Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2876
Title: | STUDY GUIDELINES FOR RECOVERY OF LEARNING LOSS FOR SECONDARY SCHOOL STUDENTS AFTER THE EPIDEMIC OF CORONAVIRUS DISEASE 2019 (COVID-19) IN THE NEXT NORMAL SITUATION การศึกษาแนวทางเพื่อฟื้นฟูภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในภาวะปกติถัดไป |
Authors: | RAJIT PUMPRUEK รจิต พุ่มพฤกษ์ Taweesil Koolnaphadol ทวีศิลป์ กุลนภาดล Srinakharinwirot University Taweesil Koolnaphadol ทวีศิลป์ กุลนภาดล taweesil@swu.ac.th taweesil@swu.ac.th |
Keywords: | แนวทางการฟื้นฟู ภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ภาวะปกติถัดไป Study guidelines Recovery of learning loss COVID-19 Next normal |
Issue Date: | 24 |
Publisher: | Srinakharinwirot University |
Abstract: | The objective of this qualitative research is to investigate the causes and effects of learning retardation and to study guidelines for recovery from learning loss. To minimize the impact of the post-proliferation of COVID-19 in the next normal age, the researchers used an in-depth interview with key performers, the school administrators, teachers, and educational staff, and parents, with a total of 15 people involved. The researchers utilized the method of selective sampling and interviewed the data provider until data saturation was obtained. The effective management of schools and coordination of cooperation with parents and agencies, promotion, assistance, and care from the state department, such as promoting and supporting teachers to be ready to manage learning. The factor of course adjustment and curriculum management in the development of learning skills, and mental, emotional, and social physical development, as well as the adjustment of student measurement and evaluation to be more flexible. Another factor is media development, teaching management, innovation, and educational technology, and promotion, support, and parental care. Based on the results of the post-secondary school students' learning retardation research, the COVID-19 outbreak situation in a subsequent normal state can be applied to reduce the impact of post-COVID-19 outbreaks and can be used in future solution planning. งานวิจัยคุณภาพ (Qualitative Research) นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพื่อศึกษาสาเหตุของปัญหาและผลกระทบของภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ของผู้เรียน และศึกษาแนวทางการแก้ปัญหาภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ เพื่อลดผลกระทบที่เกิดขึ้นในช่วงหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในยุคปกติถัดไป ผู้วิจัยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) เป็นรายบุคคลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key performers) คือ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งสิ้น 15 คน ผู้วิจัยใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ทั้งนี้ผู้วิจัยสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลจนกว่าจะได้ข้อมูลที่อิ่มตัว (Data saturation) ซึ่งไม่ค้นพบข้อมูลใหม่หรือไม่มีข้อสงสัยเกิดขึ้น ผลการวิจัยแนวทางการฟื้นฟูภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ ได้ดังนี้ 1.การบริหารสถานศึกษาที่มีประสิทธิภาพ และการประสานความร่วมมือกับผู้ปกครอง และหน่วยงานต่าง ๆ การส่งเสริม ช่วยเหลือ ดูแลจากหน่วยงานภาครัฐ 2. การส่งเสริม และสนับสนุนครูผู้สอนให้มีความพร้อมในการจัดการเรียนรู้3. การปรับหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนในการพัฒนาด้านทักษะการเรียนรู้ พัฒนาการทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์และสังคม 4. การปรับการวัดและประเมินผลผู้เรียนให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น 5. การพัฒนาสื่อ รูปแบบการจัดการเรียนการสอน นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา และ 6. การส่งเสริม สนับสนุน และดูแลช่วยเหลือจากผู้ปกครอง จากผลการวิจัยแนวทางการฟื้นฟูภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในภาวะปกติถัดไปสามารถนำแนวทางการแก้ปัญหาภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ไปใช้ดำเนินการเพื่อลดผลกระทบที่เกิดขึ้นในช่วงหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 และสามารถนำไปใช้ในการวางแผนการแก้ไขปัญหาในอนาคตได้ |
URI: | http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2876 |
Appears in Collections: | Faculty of Education |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
gs651160118.pdf | 4.14 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.