Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2633
Title: THE DEVELOPMENT OF A GUIDED INQUIRY-BASED  ACTIVITY PACKAGE  FOR PROMOTING THE INTEGRATED SCIENCE PROCESS SKILLS AND SCIENTIFIC REASONING OF GRADE  FIVE STUDENTS
การพัฒนาชุดกิจกรรมที่เน้นการสืบเสาะแบบแนะแนวทาง เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการ และการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
Authors: SURATTANA WONGPUI
สุรัตนา วงศ์ปุ๋ย
Suthawan Harnkajornsuk
สุธาวัลย์ หาญขจรสุข
Srinakharinwirot University
Suthawan Harnkajornsuk
สุธาวัลย์ หาญขจรสุข
suthawan@swu.ac.th
suthawan@swu.ac.th
Keywords: ชุดกิจกรรมการเรียนรู้
การสืบเสาะแบบแนะแนวทาง
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
การให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์
Activity package
Guided inquiry
Science process skills
Scientific reasoning
Issue Date:  15
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract:   The objectives of this research article areas follows: (1) to develop the Guided Inquiry-Based Activity Pack for promoting science process skills, scientific reasoning, and the learning achievement of Prathomsuksa Five students; and (2) to study the results of using the activity package. The sample group were 46 Prathomsuksa Five students at a private school in Bangkok through cluster random sampling. The pre-experimental research was used in this research. The Inquiry-Based Activity Package included a booklet for teachers and students, five lesson plans about “Change of Substance” concept and tests. The statistics used in the study were percentage, the mean and standard deviation, a t-test for the dependent sample and a t-test for One-Sample was used in hypothesis testing. The results revealed the following: (1) all components of the developed Inquiry-Based Activity Package were of high quality and based on the assessment of the experts at the most appropriate level; (2) the science process skills, scientific reasoning, and learning achievement mean scores of the students, overall and each component, after implementing the activity package were higher than the ability before implementation with a statistical significance of .01. When compared to the scores after implementing the activity set with the criteria at 70%, only the science achievement scores passed the criteria with statistical significance at a .01 level, while the science process skills and scientific reasoning scores of the students were less than the determined criteria with a statistical significance of .01.
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดกิจกรรมที่เน้นการสืบเสาะแบบแนะแนวทางเพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์  และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 2) ศึกษาผลการใช้ชุดกิจกรรมที่เน้นการสืบเสาะแบบแนะแนวทาง  กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  โรงเรียนเอกชนในกรุงเทพมหนานคร จำนวน 46 คน ที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบการทดลองขั้นต้น (Pre-Experiment Design) ชุดกิจกรรมที่เน้นการสืบเสาะแบบแนะแนวทางนี้ประกอบด้วยชุดกิจกรรมสำหรับครูและสำหรับนักเรียน แผนการจัดการเรียนรู้จำนวน 5 แผน ที่เน้นการสืบเสาะแบบแนะแนวทาง และแบบทดสอบเรื่องการเปลี่ยนแปลงของสาร สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วย t-test for Dependent Sample และ t-test for One-Sample ผลการวิจัยพบว่า 1) ชุดกิจกรรมที่เน้นการสืบเสาะแบบแนะแนวทางที่พัฒนาขึ้นมีคุณภาพผ่านเกณฑ์ประเมินจากผู้เชี่ยวชาญในระดับเหมาะสมมากที่สุด 2) นักเรียนมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์  การให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ และคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนโดยรวมและรายด้าน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  และเมื่อเทียบกับเกณฑ์ที่ร้อยละ 70 มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  ส่วนคะแนนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์  และการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ของนักเรียนหลังการใช้ชุดกิจกรรมต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2633
Appears in Collections:Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs631130292.pdf11.78 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.