Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2957
Title: BUDDHIST MEDITATION TOURISM MANAGEMENT BASED ON THE TOURISM RESOURCES OF CHIANGMAI PROVINCE
การจัดการการท่องเที่ยวเชิงสมาธิแนวพุทธศาสนาบนฐานทรัพยากรการท่องเที่ยวจังหวัดเชียงใหม่
Authors: CHALERMPONG PONGJUN
เฉลิมพงษ์ พงค์จันทร์
Komsit Kieanwatana
คมสิทธิ์ เกียนวัฒนา
Srinakharinwirot University
Komsit Kieanwatana
คมสิทธิ์ เกียนวัฒนา
komsit@swu.ac.th
komsit@swu.ac.th
Keywords: การจัดการการท่องเที่ยว
การท่องเที่ยวเชิงสมาธิแนวพุทธศาสนา
ทรัพยากรการท่องเที่ยว
สมาธิ
Tourism management
Buddhist Meditation tourism
Tourism resources
Meditation
Issue Date:  24
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: The purposes of this article are as follows: (1) to examine how tourists behave and perceive Buddhist meditation tourism; (2) to research the administrative aspects of Buddhist meditation travel; and (3) to create a Buddhist meditation tourism management model based on the tourism resources of Chiang Mai province. A mixed-methods research was used, including a questionnaire with 140 responses from Thai and foreign tourists and ten semi-structured interviews with managers, business owners, and other relevant parties serving as a data collection tool. The mean, percentage, frequency, t-test, chi-square and descriptive analysis were used as the data analysis tools. The findings were as follows: when tourists travel for the first time, they usually hire a car, go on trips lasting three to five days, and seek out new experiences. A website or other online platform might inspire people to meditate. When presented with meditation practice, tourists were amazed by the concentration levels and feeling of serenity and expressed a desire to return. The travelers liked the tranquility, simplicity, and distinctiveness of Buddhism, the distinctive activities of Chiang Mai culture and high-quality, practically applicable meditation classes. The management component's overall level is high (x̅ = 4.07, S.D. = 0.48). Both the population segment (x̅ = 4.33, S.D. = 0.63) and the facility (x̅ = 4.22, S.D. = 0.66) were at the pinnacle and perceptions of overall management components were not different. Only the personnel, finance, and public relations factors were significantly different at 0.05. In addition, religious and Buddhist meditation tourism behaviors are highly relevant in four aspects, there are the frequency of traveling, vehicles, the most influential channel for motive traveling and problems during meditation practice; and (3) the MS.FAM Model for Thai tourists and the MS.FLAM Model for foreign tourists are two models of Buddhist meditation tourism management. The MS.FAM Model has five components, including meditation courses, staff, finance, activities on Chiang Mai identity and management. The MS.FLAM Model has six components with additional language components.
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมและการรับรู้ของนักท่องเที่ยวที่มีต่อการท่องเที่ยวเชิงสมาธิแนวพุทธศาสนา 2) ศึกษาองค์ประกอบการจัดการเพื่อการท่องเที่ยวเชิงสมาธิแนวพุทธศาสนา และ3) ออกแบบรูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสมาธิแนวพุทธศาสนาบนฐานทรัพยากรการท่องเที่ยวจังหวัดเชียงใหม่ การวิจัยนี้เป็นแบบผสมผสาน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามจากนักท่องเที่ยวชาวไทยและต่างชาติ จำนวน 140 คน แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างจากผู้บริหาร ผู้ประกอบการ รวมทั้งผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง 10 คน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ความถี่ ค่าทีเทส ค่าไคสแควร์ และการวิเคราะห์เชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1) นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เดินทางมาครั้งแรก เพื่อหาประสบการณ์แปลกใหม่ ใช้เวลา 3 - 5 วัน ต่อครั้ง เดินทางโดยรถรับจ้าง สื่อประเภทอินเตอร์เน็ต เช่น เว็บไซต์ มีผลต่อการจูงใจให้มาฝึกสมาธิ ประทับใจกับความเงียบสงบที่ได้จากสมาธิ ประสบกับปัญหาอื่น ๆ ในระหว่างฝึกสมาธิ และประสงค์กลับมาอีก นักท่องเที่ยวรับรู้ถึง ความสงบ เรียบง่าย ความโดดเด่นพุทธศาสนา กิจกรรมมีอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่ผสมผสานหลักสูตรการฝึกสมาธิที่ดีสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตจริง 2) องค์ประกอบการจัดการภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̅= 4.07, S.D. = 0.48) ด้านบุคลากร (x̅= 4.33, S.D. = 0.63) และสิ่งอำนวยความสะดวก (x̅ = 4.22, S.D. = 0.66) อยู่ในระดับมากที่สุด การรับรู้ต่อองค์ประกอบการจัดการโดยรวมไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณาในรายด้านมีเพียงด้านบุคลากร ด้านการเงิน และด้านการประชาสัมพันธ์ที่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 นอกจากนี้ ศาสนากับพฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงสมาธิแนวพุทธศาสนามีความสัมพันธ์กันสุดมาก จำนวน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านความถี่ในการเดินทาง ด้านวิธีการเดินทาง ด้านสื่อที่มีอิทธิพลมากที่สุดต่อการจูงใจให้มาเที่ยว และด้านอุปสรรคและปัญหาที่พบในระหว่างการฝึกสมาธิ 3) รูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสมาธิสำหรับนักท่องเที่ยวชาวไทย เรียกว่า MS.FAM Model มีทั้งหมด 5 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักสูตรสมาธิ บุคลากร การเงิน กิจกรรมท่องเที่ยวเชื่อมโยงอัตลักษณ์จังหวัดเชียงใหม่ ด้านการจัดการ และรูปแบบสำหรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ เรียกว่า MS.FLAM Model มีทั้งหมด 6 องค์ประกอบ โดยมีองค์ประกอบด้านภาษาเพิ่มเติม
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2957
Appears in Collections:Faculty of Environmental Culture and Ecotourism

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs651160151.pdf14.45 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.