Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2581
Title: | PERSPECTIVE ON CRITERIA OF FILM CENSORSHIP UNDER THE FILM AND VIDEO ACT B.E. 2551 มุมมองต่อหลักเกณฑ์การตรวจพิจารณาภาพยนตร์ภายใต้พระราชบัญญัติภาพยนตร์และวิดีทัศน์ พ.ศ. 2551 |
Authors: | SITTIMED TANTAVIBOONWONG สิทธิเมธ ตัณฑวิบูลย์วงศ์ Poom Moolsilpa ภูมิ มูลศิลป์ Srinakharinwirot University Poom Moolsilpa ภูมิ มูลศิลป์ poom@swu.ac.th poom@swu.ac.th |
Keywords: | การตรวจพิจารณา ภาพยนตร์ มุมมอง Censorship Movie Perspective |
Issue Date: | 15 |
Publisher: | Srinakharinwirot University |
Abstract: | This research study consists of two objectives: (1) to study and analyze the social dimension problem and different opinions on film censorship criteria under the National Film Act B.E. 2551; (2) to prepare policy recommendations and guidelines for developing a criteria for reviewing Thai films under the National Film Act of 2008 by using a qualitative research process including documentary research data collection and in-depth interviews In this research, the researcher selected 30 key informants in a specific way, divided into 15 experienced Thai film directors and independent film critics on a Facebook page with more than 5000 followers. The research found that this law has a lot of problems. The main problem is a flaw in the law regarding film ratings. The problem of discretion of the Film and Video Censorship Committee Problems is in the nature of legal flaws in film ratings. When the Film and Video Act B.E. 2551 was promulgated, the film control system was changed from the film censorship system to the film rating system, which was then passed. It was found that several problems arose, for example: (1) the problem of determining film genres in many provisions of Article 26 was unreasonable and there were some laws that had overlapping meanings, such as movies that were promoted to be watched. There are no restrictions on content, violence, gender and language use, etc; (2) the problem of authorization overlaps between Article 26 and Article 29; and (3) the problem of film trailer rating. In Thailand, we have movie ratings. However, for movie trailers shown in theaters, there was no rating for that movie to be screened. The number of such committees is very small when compared to their duties. In addition, the ratio between government officials and private sectors is not equal; and (5) discretion in determining film genres. According to Section 26, there are many movies that receive ratings that are not suitable for the content of the story. Interpreting words under section 29 and discretion interpreting words under section 29 gives the committee a lot of discretion, which was not the same standard as the discretionary principle. In this research, the researcher would like to propose guidelines for improving and amending the law on various issues as follows: 1) Propose to place additional criteria in the ministerial regulations specifying the characteristics of film genres. Due to the determination of movie genres in the provisions of Section 26 and it is proposed that Thailand should apply foreign concepts. 