Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2789
Title: | DEVELOPMENT OF HEALTH EDUCATION LEARNING MANAGEMENT MODEL BY USING LOVE MODEL AND SELF-REGULATION CONCEPT FOR ENHANCINGSELF- HEALTH CARE BEHAVIORS AND CRITICAL THINKING OF GRADE 5 STUDENTS การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้สุขศึกษาโดยใช้โมเดลเลิฟกับแนวคิดการกำกับตนเองเพื่อสร้างเสริมพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของตนเองและการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 |
Authors: | SOMPRASONG MONTONPHLIN สมประสงค์ มณฑลผลิน Singha Chankhaw สิงหา จันทน์ขาว Srinakharinwirot University Singha Chankhaw สิงหา จันทน์ขาว singhac@swu.ac.th singhac@swu.ac.th |
Keywords: | การจัดการเรียนรู้สุขศึกษา โมเดลเลิฟ ทฤษฎีการกำกับตนเอง พฤติกรรมสุขภาพ นักเรียนประถมศึกษา Health education learning management LOVE Model Self-Regulation theory Health care behaviors Elementary school students |
Issue Date: | 24 |
Publisher: | Srinakharinwirot University |
Abstract: | The aims of this research are as follows: (1) to study and develop a health education learning model using the LOVE model, with the concept of self-regulation and critical thinking for Grade Five students; and (2) to study conditions, problems, needs, and suggestions. Health education learning promotes the behavior of taking care of their health and critical thinking of Grade Five students; (3) to develop a health education learning model; and (4) to study the results of using this format. This research is developmental research and had a research scope of three phases as follows: Phase 1: a study of the conditions, problems, needs, and suggestions to develop a health education learning model using the LOVE model with the concepts of self-regulation and critical thinking. The results of the study found that in Phase 1, in terms of students, found that the conditions for organizing health education teaching and learning by teachers were at a high level (M=2.74), problems in organizing health education teaching were at a high level (M=3.43), and the need for health education was at a high level (M= 3.51). It was found that there were problems in organizing teaching and learning at a high level (M= 3.26) and a need for organizing teaching and learning about health education at a high level (M= 3.17) for educational institution administrators. There were problems in organizing health education teaching and learning (M= 3.26) and a need for organizing health education teaching and learning at a high level (M= 3.17). Phase 2 developed a learning management model using the LOVE model and self-regulation. After the experiment, the experimental group had an average score in health care behavior. Knowledge, attitude, practice, and critical thinking of scores were higher than before the experiment and was significantly higher than the control group at the .05 level. The efficiency of the format was 85.53/91.88, higher than the specified criteria of 80/80. Overall, the students in the experimental group were satisfied with the format. Therefore, this developed model was efficient and effective to promote health care behavior. การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.ศึกษาและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้สุขศึกษาโดยใช้โมเดลเลิฟกับแนวคิดการกำกับตนเองและการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2.ศึกษา สภาพ ปัญหา ความต้องการ และข้อเสนอแนะ ในการจัดการเรียนรู้สุขศึกษาเพื่อสร้างเสริมพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของตนเองและการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 3.เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้สุขศึกษาและ 4. ศึกษาผลของการใช้รูปแบบการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพัฒนา (Developmental Research) มีขอบเขตการวิจัย 3 ระยะดังนี้ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพ ปัญหา ความต้องการ และข้อเสนอแนะในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้สุขศึกษาโดยใช้โมเดลเลิฟกับแนวคิดการกำกับตนเองและการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้สุขศึกษาโดยใช้โมเดลเลิฟกับแนวคิดการกำกับตนเองเพื่อสร้างเสริมพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของตนเองและการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และระยะที่ 3 การทดลองใช้และประเมิน และระยะที่ 3 การทดลองใช้และประเมินรูปแบบ โดยในระยะที่ 3 เป็นรูปแบบการเป็นการวิจัย กึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Research) ชนิดวัดสองกลุ่ม ก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 90 คน จำแนกเป็นกลุ่มทดลองและนักเรียนกลุ่มควบคุม 45 คน เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้สุขศึกษาโดยใช้โมเดลเลิฟกับแนวคิดการกำกับตนเอง เพื่อสร้างเสริมพฤติกรรมการดูแลสุขภาพและการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 แบบประเมินพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ ความรู้ เจตคติ การปฎิบัติ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และแบบประเมินความพึงพอใจ ดำเนินการทดลองจำนวน 8 ครั้ง ๆละ 50 นาที วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน paired t-test และ independent t-test ผลการศึกษาพบว่า ในระยะที่1 ด้านนักเรียน พบว่า สภาพการจัดการเรียนการสอนสุขศึกษาของครูอยู่ในระดับมาก(M=2.74 ) มีปัญหาต่อจัดการเรียนการสอนสุขศึกษาอยู่ในระดับมาก (M=3.43 ) และความต้องการการจัดการเรียนการสอนสุขศึกษาอยู่ในระดับมาก (M= 3.51) ด้านครูผู้สอนรายวิชาสุขศึกษา พบว่ามีปัญหาทางด้านจัดการเรียนการสอนอยู่ในระดับ (M= 3.26) และมีความต้องการการจัดการเรียนการสอนสุขศึกษาอยู่ในระดับมาก (M= 3.17) ในด้านของผู้บริหารสถานศึกษา พบว่ามีปัญหาทางด้านจัดการเรียนการสอนสุขศึกษาอยู่ในระดับ (M= 3.26) และมีความต้องการการจัดการเรียนการสอนสุขศึกษาอยู่ในระดับมาก (M= 3.17) ระยะที่ 2 จากการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้โมเดลเลิฟกับแนวคิดการกำกับตนเอง มีความถูกต้อง เหมาะสม และเป็นไปได้ที่จะสร้างเสริมพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของตนเองและคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่5 ที่ ระยะที่ 3 หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยด้านพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ ความรู้ เจตคติ การปฏิบัติ และการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของคะแนนสูงกว่าก่อนการทดลอง และสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ประสิทธิภาพของรูปแบบ ค่าเท่ากับ 85.53/91.88 ซึ่งมีค่าสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80 โดยรวมแล้ว นักเรียนกลุ่มทดลองมีความพึงพอใจมากที่สุดต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้สุขศึกษาโมเดลเลิฟกับแนวคิดการกำกับตนเอง เพื่อสร้างเสริมพฤติกรรมการดูแลสุขภาพและการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่5 ดังนั้น รูปแบบที่พัฒนาขึ้นนี้จึงมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เพื่อสร้างเสริมพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ อันส่งผลต่อการมีพฤติกรรมสุขภาพให้ดีขึ้นและสามารถนำไปประยุกต์ในการดำเนินชีวิตได้ |
URI: | http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2789 |
Appears in Collections: | Faculty of Physical Education |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
gs611150051.pdf | 9.73 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.