Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2928
Title: | COMPARISON OF GAP FORMATION IN SINGLE CONE TECHNIQUE WITH BIOCERAMIC ROOT CANAL SEALERS การเปรียบเทียบช่องว่างที่เกิดขึ้นในการอุดคลองรากฟันด้วยเทคนิคกัตตาเปอร์ชาแท่งเดียวร่วมกับไบโอเซรามิกซีลเลอร์ |
Authors: | WAROONPHAN PRANEETPOLKRANG วรุณพันธุ์ ปราณีตพลกรัง Peerapohn Chotvorrarak พีรพร โชติวรรักษ์ Srinakharinwirot University Peerapohn Chotvorrarak พีรพร โชติวรรักษ์ peraporn@swu.ac.th peraporn@swu.ac.th |
Keywords: | ไบโอเซรามิกซีลเลอร์, เอเอชพลัสเจ็ทซีลเลอร์, เทคนิคกัตตาเปอร์ชาแท่งเดียว, ความแนบสนิท, ช่องว่างระหว่างผนังคลองรากฟันและกัตตาเปอร์ชา Bioceramic sealers AH plus jet sealer Single cone technique Adaptability Gap formation |
Issue Date: | 24 |
Publisher: | Srinakharinwirot University |
Abstract: | The aim of this study is to compare the width of gaps between root canal walls and sealers (AH Plus jet, Endosequence BC Sealer and Endoseal MTA Sealer), occurring when using the single cone technique root canal obturation. The methodology included 15 human mandibular premolars with a single root were prepared by removed a crown below a cemento-enamel junction and set a length from cutting point to root apex at 14mm using a NiTi rotary file ProTaper Next Size X3 (30/07) for mechanical instrumentation. The prepared teeth were randomly divided into three groups depending on types of sealer (n=5) and obturated root canals with a single cone technique with each sealer and after that collected obturated teeth in 100 humidity and at 37 degrees for one week for the complete setting of sealers. A tooth was cut transversely at level of 3-8mm from root apex then examined each sample under x45 stereomicroscope and x100 and x1000 SEM for selecting and measuring a maximum width between both levels of root canal walls and sealers in a micrometer unit. The results were as follows: the average width of the gaps in middle level of the canal wall of AH Plus Jet sealer group was 7.076 ± 0.476 µm. The Endosequence BC Sealer group was 3.169 ± 0.736 µm and the Endoseal MTA group was 3.13 ± 0.794 µm, while the apical level AH Plus Jet sealer group was 3.764 ± 0.277 µm, the Endosequence BC Sealer group was 3.153 ± 0.5 µm and Endoseal MTA group was 3.21 ± 0.87 µm. In conclusion, this study found the widest gap in the middle and apical aspect of canal wall in AH Plus Jet group. However, a statistical analysis of this study showed a large range of SD data. In the future, additional similar studies may be conducted with increased sample sizes. วัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบความกว้างของช่องว่างที่เกิดขึ้นระหว่างผนังคลองรากฟันส่วนปลายและส่วนกลางและซีลเลอร์จำนวน 3 ชนิด ได้แก่ เอเอชพลัสเจ็ทซีลเลอร์ เอ็นโดซีเควนท์บีซีซีลเลอร์ และเอ็นโดซีลเอ็มทีเอซีลเลอร์ เมื่อทำการอุดคลองรากฟันด้วยเทคนิคกัตตาเปอร์ชาแท่งเดียว วัสดุอุปกรณ์และวิธีการ เตรียมฟันกรามน้อยล่างมนุษย์ 1 คลองรากฟันจำนวน 15 ซี่ (N = 15; n = 5) ตัดส่วนตัวฟันออกใต้ตำแหน่งรอยต่อเคลือบรากฟันกับเคลือบฟัน กำหนดให้ฟันที่ถูกเตรียมมีความยาวในการทำงานเท่ากับ 14 มิลลิเมตร ขยายและตกแต่งรูปร่างคลองรากฟันด้วยเครื่องมือโพรเทปเปอร์ เน็กซ์ เบอร์ เอ็กซ์ 3 ที่มีขนาดเท่ากับ 30/07 แบ่งกลุ่มการทดลองอย่างสุ่มออกเป็น 3 กลุ่ม ตามชนิดของซีลเลอร์ ทำการอุดคลองรากฟันด้วยเทคนิคกัตตาเปอร์ชาแท่งเดียว เก็บฟันที่ได้รับการอุดคลองรากฟันไว้ภายใต้ความชื้นสัมพัทธ์ร้อยละ 100 อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 2 สัปดาห์ จากนั้นทำฟันมาตัดแนวขวางที่ระยะ 3 และ 8 มิลลิเมตรจากปลายรากฟัน นำชิ้นตัวอย่างไปตรวจสอบภายใต้กล้องจุลทรรศน์สเตอริโอกำลังขยาย 45 เท่าและภายใต้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนชนิดส่องกราดกำลังขยาย 100 และ 1000 เท่า เพื่อคัดเลือกตำแหน่งที่มีความกว้างของช่องว่างระหว่างผนังคลองรากฟันและซีลเลอร์ที่กว้างที่สุด ทำการถ่ายภาพ เพื่อนำมาวัดความกว้างด้วยโปรแกรมอิมเมจเจ และบันทึกค่าเฉลี่ยที่ได้ในหน่วยไมโครเมตร ผลการศึกษา บริเวณคลองรากฟันส่วนกลาง ค่าเฉลี่ยความกว้างของช่องว่างที่เกิดขึ้นในกลุ่มเอเอชพลัสเจ็ทซีลเลอร์มีค่าเท่ากับ 7.076 ± 0.476 ไมโครเมตร เอ็นโดซีเควนท์บีซีซีลเลอร์มีค่าเท่ากับ 3.169 ± 0.736 และเอ็นโดซีลเอ็มทีเอมีค่าเท่ากับ 3.13 ± 0.794 ไมโครเมตร ตำแหน่งคลองรากฟันส่วนปลาย ค่าเฉลี่ยความกว้างในกลุ่มเอเอชพลัสเจ็ทซีลเลอร์มีค่าเท่ากับ 3.764 ± 0.277 เอ็นโดซีเควนท์บีซีซีลเลอร์มีค่าเท่ากับ 3.153 ± 0.5 และเอ็นโดซีลเอ็มทีเอมีค่าเท่ากับ 3.21 ± 0.87 ไมโครเมตร สรุป จากการศึกษานี้ ที่ตำแหน่งผนังคลองรากฟันส่วนกลางและส่วนปลาย ช่องว่างที่เกิดขึ้นจากการอุดคลองรากฟันด้วยเทคนิคกัตตาเปอร์ชาแท่งเดียวร่วมกับเอเอชพลัสเจ็ทซีลเลอร์มีค่าเฉลี่ยความกว้างที่มากที่สุดและจากการวิเคราะห์ทางสถิติพบว่าข้อมูลเฉลี่ยความกว้างของช่องว่างที่ได้จากการศึกษาในครั้งนี้ มีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานในช่วงที่กว้าง ในอนาคตอาจจำเป็นต้องมีการศึกษาที่คล้ายคลึงกันเพิ่มเติมในกลุ่มตัวอย่างที่มีจำนวนมากขึ้น |
URI: | http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2928 |
Appears in Collections: | Faculty of Dentistry |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
gs631110041.pdf | 1.91 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.