Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2632
Title: | THE EFFECTS OF COOPERATIVE LEARNING MANAGEMENTWITH QUESTIONING TECHNIQUES ON SCIENTIFIC EXPLANATIONAND TEAMWORK OF FIFTH GRADE STUDENTS ผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับเทคนิคการตั้งคำถามที่มีผลต่อการอธิบายทางวิทยาศาสตร์และการทำงานเป็นทีมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 |
Authors: | PRAPAPHAN VISETSUWANNAWAT ประภาพรรณ วิเศษสุวรรณวัต Wanphen Pratoomtong วันเพ็ญ ประทุมทอง Srinakharinwirot University Wanphen Pratoomtong วันเพ็ญ ประทุมทอง wanphenp@swu.ac.th wanphenp@swu.ac.th |
Keywords: | การเรียนรู้แบบร่วมมือ , เทคนิคการตั้งคำถาม , ความสามารถในการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ , ความสามารถในการทำงานเป็นทีม Cooperative learning Questioning techniques Scientific explanation Teamwork ability |
Issue Date: | 15 |
Publisher: | Srinakharinwirot University |
Abstract: | The purposes of this research are as follows: (1) to compare the pretest and posttest results involving scientific learning achievement and scientific explanation abilities of students who received cooperative learning management with questioning techniques; (2) to compare scientific learning achievement, scientific explanation abilities, and teamwork abilities among students who received cooperative learning management with questioning techniques and traditional teaching methods; and (3) to compare the development of the teamwork abilities of students that had cooperative learning management with questioning techniques. The research designs were Control Group Pretest – Posttest Design and One-Group Repeated Measures Design.The samples of the research were fifth-grade students in the first semester of the 2022 academic year at St. Gabriel's School.They were obtained by cluster random sampling. One classroom was designed as the experimental group (46 students) which was taught by cooperative learning management with questioning technique and the other one was designed as the control group (46 students) taught by traditional teaching methods. The research instruments consisted of the following: (1) lesson plans; (2) a scientific learning achievement test; (3) a scientific explanation test; and (4) a teamwork abilities assessment. The hypotheses were tested by a t-test for Dependent samples, t-test for Independent samples and One-Way ANOVA Repeated Measures. The results of research were as follows: (1) students who received cooperative learning management with questioning techniques had scientific learning achievement and scientific explanation abilities that were higher than before the instruction at a .05 level of significance; (2) students who received cooperative learning management with questioning techniques had scientific learning achievement, scientific explanation abilities and teamwork abilities that were higher than students who received the traditional teaching method at a .05 level of significance; and (3) students who received cooperative learning with questioning techniques developed teamwork abilities at a .05 level of significance. การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ ความสามารถในการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ก่อนและหลังเรียนของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับเทคนิคการตั้งคำถาม 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ ความสามารถในการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ และความสามารถในการทำงานเป็นทีมของนักเรียนที่รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับเทคนิคการตั้งคำถามและได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ และ3) เพื่อเปรียบเทียบพัฒนาการความสามารถในการทำงานเป็นทีมของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับเทคนิคการตั้งคำถาม แบบแผนที่ใช้ในการวิจัยคือแบบแผนการทดลองแบบกลุ่มทดลอง – กลุ่มควบคุมทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน และแบบแผนการทดลองกลุ่มเดียวแบบวัดซ้ำ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนเซนต์คาเบรียล ซึ่งได้จากการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 1 ห้อง จำนวน 46 คน ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับเทคนิคการตั้งคำถาม และกลุ่มควบคุม 1 ห้อง จำนวน 46 คน ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ เครื่องมือที่ใช้ ในงานวิจัยคือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ 3) แบบวัดความสามารถในการอธิบาย ทางวิทยาศาสตร์ และ 4) แบบประเมินความสามารถในการทำงานเป็นทีม สถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐานคือการทดสอบที ( t-test for Dependent Samples และ t-test for Independent Samples ) และวิเคราะห์ความแปรปรวนซ้ำ (One way ANOVA Repeated Measures) ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับเทคนิคการตั้งคำถามมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ และความสามารถในการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับเทคนิคการตั้งคำถามมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ ความสามารถในการอธิบายทางวิทยศาสตร์และความสามารถในการทำงานเป็นทีมสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการเรียนรู้แบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ3) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับเทคนิคการตั้งคำถามมีพัฒนาการความสามารถในการทำงานเป็นทีมสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |
URI: | http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2632 |
Appears in Collections: | Faculty of Education |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
gs631130291.pdf | 11.16 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.