Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2604
Title: ACTIVE CITIZENSHIP :  SCALES AND ENHANCING PROGRAMFOR SENIOR HIGH SCHOOL STUDENTS UNDER THE OFFICEOF THE BASIC EDUCATION COMMISSION
ความเป็นพลเมืองตื่นรู้ : แบบวัดและโปรแกรมสร้างเสริมสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
Authors: NALINEE JEENGOOL
นลินี จีนกูล
Manaathar Tulmethakaan
มนตา ตุลย์เมธาการ
Srinakharinwirot University
Manaathar Tulmethakaan
มนตา ตุลย์เมธาการ
ranida@swu.ac.th
ranida@swu.ac.th
Keywords: ความเป็นพลเมืองตื่นรู้
แบบวัดความเป็นพลเมืองตื่นรู้
โปรแกรมสร้างเสริมความเป็นพลเมืองตื่นรู้
คุณสมบัติการวัดทางจิตวิทยา
Active citizenship
Active citizenship scale
Enhancing program
Psychometric Property
Issue Date:  15
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: The purposes of this research were: (1) to study the behaviors of active citizenship among senior high school students; (2) to examine the psychometric properties of the active citizenship scale; (3) to develop an enhanced program on active citizenship; and (4) to evaluate program effectiveness. This research had three phases: The behavioral indicators were the active citizenship scale and psychometric properties. The key informants were five experts. The sample was 1,989 senior high school students at secondary schools in Bangkok. The research instrument was a behavioral interview form, an active citizenship scale, and the data were analyzed by content analysis. The research results were: (1) the active citizenship of high school students was democratic values, community and social life, collaborative democracy, and social change  with 32 indicators; (2) an active citizenship scale, and a situational scale with 40 items. The key informants were six teachers and 12 high school students. This program was evaluated by 15 experts. The research instruments were a user experience interview form and standard evaluation. The data were analyzed by content analysis, mean, and standard deviation. The research results were: (1) user experiences in eight areas: (1) learners practice; (2) learners participate in organized learning; (3) learning atmosphere; (4) learners practice advanced thinking; (5) learning in a variety of ways; (6) learning in real places; (7) social activities; and (8) periodic reflection. The enhancement program consisted of (1) background and importance; (2) principles; (3) program objectives; (4) theories, principles and concepts; (5) content structure; (6) methods of organizing activities; (7) measurement and evaluation; (8) definitions of specific terms; (9) guidelines for implementing the program; (10) qualifications of process leaders; (11) activity schedule; (12) learning activity plan; and (13) active citizenship scale; (2) overall quality was at the highest level. The effectiveness of the enhancement program was assessed. The key informants were six teachers and 60 high school students. The research instrument was a user experience interview, active citizenship scale, enhanced program and questionnaire. The research results were: (1) students in the experimental group participated in the enhanced program had active citizenship after the enhanced program higher than before the program at.05. The students in the experimental group who participated in the enhanced program had higher active citizenship than the students in the control group at .05, and the students in the experimental group were satisfied with the enhanced program at the highest level. Teachers and students in the user experience group agreed that the enhancement program developed active citizenship and to apply their learning experiences.
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายของการวิจัย ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาพฤติกรรมบ่งชี้ความเป็นพลเมืองตื่นรู้ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 2. เพื่อพัฒนาแบบวัดและตรวจสอบคุณสมบัติการวัดทางจิตวิทยาของแบบวัดความเป็นพลเมืองตื่นรู้ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 3. เพื่อพัฒนาโปรแกรมสร้างเสริมความเป็นพลเมืองตื่นรู้ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายโดยประยุกต์ใช้การวิจัยประสบการณ์ผู้ใช้ และ 4. เพื่อประเมินประสิทธิผลของโปรแกรมสร้างเสริมความเป็นพลเมืองตื่นรู้ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย การวิจัยและพัฒนาดำเนินการ แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ระยะที่ 1 ศึกษาพฤติกรรมบ่งชี้และพัฒนาแบบวัดความเป็นพลเมืองตื่นรู้ฯ และตรวจสอบคุณสมบัติการวัดทางจิตวิทยา ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน และกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานคร จำนวน 1,989 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์พฤติกรรมบ่งชี้ และแบบวัดความเป็นพลเมืองตื่นรู้ฯ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหา การวิเคราะห์ตามทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิมและทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบ และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ผลการวิจัยพบว่า (1) ความเป็นพลเมืองตื่นรู้ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย มี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ ค่านิยมวิถีประชาธิปไตย ชีวิตของชุมชนและสังคม การมีส่วนร่วมในวิถีความเป็นประชาธิปไตย และการเสนอแนวทางแก้ปัญหาเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงทางสังคม รวม 32 ตัวบ่งชี้ (2) แบบวัดความเป็นพลเมืองตื่นรู้ฯ เป็นแบบวัดเชิงสถานการณ์ จำนวน 40 ข้อ มีคุณภาพตามคุณสมบัติการวัดทางจิตวิทยา ดังนี้ มีค่าอำนาจจำแนก ตั้งแต่  0.263 ถึง 0.847 มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ  0.952 มีค่าพารามิเตอร์ความชัน (α) ระหว่าง 0.48 ถึง 1.90 ค่าพารามิเตอร์เทรชโฮลด์ (β) ระหว่าง -6.37 ถึง 3.49  ข้อคำถามส่วนใหญ่มีค่าฟังก์ชันสารสนเทศของข้อสอบที่แสดงถึงความแม่นยำในการประมาณค่า ที่ระดับความสามารถของผู้สอบ (θ) ในช่วง -1.6 ถึง 0.0 ค่าฟังก์ชันสารสนเทศของแบบวัดสามารถประมาณค่าได้แม่นยำในช่วงความสามารถของผู้สอบ (θ) -1.6 ถึง -0.4 แบบวัดมีความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างที่ได้จากการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สอง พบว่า โมเดลมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (ค่าไค-สแควร์  = 1161.62, df = 336 (p-value < .001), GFI = 0.965, AGFI = 0.945, RMR = 0.030, RMSEA = 0.035, CFI = 0.985) ระยะที่ 2 พัฒนาโปรแกรมสร้างเสริมความเป็นพลเมืองตื่นรู้ฯ โดยประยุกต์ใช้การวิจัยประสบการณ์ผู้ใช้ ผู้ให้ข้อมูลคือ ครู จำนวน 6 คน และนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 12 คน ผู้ประเมินคุณภาพโปรแกรมฯ คือ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ประสบการณ์ผู้ใช้ และแบบประเมินคุณภาพโปรแกรมฯตามเกณฑ์มาตรฐาน 5 ด้าน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า  (1) ประสบการณ์ผู้ใช้ในมิติด้านบทบาท อารมณ์ การรับรู้ เจตคติ และพฤติกรรม ความต้องการและความคาดหวังของครูและนักเรียนเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาโปรแกรมสร้างเสริมฯ ใน 8 ประเด็น ได้แก่ 1) ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง 2) ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ 3) บรรยากาศในการเรียนรู้ที่ทุกคนเข้ามามีส่วนร่วม 4) ผู้เรียนได้ฝึกการคิดขั้นสูง 5) มีกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย 6) เรียนรู้จากสถานที่จริง 7) ทำกิจกรรมเพื่อสังคม และ 8) สะท้อนผลการเรียนรู้เป็นระยะ โดยโปรแกรมสร้างเสริมฯที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 1) ที่มาและความสำคัญ 2) หลักการของโปรแกรม 3) วัตถุประสงค์ของโปรแกรม 4) ทฤษฎี หลักการและแนวคิด 5) โครงสร้างเนื้อหาสาระของกิจกรรม 6) วิธีการจัดกิจกรรม 7) การวัดและประเมินผล 8) นิยามศัพท์เฉพาะ 9) แนวทางการนำโปรแกรมสร้างเสริมไปใช้ 10) คุณสมบัติของวิทยากรผู้นำกระบวนการ 11) กำหนดการจัดกิจกรรม 12) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และ 13) แบบวัดความเป็นพลเมืองตื่นรู้ (2) โปรแกรมสร้างเสริมฯ มีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด (M = 4.67, S.D = 0.30) ระยะที่ 3 ประเมินประสิทธิผลของโปรแกรมสร้างเสริมฯ ผู้ให้ข้อมูล คือ ครู จำนวน 6 คน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ แบบวัดความเป็นพลเมืองตื่นรู้ฯ โปรแกรมสร้างเสริมฯ และแบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ Hotelling’s T2 และวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุนาม ผลการวิจัยพบว่า (1) นักเรียนกลุ่มทดลองที่เข้าร่วมโปรแกรมสร้างเสริมฯ มีความเป็นพลเมืองตื่นรู้หลังเข้าร่วมโปรแกรมสร้างเสริมฯ สูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมสร้างเสริมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (Hotelling’s T2 = 68.778, df = 29, p-value < .001) นักเรียนกลุ่มทดลองที่เข้าร่วมโปรแกรมสร้างเสริมฯ มีความเป็นพลเมืองตื่นรู้สูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (F = 2392.281, p-value < .001) นักเรียนกลุ่มทดลองที่เข้าร่วมโปรแกรมสร้างเสริมฯ มีความพึงพอใจต่อโปรแกรมสร้างเสริมฯ อยู่ในระดับมากที่สุด (M = 4.52, S.D. = 0.09) ครูและนักเรียนกลุ่มผู้ใช้เห็นว่าโปรแกรมสร้างเสริมฯที่พัฒนาขึ้นสามารถพัฒนาความเป็นพลเมืองตื่นรู้ให้เพิ่มขึ้นได้ และสามารถนำประสบการณ์การเรียนรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ในชีวิตได้จริง
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2604
Appears in Collections:Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs611150016.pdf8.63 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.