Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2986
Title: | MODELS OF STRENGTHENING HIGHER EDUCATION INSTITUTIONS
FOR SUSTAINABLE DEVELOPMENT OF LOCAL COMMUNITIES รูปแบบการส่งเสริมสถาบันอุดมศึกษาในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นอย่างยั่งยืน |
Authors: | PUNPERMSAK ARUNI พันธุ์เพิ่มศักดิ์ อารุณี Cholvit Jearajit ชลวิทย์ เจียรจิตต์ Srinakharinwirot University Cholvit Jearajit ชลวิทย์ เจียรจิตต์ cholvit@swu.ac.th cholvit@swu.ac.th |
Keywords: | สถาบันอุดมศึกษา การพัฒนาอย่างยั่งยืน ชุมชนท้องถิ่น Higher Education Institution Sustainable Development Local Community |
Issue Date: | 19 |
Publisher: | Srinakharinwirot University |
Abstract: | This research aims to study the policies of the Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation (MHESI) and the operations of higher education institutions (HEIs) (between 2019 and 2023) related to local community development to compile, analyze, and construct suitable models prior to making decisions and providing recommendations to be used in preparing policy proposals of the Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation in order to encourage higher education institutions to engage in sustainable development initiatives within their local communities. This research utilized mixed methods by questionnaire-based data collection from the sample groups, followed by evaluation of the proposed model through focus group discussions on relativeness, suitability, and feasibility. The sample group consisted of representatives from 85 of 104 eligible HEI. The collected data were evaluated using the focus group, comprising of 3 groups, - 8 representatives of Ministry executive and higher education expert group, 8 representatives of HEIs executives in Area-based and Community Engagement group, and 4 representatives of leaders or specialists in local community development group, resulting in the developed model. The model was further verified using in-depth interview from 3 experts in higher education. Result from the questionnaires showed that the deployment of Ministry’s policies contributed to supporting HEIs to develop local community at a high level, with high suitability , and with strong evidence of using policies to drive action plans. Further analysis revealed the model also highly aligned to principles of local community development. Specifically, the Integrated sub-district economic and social enhancement project, university to tumbon (U2T), and the Post-Covid economy and social development project with Bio-Circular-Green (BCG) economy, has the highest response aligning with the principles of local community development. These were followed by the policy for grouping HEIs and encouraging HEIs to participate in Times Higher Education (THE) Impact Rankings. Evaluation from the focus groups showed that the proposed models highly responded to the local community requirements. In-depth interview further confirmed the completeness of the proposed models, particularly the effective mechanism for driving policies into actions for HEIs in the area, and are suitable for applying to the Ministry action plans. งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษานโยบายการดำเนินการของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมและการดำเนินการของสถาบันอุดมศึกษา (ระหว่างปี พ.ศ. 2562 – 2566) ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น เพื่อประมวล วิเคราะห์ และพัฒนารูปแบบที่เหมาะสม ก่อนจัดทำบทสรุป ข้อเสนอแนะ เพื่อประกอบการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายของกระทรวง การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ในการส่งเสริมให้สถาบันอุดมศึกษาเข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นอย่างยั่งยืน โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) จากการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย ผู้รับผิดชอบที่เกี่ยวข้องของสถาบันอุดมศึกษา จำนวน 85 แห่ง จากจำนวนสถาบันอุดมศึกษาที่ได้รับการประกาศให้สังกัดกลุ่ม จำนวน 104 แห่งและนำข้อมูลที่ได้มาประมวลโดยวิธีสนทนากลุ่ม (Focus Group) จากกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ กลุ่มผู้บริหารของกระทรวง ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการอุดมศึกษาที่เกี่ยวข้อง จำนวน 8 คน กลุ่มผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาในกลุ่มพัฒนาชุมชนท้องถิ่นหรือชุมชนอื่น จำนวน 8 คน และกลุ่มผู้นำท้องถิ่นหรือผู้ที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญในด้านการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น จำนวน 4 คน และทำการรวบรวม วิเคราะห์ข้อมูลและตรวจสอบความครบถ้วนและความเหมาะสมผ่านการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) จากกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการอุดมศึกษา จำนวน 3 คน โดยผลจากการวิจัยที่ได้จากข้อมูลจากแบบสอบถามพบว่าการดำเนินนโยบายการส่งเสริมสถาบันอุดมศึกษาในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นของกระทรวง มีส่วนช่วยส่งเสริมให้สถาบันอุดมศึกษาพัฒนาชุมชนท้องถิ่นอยู่ในระดับมาก มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และมีการนำนโยบายไปใช้ขับเคลื่อนการดำเนินการอยู่ในระดับมากเช่นเดียวกันและเมื่อวิเคราะห์ถึงรูปแบบการดำเนินการ พบว่า ตอบสนองต่อหลักการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นในด้านต่างๆ อยู่ในระดับมาก โดยรูปแบบของโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการและโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG ตอบสนองหลักการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นมากที่สุด รองลงมาได้แก่นโยบายการจัดกลุ่มสถาบันอุดมศึกษา และการสนับสนุนสถาบันอุดมศึกษาเข้าสู่ THE Impact Rankings ตามลำดับ เมื่อนำผลที่ได้รับจากแบบสอบถามมาสร้างรูปแบบการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นอย่างยั่งยืน และนำมาสอบถามความสอดคล้องความเหมาะสมและความเป็นไปได้ผ่านการสนทนากลุ่ม (Focus Group) โดยพบว่ารูปแบบที่เสนอสามารถช่วยตอบโจทย์การพัฒนาชุมชนท้องถิ่นและมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก จากนั้นการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) ทำให้ทราบว่ารูปแบบฯ ที่พัฒนาปรับปรุงขึ้นมีความครบถ้วนโดยเฉพาะกลไกการขับเคลื่อนเชิงนโยบายที่มีผลอย่างมากต่อการดำเนินงานของหน่วยงานต่างๆ ในพื้นที่ มีความเหมาะสมและสามารถนำไปใช้ในการดำเนินการของกระทรวงได้ |
URI: | http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2986 |
Appears in Collections: | Faculty of Social Sciences |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
gs641150050.pdf | 3.78 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.