Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2909
Title: MUSIC IDENTITY OF JENPOB JOBKRABUANWAN BY LUNG TUNG SONG.
อัตลักษณ์ทางดนตรีของ อาจารย์เจนภพ จบกระบวนวรรณ ผ่านบทเพลงลูกทุ่ง
Authors: CHAYANAN CHAISAART
ชญานันท์ ไชยสอาด
Tepika Rodsakan
เทพิกา รอดสการ
Srinakharinwirot University
Tepika Rodsakan
เทพิกา รอดสการ
tepika@swu.ac.th
tepika@swu.ac.th
Keywords: อัตลักษณ์, สัญวิทยา, มายาคติ, เจนภพ จบกระบวนวรรณ
Identity Semiology Mythologies Jenpob Jobkrabuanwan
Issue Date:  24
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: The objective of this research is twofold: (1) to study the musical identity of Jenpob Jopkrabuanwan through Thai country songs; and (2) to examine the reflection of ideologies in the country songs by Jenpob Jopkrabuanwan, a total of 13 songs composed between 1995-1997. This qualitative research utilizes data from documents and interviews with experts in the country music. The findings revealed the following: (1) the musical identity of Jenpob Jopkrabuanwan encompassed his roles as a writer, radio host, singer-songwriter, musician, and social advocate, contributing to the formation of cultural identity within society and fostering creativity in musical techniques such as vocal manipulation, emotional expression, and poetic styles through folk song composition methods, wordplay, and figure of speech; and (2) the reflection of ideologies in country songs by Jenpob Jopkrabuanwan encompasses various aspects including money, professions and social classes, belief in fate and karma, the preference for English language usage in Thai society, patriotism, political power, and patriarchy. The objectives illustrate that his musical identity is influenced by various factors, including changing roles throughout life, which impact the process of music identity formation and its portrayal in music literature that reflects the ideologies. The entire body of work elevates Jenpob Jopkrabuanwan as a prominent figure in Thai country music.
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาอัตลักษณ์ทางดนตรีของ อาจารย์เจนภพ จบกระบวนวรรณ ผ่านบทเพลงลูกทุ่ง 2) ศึกษาภาพสะท้อนมายาคติในบทเพลงลูกทุ่งของอาจารย์เจนภพ จบกระบวนวรรณ จำนวน 13 บทเพลง โดยเป็นบทเพลงที่ประพันธ์ในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2538-2540 การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาข้อมูลจากเอกสารและการสัมภาษณ์กลุ่มผู้ให้ข้อมูลที่มีความเชี่ยวชาญด้านเพลงลูกทุ่งผลการวิจัยพบว่า 1) อัตลักษณ์ทางดนตรีของอาจารย์เจนภพ จบกระบวนวรรณ อันประกอบไปด้วย บทบาทการเป็นนักเขียน บทบาทการเป็นนักจัดรายการวิทยุ บทบาทการเป็นนักร้องและนักประพันธ์ บทบาททางดนตรี และบทบาทในการช่วยเหลือสังคมตามลำดับ ซึ่งบทบาททั้งหมดได้ส่งผลต่อกระบวนการสร้างอัตลักษณ์โดยการซึมซับวัฒนธรรมทางดนตรีต่อสังคมที่เป็นอยู่ ทั้งสิ่งแวดล้อมและบุคคลรอบข้าง ส่งผลให้เกิดการสร้างสรรค์คุณลักษณะทางดนตรีทั้งเทคนิคการขับร้องแบบใช้ลูกคอ การถ่ายทอดอารมณ์เพลง รวมถึงรูปแบบวรรณกรรมในบทเพลงด้วยวิธีการประพันธ์เพลงแบบกลอนตลาด การใช้ศิลปะการเล่นคำ และศิลปะการใช้ภาพพจน์ในบทเพลง 2) ภาพสะท้อนมายาคติในบทเพลงลูกทุ่งของอาจารย์เจนภพ จบกระบวรวรรณ พบว่าสะท้อนในด้านต่าง ๆ ดังนี้ มายาคติว่าด้วยเรื่องเงินตรา มายาคติว่าด้วยเรื่องอาชีพและชนชั้นทางสังคม มายาคติว่าด้วยเรื่องความเชื่อเรื่องเวรกรรม มายาคติค่านิยมเรื่องการใช้ภาษาอังกฤษในสังคมไทย มายาคติว่าด้วยเรื่องความรักชาติ มายาคติว่าด้วยเรื่องอำนาจทางการ และมายาคติว่าด้วยเรื่องชายเป็นใหญ่  จากวัตถุประสงค์ข้างต้นแสดงให้เห็นว่าอัตลักษณ์ทางดนตรีของอาจารย์เจนภพ จบกระบวนวรรณ นั้นมีเหตุหลายปัจจัยเข้ามาเกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นบทบาทในชีวิตที่เปลี่ยนไปตามช่วงเวลา ส่งผลต่อกระบวนการสร้างอัตลักษณ์ทางดนตรี และถ่ายทอดออกมาในรูปแบบดนตรี วรรณกรรมเพลงที่สะท้อนภาพมายาคติ ผลงานทั้งหมดทำให้อาจารย์เจนภพ จบกระบวนวรรณ ถูกยกย่องว่าเป็นปูชนียบุคคลทางด้านเพลงลูกทุ่งของวงการลูกทุ่งไทยในปัจจุบัน
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2909
Appears in Collections:Faculty of Fine Arts

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs631150140.pdf19.33 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.