Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2598
Title: | A STUDY EFFECT OF LEARNING COGNITIVE GUIDED INSTRUCTIONAND THINK-PAIR-SHARE TECHNIQUE IN INEQUALITYON THE MATHEMATICAL PROBLEMS SOLVING ABILITYAND MATHEMATICAL COMMUNICATION ABILITY OF NINTH GRADE STUDENTS การศึกษาผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้การสอนแนะให้รู้คิด (CGI)ร่วมกับ เทคนิคเพื่อนคู่คิด (Think Pair Share) เรื่อง อสมการ ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาและการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 |
Authors: | KULISARA INTHARACH กุลิสรา อินทราช Sunisa Sumirattana สุณิสา สุมิรัตนะ Srinakharinwirot University Sunisa Sumirattana สุณิสา สุมิรัตนะ sunisasu@swu.ac.th sunisasu@swu.ac.th |
Keywords: | ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ การสอนแนะให้รู้คิด (CGI) เทคนิคเพื่อนคู่คิด (Think Pair Share) ความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ mathematical problem-solving ability mathematical communication ability Cognitive Guided Instruction Think-Pair-Share technique |
Issue Date: | 15 |
Publisher: | Srinakharinwirot University |
Abstract: | The purposes of this research are as follows: (1) to compare the mathematical problem-solving abilities of Mathayomsuksa Three students on inequality before and after using Cognitive Guided Instruction and the Think-Pair-Share technique and with a criterion of 70%; (2) to compare the mathematical communication ability of Mathayomsuksa Three students on the subject of the inequality before and after Cognitive Guided Instruction and the Think-Pair-Share technique with a criterion of 70%. The subjects were 31 Mathayomsuksa Three students in the second semester of the 2022 academic year at Princess Ubolratana Rajakanya’s Bangkok College School. They were randomly selected by using Cluster Random Sampling. The instruments used in the data collection were as follows: (1) a teaching plan on the subject of inequality; and (2) the mathematics problem-solving abilities and a mathematical communication competency test. The data were statistically analyzed using a t-test for independent samples. The findings were as follows: (1) the mathematics problem-solving ability of the experimental group after Cognitive Guided Instruction and the Think-Pair-Share technique on inequality was statistically higher than before learning and statistically higher than the 70% criterion at a .05 level of statistical significance; (2) the mathematics communication ability of the experimental group after Cognitive Guided Instruction and the Think-Pair-Share technique on the subject of the inequality was statistically higher than before learning and statistically higher than the 70% criterion at a .05 level of statistical significance; and (3) the mathematical speaking communication ability of the experimental group after obtaining Cognitive Guided Instruction and Think-Pair-Share technique on the subject of the inequality could be categorized into three groups; the high, medium and low achiever. It found that 70.97 % of students were high achievers, 19.35 % of students were medium achievers and 9.68 % of students were low achievers. การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เรื่อง อสมการ ก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้การสอนแนะให้รู้คิด (CGI) ร่วมกับ เทคนิคเพื่อนคู่คิด (Think Pair Share) และเปรียบเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 70 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เรื่อง อสมการ ก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้การสอนแนะให้รู้คิด (CGI) ร่วมกับ เทคนิคเพื่อนคู่คิด (Think Pair Share) และเปรียบเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 70 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนอุบลรัตนราชกัญญาราชวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร จำนวน 1 ห้อง มีนักเรียน 31 คน โดยเป็นนักเรียนคละความสามารถ ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) จากห้องเรียนทั้งหมด 3 ห้อง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง อสมการ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาและการสื่อสารด้านการเขียนทางคณิตศาสตร์ เรื่อง อสมการ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 5 ข้อ โดยเป็นข้อสอบที่แบบอัตนัย การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าที (t – test for independent sample) ผลการวิจัย พบว่า 1. ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้การสอนแนะให้รู้คิด (CGI) ร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิด (Think Pair Share) เรื่อง อสมการ สูงกว่าก่อนได้รับการจัดการเรียนรู้ และสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 2. ความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้การสอนแนะให้รู้คิด (CGI) ร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิด (Think Pair Share) เรื่อง อสมการ สูงกว่าก่อนได้รับการจัดการเรียนรู้ และสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 3. ความสามารถในการสื่อสารด้านการพูดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้การสอนแนะให้รู้คิด (CGI) ร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิด (Think Pair Share) เรื่อง อสมการ แบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่มีความสามารถในการสื่อสารด้านการพูดสูง ปานกลาง ต่ำ โดย นักเรียนร้อยละ 70.97 เป็นกลุ่มที่มีความสามารถในการสื่อสารด้านการพูดสูง นักเรียนร้อยละ 19.35 เป็นกลุ่มที่มีความสามารถในการสื่อสารด้านการพูดปานกลาง และนักเรียนร้อยละ 9.68 เป็นกลุ่มที่มีความสามารถในการสื่อสารด้านการพูดต่ำ |
URI: | http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2598 |
Appears in Collections: | Faculty of Education |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
gs611110001.pdf | 2.66 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.