Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2510
Title: | THE ADAPTATION FOR DEVELOPMENT AND MANAGEMENTOF CULTURAL LEARNING IN THAI MUSEUM การปรับตัวเพื่อการพัฒนาการจัดการวัฒนธรรมการเรียนรู้ในพิพิธภัณฑ์ไทย |
Authors: | KRITSANAT DILOKSIRITHANAPAT กฤศณัฏฐ์ ดิลกศิริธนภัทร์ Chakapong Phatlakfa จักรพงษ์ แพทย์หลักฟ้า Srinakharinwirot University Chakapong Phatlakfa จักรพงษ์ แพทย์หลักฟ้า chakapon@swu.ac.th chakapon@swu.ac.th |
Keywords: | การปรับตัว การจัดการและการให้บริการ พิพิธภัณฑ์ แหล่งเรียนรู้ Adaptation Management and Service Museums Learning Centers |
Issue Date: | 21 |
Publisher: | Srinakharinwirot University |
Abstract: | This research is an adaptation of the development and management of cultural learning in Thai museums. The objectives are to study the adaptation of museums and learning centers in social, artistic and cultural aspects, and to develop management models. The results of the adaptation process of museums and learning resources to the learning culture of people who studied aesthetics and knowledge. The qualitative research methodology used in-depth interviews from a specific sample group. From outstanding museums and learning resources, the types of social, art and cultural museums consisted of five places: (1) the King Prajadhipok Museum in Bangkok; (2) the Lanna Architecture Center, Khum Chao Burirat (Maha Intra), also known as the Khum Museum, in Chiang Mai; (3) the Chiang Mai City Arts and Culture Center in Chiang Mai; (4) King Rama II Memorial Park in Samut Songkhram; and (5) the National Discovery Museum Institute (Siam Museum) in Bangkok. The results of the research revealed that there are adaptation patterns as follows: (1) having more safety measures; (2) knowing how to use other areas of the museum and learning center for maximum benefit; (3) knowing how to use technology to organize. activities such as publicizing news via social media; (4) community interaction by allowing the community to participate in presenting information in the area; (5) creating interactions between museum organizations and learning resources together; and (6) providing opportunities for volunteers to become lecturers. It was found that the management model of museums and learning centers can be developed using integrated marketing 11P, consisting of the following: (1) Product; (2) Price; (3) Place; (4) Promotion; (5) People; (6) Process; (7) Physical Support; (8) Premises for Event Activities and Other; (9) Practice Area and Online Skills; (10) Perception Strategy; and (11) Partner Strategy, which can develop a model for managing museums and learning resources and benefit the learning culture of people who come to study knowledge and aesthetics, including communities and society. งานวิจัยเรื่อง การปรับตัวเพื่อการพัฒนาการจัดการวัฒนธรรมการเรียนรู้ในพิพิธภัณฑ์ไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปรับตัวของพิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้ ด้านสังคม ศิลปะ และวัฒนธรรม และเพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการ ที่เกิดจากกระบวนการการปรับตัวของพิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้ ที่มีต่อวัฒนธรรมการเรียนรู้ของผู้คนที่เข้ามาศึกษาองค์ความรู้และสุนทรียศาสตร์ รวมถึง ชุมชน และ สังคม ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก จากกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จากพิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้ดีเด่น ประเภทพิพิธภัณฑ์ด้านสังคม ศิลปะ และวัฒนธรรม จำนวน 5 แห่ง คือ 1) พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว กรุงเทพมหานคร 2) ศูนย์สถาปัตยกรรมล้านนา คุ้มเจ้าบุรีรัตน์ (เจ้าน้อยมหาอินทร์ ณ เชียงใหม่) จังหวัดเชียงใหม่ 3) หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ 4) อุทยานพระบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (อุทยาน ร.2) จังหวัดสมุทรสงคราม และ 5) สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (สพร.) หรือ มิวเซียมสยาม กรุงเทพมหานคร โดยผลการวิจัยพบว่ามีรูปแบบการปรับตัว ดังนี้ 1) มีมาตรการด้านความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น 2) รู้จักการใช้พื้นที่อื่น ๆ ของพิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้ให้เกิดประโยชน์สูงสูด 3) รู้จักใช้เทคโนโลยีในการจัดกิจกรรม เช่น การประชาสัมพันธ์ข่าวสาร ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ 4) การสร้างปฏิสัมพันธ์กับชุมชน โดยให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการนำเสนอข้อมูลในพื้นที่ 5) มีการสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างองค์กรทางด้านพิพิธภัณฑ์แหละแหล่งเรียนรู้ด้วยกัน และ 6) เปิดโอกาสให้มีอาสาสมัครในการเข้ามาเป็นนักบรรยาย และพบว่าสามารถพัฒนารูปแบบการจัดการพิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้ โดยใช้การตลาดแบบผสมผสาน 11P ประกอบด้วย 1) ผลิตภัณฑ์ (Product) 2) ราคา (Price) 3) สถานที่ตั้ง (Place) 4) การส่งเสริมการตลาด (Promotion) 5) บุคลากร (People) 6) มีกระบวนการ (Process) 7) ลักษณะทางกายภาพ (Physical Support) 8) พื้นที่ หรือ สถานที่จัดงานกิจกรรมและอื่นๆ (Premises for Events Activity and Other) 9) พื้นที่ในการฝึกทักษะผ่านสื่อออนไลน์ (Practice Area - Online Skills) 10) กลยุทธ์ที่จะต้องเข้าใจสถานการณ์ต่างๆ (Perception Strategy) และ 11) กลยุทธ์คู่ค้าหรือกลยุทธ์หุ้นส่วน (Partners Strategy) ซึ่งสามารถพัฒนารูปแบบการจัดการพิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้ ที่มีต่อวัฒนธรรมการเรียนรู้ของผู้คนที่เข้ามาศึกษาองค์ความรู้และสุนทรียศาสตร์ รวมถึง ชุมชนและสังคมได้ |
URI: | http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2510 |
Appears in Collections: | Faculty of Fine Arts |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
gs611150063.pdf | 6.36 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.