Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2775
Title: | THE STUDY OF KEY SUCCESS FACTORS AFFECTING AGRI-TOURISM POLICY IMPLEMENTATION IN THAILAND การศึกษาปัจจัยความสำเร็จของการดำเนินนโยบายการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในประเทศไทย |
Authors: | SIRIRADA KONGJEERA สิริรดา คงจีระ Roostum Vansu รุสตั้ม หวันสู Srinakharinwirot University Roostum Vansu รุสตั้ม หวันสู roostum@swu.ac.th roostum@swu.ac.th |
Keywords: | ปัจจัยความสำเร็จ การนำนโยบายไปปฏิบัติ การท่องเที่ยวเชิงเกษตร Key success factors Policy implementation Agri-Tourism |
Issue Date: | 24 |
Publisher: | Srinakharinwirot University |
Abstract: | The objectives of this research are follows: (1) to study the factors that influenced the success in driving agricultural tourism promotion policies in the past; (2) to analyze the challenging factors for success and forecasting policy directions for agricultural tourism using qualitative research and document research. The documents used for data collection and analysis included document analysis and in-depth interviews. The main informants were government agencies, including representatives from the Ministry of Agriculture and Cooperatives, the Ministry of Tourism and Sports, and the Tourism Authority of Thailand (TAT); as well as the private sector, consisting of representatives from community enterprise groups and tourism entrepreneurs. The study found the following: (1) the success of driving agricultural tourism promotion policies in the past, in terms of supportive factors, including clear objectives of the policy, collaboration between government agencies and the private sector, sufficient and knowledgeable staff, clearly defined missions of assigned organizations, the utilization of technology, increased interest from the public and political support. As for obstacle factors in the past are lack of clear project evaluation, policies focusing more on tourism promotion rather than agriculture, budget allocation and weather/climate change; (2) for future success in driving agricultural tourism promotion policies have a continuous increase in popularity, networking and collaboration and Increased application of technology. The challenges for the future include limitations in policy development, agricultural knowledge of farmers, lack of direct responsibility of organizations in agricultural tourism, capacity to accommodate tourists in the area, duration of political support, and investors seeking profit from agricultural areas, in terms of weather, climate change and technology. การวิจัยฉบับนี้นี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการขับเคลื่อนนโยบายการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในอดีต และ (2) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยท้าทายความสำเร็จเพื่อการพยากรณ์แนวทางการดำเนินนโยบายด้านการท่องเที่ยวเชิงเกษตรโดยมีผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ 1.หน่วยงานภาครัฐ ประกอบด้วย ผู้แทนจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผู้แทนจากกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และผู้แทนจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) 2.ภาคเอกชน ประกอบด้วย ตัวแทนจากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนและตัวแทนจากผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยว โดยผู้วิจัยใช้การศึกษาวิเคราะห์จากเอกสารและแบบสัมภาษณ์เชิงลึก และทำการวิเคราะห์โดยทำการตีความและวิเคราะห์จากเนื้อหา (Content Analysis) และวิธีการอธิบายเชิงพรรณนา (Descriptive research) เพื่อนำมาสรุปผลการศึกษาเพื่อเป็นประโยชน์ต่อไป ผลการศึกษาพบว่า (1) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการขับเคลื่อนนโยบายการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในอดีต มีปัจจัยสนับสนุน ได้แก่ วัตถุประสงค์ของนโยบาย, หน่วยงานราชการและเอกชนมีการบูรณาการร่วมกัน, บุคลากรเพียงพอและมีองค์ความรู้, ภารกิจของหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายมีความชัดเจน, การนำเทคโนโลยีมาใช้ประโยชน์, ประชาชนให้ความสนใจมากขึ้น และการสนับสนุนจากฝ่ายการเมือง มีปัจจัยอุปสรรคในอดีต ได้แก่ การวัดผลโครงการยังไม่มีความชัดเจน, นโยบายเน้นส่งเสริมด้านการท่องเที่ยวมากกว่าด้านการเกษตร, การจัดสรรงบประมาณ และสภาพอากาศร้อน (2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการขับเคลื่อนนโยบายการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในอนาคตในด้านปัจจัยสนับสนุน ได้แก่ กระแสความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง, เกิดเครือข่ายและมีการบูรณาการร่วมกัน และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพิ่มมากขึ้น และอุปสรรคที่ท้าทายในอนาคต ได้แก่ ข้อจำกัดของการจัดทำนโยบาย, องค์ความรู้ของเกษตรกร, การไม่มีหน่วยงานรับผิดชอบหลักในด้านของการท่องเที่ยวเชิงเกษตรโดยตรง, ความสามารถในการรองรับนักท่องเที่ยวของพื้นที่, วาระการสนับสนุนจากฝ่ายการเมือง, นายทุนแสวงหาผลกำไรจากพื้นที่ของเกษตรกร, สภาพอากาศ/ภาวะโลกร้อน และเทคโนโลยี |
URI: | http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2775 |
Appears in Collections: | Faculty of Social Sciences |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
gs631130564.pdf | 1.81 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.