Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2901
Title: DEVELOPING COMPUTER-ASSISTED INSTRUCTION FOLLOWING THE GAGNE APPROACH FOR GRADE 6 STUDENTS: A CASE STUDY IN DRAMATIC ARTS SUBJECT
การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนตามแนวคิดกาเย่ ในรายวิชานาฏศิลป์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
Authors: PAPATSARA WANNAWONG
ปภัสรา วรรณวงษ์
Sureerat Chenpong
สุรีรัตน์ จีนพงษ์
Srinakharinwirot University
Sureerat Chenpong
สุรีรัตน์ จีนพงษ์
sureeratc@swu.ac.th
sureeratc@swu.ac.th
Keywords: บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
นาฏศิลป์
การวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
Computer-Assisted Instruction (CAI)
Dramatic Arts
Achievement tests
Issue Date:  24
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: The purposes of this study are to develop and efficiently identify computer-assisted instruction in dramatic arts subject for Grade Six students. To compare academic achievement before and after studying dramatic arts using computer-assisted instruction and to study student satisfaction with computer-assisted instruction in the dramatic arts subject. The sample group used in this research included 12 grade Grade Six at Thai Christian Sapan Luang School, academic year 2023, by using purposive sampling. The research instruments used were as follows: (1) computer-assisted instruction in dramatic arts; (2) achievement test for dramatic arts subjects; (3) student satisfaction questionnaire with computer-assisted instruction teaching of dramatic arts. Statistics used in data analysis include mean, standard deviation (SD), to test the effectiveness of the lesson using the E1/E2 formula and the Wilcoxon Matched Pairs Signed Ranks Test. The research results found the following: (1) efficiency of dramatic arts learning with computer-assisted instruction using the Gagne concept for Grade Six students, an efficiency value equal to 81/80, and in line with the 80/80 criteria set forth; (2) academic achievement in dramatic arts subject using computer-assisted instruction for Grade Six, the post-test was significantly higher than pre-test at the .01 level, consistent with the research hypotheses; and (3) the results of the study of the satisfaction of the students with computer-assisted instruction of dramatic arts, using the concept of Gagne for Grade Six students, and satisfaction was found to be at the highest level (mean = 4.51, S.D. = 0.50).
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนรายวิชานาฏศิลป์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนรายวิชานาฏศิลป์โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนรายวิชานาฏศิลป์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนไทยคริสเตียนสะพานเหลือง ปีการศึกษา 2566 จำนวน 12 คน ด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1)บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนรายวิชานาฏศิลป์ 2)แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชานาฏศิลป์ 3)แบบสอบความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนรายวิชานาฏศิลป์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) ทดสอบประสิทธิภาพของบทเรียนโดยใช้สูตร E1/E2 และการทดสอบสมมติฐาน The Wilcoxon Matched Pairs Signed Ranks Test ผลการวิจัยพบว่า 1)ประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนโดยใช้แนวคิดกาเย่ รายวิชานาฏศิลป์ สำหรับเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 81/80 เป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้ 2)ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชานาฏศิลป์โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สอดคล้องกับสมมติฐานการวิจัยที่กำหนดไว้ 3)ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนโดยใช้แนวคิดกาเย่ รายวิชานาฏศิลป์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่าโดยรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด  (ค่าเฉลี่ย = 4.51, S.D. = 0.50)
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2901
Appears in Collections:Faculty of Fine Arts

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs631130214.pdf4.34 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.