Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2504
Title: DISCRIMINANT ANALYSIS OF FACTORS AFFECTING STUDENT DECISIONS TO CHOOSE TO STUDY IN THE FIRST PLACE AT THE BACHELOR’S DEGREE OF SAENGTHAM COLLEGE: MIXED METHODS RESEARCH WITH SEQUENTIAL EXPLANATORY DESIGN
การวิเคราะห์ปัจจัยจำแนกที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อเป็นอันดับแรกระดับปริญญาตรีของนักศึกษาในวิทยาลัยแสงธรรม: การวิจัยผสมผสานวิธีแบบอธิบายตามกาลเวลา 
Authors: KANVASU SRITHAI
กัญวสุ ศรีไทย
Wilailak Langka
วิไลลักษณ์ ลังกา
Srinakharinwirot University
Wilailak Langka
วิไลลักษณ์ ลังกา
wilailakl@swu.ac.th
wilailakl@swu.ac.th
Keywords: การวิเคราะห์ปัจจัยจำแนก
การตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อ
ส่วนประสมทางการตลาด
Discriminant analysis
Decision to study
Marketing mix
Issue Date:  21
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: The purposes of this research are as follows: (1) to study the discriminant factors affecting the decisions of students to choose to study and the group of students that did not decide to study; (2) to explain the factors affecting their decisions; and (3) to study the policy promotion guidelines for decision-making while studying for their Bachelor’s degree. The sample consisted of 182 undergraduate students in the 2022 academic year at Saengtham College. The tools used were questionnaires with quality of confidence. The Cronbach's alpha coefficient was 0.96, with an interview, focus group and content analysis methods. The results of the research were as follows: (1) a classification analysis of the factors that affected the decisions of the students to choose to continue their studies. There were 11 factors in the discriminant equation, ranked in descending order of the standard coefficient regardless of the sign: physical evidence, future expectations of religious work, product, family income, place, motivation for religious work, process, attitudes towards religious leaders, promotion, price, and people. The resulting discriminant equation was able to predict the membership of different groups of students in different groups correctly at 70.80%; (2) factors affecting the decision-making of students and found that personal factors and family income had scholarships available to students. The family of the students coming to study at this institute that had a family member as a religious leader saw them as good role models. The marketing mix was the main reason that made the most decisions specifically religious. The factor of psychological factors and future expectations in religious work after graduating and applied this knowledge to religious work. Motivation for religious work was less and attitudes toward religious leaders helping others in society affected decisions to study for a Bachelor's degree; (3) guidelines for policy promotion in decision making found that the first dimension was Physical Evidence of maintaining educational institutions both inside and outside to clean, Products to maintain the quality of the curriculum, Place takes care of audio-visual equipment to be ready for use, and People encouraged personnel in self-development. Promotion added more channels to publicize the course in online media. Process developed an online service system. Price considered the cost of each course of study. Dimension Two was the student aspect. Motivation for religious work, organizing activities aimed at social development, attitudes towards religious leaders, education and being a good role model, future expectations in religious work and that knowledge gained can be applied in real-world situations in religious work.
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อศึกษาปัจจัยจำแนกที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อกลุ่มที่ตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อเป็นอันดับแรกและกลุ่มที่ไม่ได้ตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อเป็นอันดับแรกของนักศึกษา 2) เพื่ออธิบายปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อกลุ่มที่ตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อเป็นอันดับแรกกับกลุ่มที่ไม่ได้ตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อเป็นอันดับแรกของนักศึกษา 3) เพื่อศึกษาแนวทางการส่งเสริมเชิงนโยบายในการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีของวิทยาลัยแสงธรรม ตัวอย่าง เป็นนักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี ปีการศึกษา 2565 ของวิทยาลัยแสงธรรม จำนวน 182 คน ใช้แบบแผนการวิจัยผสมผสานวิธีแบบอธิบายตามเวลา เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถาม มีคุณภาพด้านความเชื่อมั่น ด้วยวิธีหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค เท่ากับ 0.96  แบบสัมภาษณ์ และแบบสนทนากลุ่ม ใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) การวิเคราะห์จำแนกปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อของนักศึกษา ปัจจัยที่ได้รับคัดเลือกเข้าในสมการจำแนก มี 11 ปัจจัย เรียงลำดับตามค่าสัมประสิทธิ์มาตรฐานจากมากไปน้อยโดยไม่คำนึงถึงเครื่องหมาย ได้แก่ หลักฐานทางกายภาพ ความคาดหวังในอนาคตในการทำงานด้านศาสนา ผลิตภัณฑ์ รายได้ของครอบครัว สถานที่ แรงจูงใจในการทำงานด้านศาสนา กระบวนการบริการ ทัศนคติต่อผู้นำศาสนา การส่งเสริมการขาย ราคา และบุคลากร สมการจำแนกที่ได้สามารถคาดคะเนการเป็นสมาชิกของกลุ่มนักศึกษาที่ตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อแตกต่างกันได้ถูกต้องร้อยละ 70.80 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อของนักศึกษา พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล รายได้ของครอบครัว มีทุนการศึกษาให้นักศึกษา การสนับสนุนจากครอบครัวของนักศึกษา ครอบครัวสนับสนุนในการเข้ามาศึกษาต่อที่สถาบันแห่งนี้ การมีคนในครอบครัวเป็นผู้นำศาสนา ได้เห็นแบบอย่างที่ดี ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด เหตุผลหลักที่ทำให้ตัดสินใจมากที่สุดคือ ผลิตภัณฑ์ เป็นหลักสูตรเฉพาะทางด้านศาสนา ปัจจัยทางจิตวิทยา ความคาดหวังในอนาคตในการทำงานด้านศาสนา หลังจบการศึกษานำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในการทำงานด้านศาสนา แรงจูงใจในการทำงานด้านศาสนา จำนวนศาสนบริกรน้อยลง และทัศนคติต่อผู้นำศาสนา ช่วยเหลือผู้อื่นในสังคม ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้ามาศึกษาต่อระดับปริญญาตรีในวิทยาลัยแสงธรรม 3) แนวทางการส่งเสริมเชิงนโยบายในการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีของวิทยาลัยแสงธรรม พบว่า มิติที่ 1 ด้านของวิทยาลัยแสงธรรม หลักฐานทางกายภาพ ดูแลรักษาสถานศึกษาทั้งภายในและภายนอกให้มีความสะอาด ผลิตภัณฑ์ รักษาคุณภาพของหลักสูตร สถานที่ ดูแลเรื่องโสตทัศนูปกรณ์ให้พร้อมใช้งาน บุคลากร ส่งเสริมบุคลกรในการพัฒนาตนเอง การส่งเสริมการขาย เพิ่มช่องทางประชาสัมพันธ์หลักสูตรในสื่อออนไลน์มากขึ้น กระบวนการบริการ พัฒนาระบบการให้บริการแบบออนไลน์ ราคา พิจารณาค่าใช้จ่ายในการเรียนแต่ละหลักสูตร มิติที่ 2 ด้านของนักศึกษา แรงจูงใจในการทำงานด้านศาสนา จัดกิจกรรมที่มุ่งสู่การพัฒนาสังคม ทัศนคติต่อผู้นำศาสนา ให้ความรู้และการเป็นแบบอย่างที่ดี ความคาดหวังในอนาคตในการทำงานด้านศาสนา นำความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์ได้ในสถานการณ์จริงในการทำงานด้านศาสนา
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2504
Appears in Collections:Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs631130278.pdf3.17 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.