2) Correct the rating of movies due to the rating (Rating) because there are many problems. Thailand should revise the aforementioned provisions as follows. For example, the problem of categorizing movies that are appropriate for those aged thirteen years and up and suitable for those aged 15 years and up are similar age ranges. การศึกษาวิจัยครั้งนี้ประกอบไปด้วยวัตถุประสงค์ 2 ข้อ ได้แก่ 1) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ปัญหามิติทางสังคม และความคิดเห็นที่แตกต่างกันที่มีต่อหลักเกณฑ์การตรวจพิจารณาสื่อภาพยนตร์ ภายใต้พระราชบัญญัติภาพยนตร์แห่งชาติ พ.ศ. 2551 2) เพื่อจัดทำเป็นข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและแนวทางการพัฒนาหลักเกณฑ์การตรวจพิจารณาภาพยนตร์ไทยภายใต้พระราชบัญญัติภาพยนตร์แห่งชาติ พ.ศ. 2551 โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพ ทั้งการเก็บข้อมูลวิจัยเชิงเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้เลือกผู้ให้ข้อมูลสำคัญแบบเจาะจง จำนวน 30 คน โดยแบ่งเป็นกลุ่มผู้กำกับภาพยนตร์ไทยที่มีประสบการณ์ทำภาพยนตร์ จำนวน 15 คน และกลุ่มนักวิจารณ์ภาพยนตร์อิสระในเพจเฟสบุ๊กที่มีผู้ติดตามมากกว่า 5000 จำนวน 15 คน ผลการวิจัยพบว่าตัวบทกฎหมายนี้มีปัญหาที่พูดถึงกันอย่างมาก โดยประเด็นปัญหาหลัก คือ ข้อบกพร่องในตัวบทกฎหมายเกี่ยวกับการจัดเรตติงภาพยนตร์ ปัญหาการใช้ดุลพินิจของคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ ปัญหาในลักษณะของข้อบกพร่องทางด้านกฎหมายในส่วนของการการจัดเรตติงภาพยนตร์ เมื่อมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. 2551 ได้มีการเปลี่ยนแปลงระบบการควบคุมภาพยนตร์จากระบบการตรวจพิจารณาภาพยนตร์หรือระบบเซนเซอร์ (Censorship) มาเป็นการจัดเรตติงภาพยนตร์ (Film Ratings) ซึ่งที่ผ่านมาพบว่าปัญหาเกิดขึ้นอยู่หลายประการ เช่น 1) ปัญหาการกำหนดประเภทภาพยนตร์ในบทบัญญัติมาตรา 26 หลายข้อไม่สมเหตุสมผลและมีกฎหมายบางส่วนที่ความหมายยังทับซ้อนกัน เช่น ภาพยนตร์ที่มีการส่งเสริมให้ดู ไม่ได้มีการกำหนดข้อจำกัดทางด้านเนื้อหาความรุนแรง เพศและการใช้ภาษา เป็นต้น 2) ปัญหาการให้อำนาจทับซ้อนกันระหว่างมาตรา 26 กับมาตรา 29 3) ปัญหาการจัดเรตติงตัวอย่างภาพยนตร์ ประเทศไทยมีการจัดเรตติงภาพยนตร์แต่สำหรับตัวอย่างภาพยนตร์ที่นำมาฉายภายในโรงภาพยนตร์นั้นไม่มีการจัดเรตติงภาพยนตร์เรื่องที่จะฉายนั้น ๆ 4) ปัญหาสัดส่วนของคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ ซึ่งจำนวนของคณะกรรมการดังกล่าวมีน้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับภาระหน้าที่ที่ได้รับ อีกทั้งสัดส่วนระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐกับภาคเอกชนมีสัดส่วนที่ไม่เท่ากัน 5) ปัญหาการใช้ดุลพินิจในการกำหนดประเภทภาพยนตร์ ตามมาตรา 26 มีภาพยนตร์หลายเรื่องที่ได้รับเรตที่ไม่เหมาะสมกับเนื้อหาของเรื่อง 6) ปัญหาการตีความถ้อยคำตามมาตรา 29 การใช้ดุลพินิจการตีความถ้อยคำตามมาตรา 29 เป็นการให้อำนาจดุลพินิจแก่คณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์ที่ค่อนข้างมากซึ่งหลักการใช้ดุลพินิจของคณะกรรมการไม่เป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยในงานวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยขอเสนอแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้ 1) เสนอให้วางหลักเกณฑ์เพิ่มเติมในกฎกระทรวงกำหนดลักษณะของประเภทภาพยนตร์ เนื่องจากการกำหนดประเภทภาพยนตร์ในบทบัญญัติมาตรา 26 และเสนอให้ประเทศไทยควรนำแนวคิดของต่างประเทศมาประยุกต์ใช้ 2) แก้ไขการจัดเรตติงภาพยนตร์เนื่องจากการจัดเรตติง (Rating) เนื่องจากมีปัญหาหลายประการ ประเทศไทยควรมีการแก้ไขบทบัญญัติมาตราดังกล่าวใหม่ดังต่อไปนี้ เช่น ปัญหาการจัดประเภทภาพยนตร์ที่เหมาะสมกับผู้มีอายุตั้งแต่สิบสามปีขึ้นไปกับเหมาะสมกับผู้มีอายุตั้งแต่สิบห้าปีขึ้นไปนั้นเป็นช่วงอายุที่ใกล้เคียงกันมาก เป็นต้น |
URI: | http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2581 |
Appears in Collections: | Faculty of Social Sciences |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
gs631130360.pdf | 1.09 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.