Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2541
Title: A STUDY ON THE UNDERSTANDING OF SYMBOLS IN DAILY LIFE OF GRADE 3 STUDENTS WITH MODERATE INTELLECTUAL DISABILITIESBY USING DIRECT INSTRUCTION WITH BIG BOOK
การศึกษาความเข้าใจภาพสัญลักษณ์ในชีวิตประจำวัน ของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับปานกลาง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้วิธีการสอนตรงร่วมกับหนังสือภาพ Big Book
Authors: NATTANICHAR TUBSAWANG
ณัฎฐนิชา ทับสว่าง
Kanokporn Vibulpatanavong
กนกพร วิบูลพัฒนะวงศ์
Srinakharinwirot University
Kanokporn Vibulpatanavong
กนกพร วิบูลพัฒนะวงศ์
kanokpornv@swu.ac.th
kanokpornv@swu.ac.th
Keywords: การสอนตรง
ภาพสัญลักษณ์ในชีวิตประจำวัน
หนังสือภาพ Big Book
Direct teaching
Symbols in everyday life
Big Book
Issue Date:  15
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: The purpose of this research is as follows: (1) to study the understanding of symbols in the daily lives of Grade Three students with moderate intellectual disabilities after using the method of direct instruction with the Big Book; (2) to compare the understanding of symbols in daily life of Grade Three students with moderate intellectual disabilities using the method of direct instruction with the Big Book before and after the experiment. The target group used in the research were four Grade Three with moderate intellectual disability in the second semester of the 2022 academic year in Suphanburi Panyanukul School, and with an IQ of 35-49. They answered less than five questions correctly. They were students who did not understand symbols in everyday life, for example, the male and female toilet symbols, the fire escape symbol, the rally point symbol, the first aid room symbol, the crosswalk symbol, and the traffic light symbol. This research design was experimental research (The One-Group Pretest-Posttest Design). The tools used in this research consisted of the following: (1) learning management plan using direct instruction method with the six plans of the big book; (2) six Big Books; (3) a set of pre-post comprehension test on symbols in daily life. A lesson plan was used for five days a week, fifty minutes a day and six lessons were used over six weeks. The statistics used in data analysis were mean, percentage and progression percentage of mean scores. The results revealed the following: (1) Grade Three students with moderate intellectual disabilities understood symbolic images in everyday life after the use of direct instruction methods in conjunction with the Big Book at a very good level; and (2) Grade Three students with moderate intellectual disabilities scores understood that symbols in everyday life were higher than before using the direct teaching method with the big book. There was an average 65% increase in progress scores.
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย  (1)เพื่อศึกษาความเข้าใจภาพสัญลักษณ์ในชีวิตประจำวัน ของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับปานกลาง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังจากการใช้วิธีการสอนตรงร่วมกับหนังสือภาพ Big Book  (2)เพื่อเปรียบเทียบความเข้าใจภาพสัญลักษณ์ในชีวิตประจำวัน ของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ระดับปานกลาง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้วิธีการสอนตรงร่วมกับหนังสือภาพ Big Book ก่อนการทดลองและหลังการทดลอง กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ระดับปานกลางและไม่มีความพิการซ้อนจำนวน 4 คนที่กำลังศึกษาอยู่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสุพรรณบุรีปัญญานุกูล จังหวัดสุพรรณบุรี  มีระดับเชาว์ปัญญา 35-49  สามารถสื่อสารได้ด้วยท่าทาง  หรือการพูดโต้ตอบ ตอบคำถามจากแบบทดสอบได้ถูกต้องน้อยกว่า 5 ข้อ เป็นนักเรียนที่ไม่เข้าใจ ภาพสัญลักษณ์ในชีวิตประจำวัน ได้แก่ ภาพสัญลักษณ์ห้องน้ำชาย-หญิง  ภาพสัญลักษณ์ทางหนีไฟ   ภาพสัญลักษณ์จุดรวมพล  ภาพสัญลักษณ์ห้องปฐมพยาบาล ภาพสัญลักษณ์ทางม้าลาย  ภาพสัญลักษณ์สัญญาณไฟจราจร   แบบแผนวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบทดลอง (The One – Group Pretest – Posttest Design) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ (1)แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องภาพสัญลักษณ์ในชีวิตประจำวัน โดยใช้วิธีการสอนตรงร่วมกับหนังสือภาพ Big Book จำนวน 6 แผน  (2)หนังสือภาพ Big Book จำนวน 6 เล่ม ได้แก่ สัญลักษณ์ห้องน้ำเป็นแบบนี้เอง  จุดรวมพลอยู่ตรงนี้นะ ห้องพยาบาลอยู่ไหน ทางหนีไฟอยู่ไหนนะ ข้ามถนนต้องข้ามทางม้าลาย สัญญาณไฟจราจรตั้งอยู่ที่ทางแยกบนถนน  (3) แบบทดสอบความเข้าใจก่อน-หลังเรียนเรื่องภาพสัญลักษณ์ในชีวิตประจำวัน  จำนวน 1 ชุด  ผู้วิจัยได้ทดลองจัดการเรียนรู้ตามแผนการสอนเป็นเวลา 6 สัปดาห์  สอนสัปดาห์ละ 1 เรื่อง  เรื่องละ 5 วัน วันละ 50 นาที รวมทั้งหมด 6 เรื่อง 6 สัปดาห์  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละและร้อยละความก้าวหน้าของคะแนนเฉลี่ย  ผลการวิจัยพบว่า (1)นักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับปานกลาง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เข้าใจภาพสัญลักษณ์ในชีวิตประจำวัน  โดยใช้วิธีการสอนตรงร่วมกับหนังสือภาพ Big Book อยู่ในระดับดีมาก   (2)นักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับปานกลาง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เข้าใจภาพสัญลักษณ์ในชีวิตประจำวัน  สูงขึ้นกว่าก่อนการใช้วิธีการสอนตรงร่วมกับหนังสือภาพ Big Book คะแนนความก้าวหน้าเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 65
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2541
Appears in Collections:Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs621130004.pdf2.95 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.