Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2612
Title: | AN ENHANCEMENT ON INTERPROFESSIONAL COLLABORATIVE COMPETENCIES
FOR NURSING STUDENTS OF FACULTY
OF NURSING IN PRABOROMARAJCHANOK INSTITUTE การเสริมสร้างสมรรถนะสหวิชาชีพของนักศึกษาพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก |
Authors: | YAOWARAT RUNGSAWANG เยาวรัตน์ รุ่งสว่าง Chatupol Yongsorn จตุพล ยงศร Srinakharinwirot University Chatupol Yongsorn จตุพล ยงศร chatupol@swu.ac.th chatupol@swu.ac.th |
Keywords: | การเสริมสร้างสมรรถนะ สมรรถนะสหวิชาชีพ นักศึกษาพยาบาล enhancing interprofessional competencies nursing students |
Issue Date: | 15 |
Publisher: | Srinakharinwirot University |
Abstract: | The aims of this research are as followes: (1) to study the components of interprofessional competencies of nursing students at the Faculty of Nursing in the Praboromarajchanok Institute; (2) to develop a training program to enhance the interprofessional competencies of nursing students at Faculty of Nursing in the Praboromarajchanok Institute; and (3) to examine the effectiveness of the training program to enhance the interprofessional competencies of nursing students at Faculty of Nursing in the Praboromarajchanok Institute. The participants included 14 experts interviewed about the components of interprofessional competencies. There were 565 samples studied in the components of interprofessional competencies. Seven experts were interviewed using a focus group and 30 samples were examined for the effectiveness of the activities. The research instruments included a semi-structured interview guideline, the components of interprofessional competency questionnaires with a reliability of 0.97, and a training program created by the researcher to enhance interprofessional competencies. The data were analyzed using frequency, percentage, mean, standard deviation, confirmatory factor analysis, and a t-test. The results found the following: (1) the second model of the confirmatory factor analysis was consistent with the empirical data. The five themes of interprofessional competency emerged, as follows: (1) learning and reflection (0.94); (2) teamwork and leadership (0.91); (3) interprofessional communication (0.89); (4) roles and responsibilities (0.88); and (5) ethics and shared values (0.62); (2) the training program experts reviewed was appropriate at a high level ( average = 4.40, S.D.= 0.45); (3) the mean of interprofessional competency after the experiment was higher than before at a significant level of 0.01. the overall mean score of behavior ( average = 4.41, S.D.= 0.65) and Self-Reflection ( average = 4.41, S.D.= 0.65) was good. The overall satisfaction mean score of the training was high ( average = 4.41, SD 0.65). 1)ศึกษาองค์ประกอบของสมรรถนะสหวิชาชีพของนักศึกษา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก 2) เพื่อพัฒนะชุดฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะสหวิชาชีพของนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก และ 3)เพื่อศึกษาประสิทธิผลของชุดฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะสหวิชาชีพของนักศึกษา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กลุ่มผู้ให้ข้อมูลและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิในการสัมภาษณ์เพื่อศึกษาองค์ประกอบสมรรถนะสหวิชาชีพ จำนวน14 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาองค์ประกอบฯ จำนวน 565 คน ผู้ทรงคุณวุฒิที่ใช้ในการสนทนากลุ่ม จำนวน 7 คน และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาประสิทธิผลของชุดฝึกอบรม จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง แบบสอบถามองค์ประกอบสมรรถนะสหวิชาชีพ โดยมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 และชุดฝึกอบรมที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัย พบว่า 1. โมเดลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สองมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยองค์ประกอบสมรรถนะสหวิชาชีพที่พบมี 5 ด้าน และมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบเรียงตามลำดับดังนี้ 1) ด้านการเรียนรู้และสะท้อนย้อนคิด (Learning and Reflection) (0.94) 2) ด้านการทำงานเป็นทีมและภาวะผู้นำ (Teamwork and Leadership) (0.91) 3) ด้านสื่อสารระหว่างสหวิชาชีพ (Interprofessional Communication) (0.89) 4) ด้านบทบาทและความรับผิดชอบ (Roles and Responsibilities) (0.88) และ 5) ด้านจริยธรรมและค่านิยมร่วมกัน (Ethics and Shared Values) (0.62) 2. ชุดฝึกอบรมที่ผ่านความเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( ค่าเฉลี่ย = 4.40, ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.45) 3. ค่าคะแนนเฉลี่ยสมรรถนะสหวิชาชีพหลังการฝึกอบรมสูงกว่าก่อนการฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ค่าคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรม ( ค่าเฉลี่ย =4.41, ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน.= 0.65) และการสะท้อนคิด ( ค่าเฉลี่ย =4.41,ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน.= 0.65) อยู่ในระดับดีและผู้เข้าอบรมมีค่าคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจต่อการฝึกอบรมโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( ค่าเฉลี่ย=4.41, ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน.= 0.65) |
URI: | http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2612 |
Appears in Collections: | Faculty of Education |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
gs621150005.pdf | 5.77 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.