Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2987
Title: MANAGEMENT  STRATEGIC  PLAN  DEVELOPMENT  TO  PROMOTE   VOCATIONAL  EDUCATION  INVENTORS
การพัฒนาแผนกลยุทธ์การจัดการเพื่อเสริมสร้างนักประดิษฐ์สายอาชีวศึกษา
Authors: ONANONG SINGBUBPHA
อรอนงค์ สิงห์บุบผา
Cholvit Jearajit
ชลวิทย์ เจียรจิตต์
Srinakharinwirot University
Cholvit Jearajit
ชลวิทย์ เจียรจิตต์
cholvit@swu.ac.th
cholvit@swu.ac.th
Keywords: กลยุทธ์, นักประดิษฐ์, อาชีวศึกษา
Strategy
Innovators
Vocational
Issue Date:  19
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: The aims of this research are as follows: (1) to analyze the strengths and weaknesses of the National Research Council of Thailand (NRCT) and its external environment elements in promoting vocational innovators in enhancing their innovative competence; (2) to develop a management strategy on strengthening the vocational innovators’ products; and (3) to evaluate management strategies on strengthening the products of vocational innovators. The qualitative research used the small focus group method in data gathering. 10 key informants were considered project stakeholders. The research procedure was carried out to make analysis on NRCT strengths and weaknesses, as well as its external environment and every dimension of development activities. The quantitative research method was applied to work with research samples, 400 vocational colleges teachers and assistant teachers by specific purpose selection. The research tool was a questionnaire. The data analysis was a ready-made statistical program. The statistics applied consisted of descriptive, and referential in hypothesis test. The brain-storming process to achieve promoting the vocational innovators was performed by eight key corporate executives. The SWOT analysis was applied and the TOWS Matrix was also used for analysis. There were four strategic options and 13 strategies found, consisting of the following: (1) 4 offensive strategy (SO strategy);  (2) three defensive strategies (ST strategy); (3) four corrective strategies (WO strategy, and (4) two defensive strategies (WT strategy). The alternative strategy was the SO strategy was the most important and used for the action plan. The SO1 was recommended to be used in setting up training program and activity programs for promoting the invention and innovation skills practice. The SO2 proposed it fit the network creation between NRCT and related organizations so that could be increased. The SO3 would fit mechanism in driving innovative products by working with private entrepreneurs. The SO4 was appropriate to promote cooperation among Thai and foreign innovators in exchanging their knowledge, technology and experience.
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน ของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และสภาพแวดล้อมภายนอกในการพัฒนานักประดิษฐ์สายอาชีวศึกษาให้มีสมรรถนะเชิงนวัตกรรม 2) พัฒนากลยุทธ์เสริมสร้างนักประดิษฐ์สายอาชีวศึกษา และ 3) ประเมินแผนกลยุทธ์การจัดการเพื่อเสริมสร้างนักประดิษฐ์สายอาชีวศึกษา โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยวิธีการสนทนากลุ่มย่อยกับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลคนสำคัญจำนวน 10 คน ที่มีความเกี่ยวข้อง มีส่วนได้ส่วนเสีย และดำเนินภารกิจพัฒนานักประดิษฐ์สายอาชีวศึกษา เพื่อวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อนของ วช. รวมถึงสภาพแวดล้อมภายนอกที่ส่งผลต่อการพัฒนานักประดิษฐ์สายอาชีวศึกษาในทุกมิติ และระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูและครูผู้ช่วยสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จำนวน 400 คน โดยใช้วิธีเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมานเพื่อทดสอบสมมติฐาน จากนั้นทำการระดมสมองเพื่อกำหนดกลยุทธ์การเสริมสร้างนักประดิษฐ์สายอาชีวศึกษากับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลคนสำคัญจำนวน 8 คน ซึ่งเป็นผู้บริหารหน่วยงานและผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์จากการพัฒนาผลงานสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม โดยใช้ผลการวิเคราะห์ SWOT Analysis ของ วช. ในการจัดการเพื่อเสริมสร้างนักประดิษฐ์สายอาชีวศึกษา ประเด็นจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค มาร่วมวิเคราะห์โดยใช้เทคนิค TOWS Matrix เพื่อพัฒนาเป็นกลยุทธ์เสริมสร้างนักประดิษฐ์สายอาชีวศึกษา 4 รูปแบบ 13 กลยุทธ์ ได้แก่ (1) กลยุทธ์เชิงรุก (SO strategy) จำนวน 4 กลยุทธ์ (2) กลยุทธ์เชิงป้องกัน (ST strategy) จำนวน 3 กลยุทธ์ (3) กลยุทธ์เชิงแก้ไข (WO strategy) จำนวน 4 กลยุทธ์ และ (4) กลยุทธ์เชิงรับ (WT strategy) จำนวน 2 กลยุทธ์ เมื่อวิเคราะห์กลยุทธ์ทางเลือกพบว่า กลยุทธ์เชิงรุก มีความสำคัญมากที่สุดและควรนำไปกำหนดแผนปฏิบัติการ ได้แก่ SO1. จัดหลักสูตรฝึกอบรม/กิจกรรมส่งเสริมทักษะการประดิษฐ์และนวัตกรรม ที่มุ่งเน้นองค์ความรู้ที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ให้เหมาะสมกับนักประดิษฐ์สายอาชีวศึกษา และตอบโจทย์ความต้องการของภาคอุตสาหกรรม SO2. พัฒนาเครือข่ายร่วมมือระหว่างสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) สถาบันอาชีวศึกษา ภาคเอกชน และหน่วยงานวิจัย ในการสร้างโอกาสพัฒนาทักษะ สร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ และการฝึกประสบการณ์เพื่อเป็นการพัฒนานักประดิษฐ์สายอาชีวศึกษา SO3. สร้างกลไกผลักดันผลงานสิ่งประดิษฐ์สู่ตลาดโดยการจับคู่ธุรกิจกับนักประดิษฐ์สายอาชีวศึกษาเพื่อสนับสนุนเงินทุน และช่วยเหลือนักประดิษฐ์ระดับอาชีวศึกษาในการนำผลงานไปใช้ประโยชน์ได้หลากหลายมิติ และ SO4. ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างนักประดิษฐ์ระดับอาชีวศึกษากับนักประดิษฐ์ต่างประเทศ เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ เทคโนโลยี และประสบการณ์
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2987
Appears in Collections:Faculty of Social Sciences

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs641150051.pdf7.03 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.