: A MIXED METHODS EXPERIMENTAL DESIGN WITH MULTI-CASE STUDIES การพัฒนาระบบนิเวศการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ผสานจินตวิศวกรรมเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ด้านการคิดเชิงคำนวณของนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ: การวิจัยแบบผสานวิธีด้วยการจัดกระทำเชิงทดลองแบบพหุกรณีศึกษา |
Authors: | NATTAPHOL THANACHAWENGSAKUL ณัฐพล ธนเชวงสกุล Ittipaat Suwatanpornkool อิทธิพัทธ์ สุวทันพรกูล Srinakharinwirot University Ittipaat Suwatanpornkool อิทธิพัทธ์ สุวทันพรกูล san@swu.ac.th san@swu.ac.th |
Keywords: | ระบบนิเวศการเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ การจัดการเรียนรู้แบบจินตวิศวกรรม สมรรถนะการจัดการเรียนรู้ การคิดเชิงคำนวณ การวิจัยแบบผสานวิธี การจัดกระทำเชิงทดลอง พหุกรณีศึกษา Learning Ecosystem Experiential Learning Imagineering Learning Learning Management Competencies Computational Thinking Mixed Methods Experimental Design Multi Case Studies |
Issue Date: | 19 |
Publisher: | Srinakharinwirot University |
Abstract: | This aims of this research are as follows: (1) to study the components of computational thinking learning management competencies; (2) to develop an experiential learning ecosystem with engineering imagination; and (3) to examine student competencies in computational thinking and learning management. The first phase of the sample consisted of 240 students in the Bachelor of Education Program in Computer and Digital Technology for Education at Rattanakosin Rajabhat University, using stratified random sampling. For the second phase, there were seven experts and used purposive sampling. In the third phase, 11 students in the Bachelor of Education Program in Computers were selected by stratified random sampling. The research tools were (1) a questionnaire on the study of competency in computational thinking learning management; (2) an evaluation form on the suitability of a learning ecosystem; (3) a learning ecosystem; (4) a learning management plan; (5) a computational thinking assessment form; and (6) an in-depth interview form. The data were analyzed with descriptive statistics using mean values, standard deviation, confirmatory factor analysis, one-sample and dependent t-test, and effect size analysis. The results found three components: (1) knowledge, (2) skills, and (3) attributes. After adjustment, it was found that the various sub-components could be combined into a single component with precision and appropriate empirical data; (2) the results of the development of the learning ecosystem had four parts: Part 1: learning ecosystem components; Part 2: managing learning through experience; Part 3: using imagineering learning, and Part 4, competency in computational thinking learning management. The appropriateness of the learning ecosystem was at the highest level of suitability; and (3) the results found that students had higher knowledge competency after studying, with a statistical significance of .01, indicating high level knowledge development. They had skills exceeding the criteria of 80% and with a statistical significance of .01 level. There was a significant improvement in attributes after studying, with a statistical significance of .01 level and a medium level of development in attributes. การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ด้านการคิดเชิงคำนวณ 2) พัฒนาระบบนิเวศการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ผสานจินตวิศวกรรม และ 3) ศึกษาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ด้านการคิดเชิงคำนวณของนักศึกษา กลุ่มตัวอย่างระยะที่ 1 คือ นักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ และสาขาวิชาเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มรัตนโกสินทร์ จำนวน 240 คน โดยใช้การสุ่มแบบแบ่งชั้น ระยะที่ 2 เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ และด้านคอมพิวเตอร์ศึกษา จำนวน 7 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง และระยะที่ 3 นักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ จำนวน 11 คน จากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบสอบถาม เรื่อง การศึกษาองค์ประกอบสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ด้านการคิดเชิงคำนวณ 2) แบบประเมินรับรองความเหมาะสมของระบบนิเวศการเรียนรู้ 3) ระบบนิเวศการเรียนรู้ 4) แผนการจัดการเรียนรู้ 5) แบบประเมินสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ด้านการคิดเชิงคำนวณ และ 6) แบบสัมภาษณ์ข้อมูลเชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน การทดสอบค่าทีแบบไม่อิสระต่อกัน การทดสอบค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง 1 กลุ่ม การวัดคะแนนเพิ่มสัมพัทธ์ และการวิเคราะห์ขนาดอิทธิพล ผลการวิจัยพบว่า 1) สมรรถนะการจัดการเรียนรู้ด้านการคิดเชิงคำนวณ แบ่งเป็น 3 องค์ประกอบ คือ (1) ด้านความรู้ (2) ด้านทักษะ และ (3) ด้านคุณลักษณะ โดยหลังจากปรับโมเดลการวัด พบว่า องค์ประกอบย่อยต่าง ๆ สามารถรวมกันเป็นองค์ประกอบเดียวอย่างมีความเที่ยงตรง และมีความเหมาะสมพอดีกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 2) ผลการพัฒนาระบบนิเวศการเรียนรู้ แบ่งเป็น 4 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 องค์ประกอบของระบบนิเวศการเรียนรู้ ส่วนที่ 2 การจัดการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ ส่วนที่ 3 การจัดการเรียนรู้แบบจินตวิศวกรรม และส่วนที่ 4 สมรรถนะการจัดการเรียนรู้ด้านการคิดเชิงคำนวณ ทั้งนี้ จากการประเมินความเหมาะสมของระบบนิเวศการเรียนรู้ดังกล่าว ในภาพรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และ 3) ผลการศึกษาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ด้านการคิดเชิงคำนวณ พบว่า นักศึกษามีสมรรถนะด้านความรู้หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีระดับพัฒนาการด้านความรู้อยู่ในระดับสูง รวมถึงมีสมรรถนะด้านทักษะหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 นอกจากนี้ ยังมีสมรรถนะด้านคุณลักษณะ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีระดับพัฒนาการด้านคุณลักษณะอยู่ในระดับกลาง |
URI: | http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/3013 |
Appears in Collections: | Faculty of Education |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
gs642130007.pdf | 15.08 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.