Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2489
Title: EFFECT OF SOCIAL STUDIES LEARNING MANAGEMENT USING CASE-BASED REASONING PROCESS ON CRITICAL THINKING ABILITIES AND SELF-AWARENESS OF UPPER SECONDARY STUDENTS
ผลการจัดการเรียนรู้สังคมศึกษาโดยใช้กระบวนการให้เหตุผลเชิงกรณีที่มีต่อความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการตระหนักรู้ในตนเองของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
Authors: NAWAKHUN SANASILAPIN
นวคุณ สาณศิลปิน
Kasinee Karunasawat
เกศินี ครุณาสวัสดิ์
Srinakharinwirot University
Kasinee Karunasawat
เกศินี ครุณาสวัสดิ์
kasineek@swu.ac.th
kasineek@swu.ac.th
Keywords: สังคมศึกษา
การจัดการเรียนรู้สังคมศึกษา
การให้เหตุผลเชิงกรณี
การคิดอย่างมีวิจารณญาณ
การตระหนักรู้ในตนเอง
Social Studies
Social Studies Learning Management
Case-Based Reasoning
Critical Thinking
Self-Awareness
Issue Date:  21
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: The aims of this study are as follows: (1) to compare the critical-thinking abilities of upper secondary students before and after studying using the case-based reasoning process; (2) to compare the self-awareness of upper secondary students before and after studying using the case-based reasoning process; and (3) to study the development of self-awareness among upper secondary students when studying using the case-based reasoning process. The sample in this study included 20 upper secondary students from Wang Klai Kang Won School under the Royal Patronage, in Hua Hin District, Prachuap Khiri Khan Province, during the second semester of the 2022 academic year. They were chosen using purposive selection. The instruments of this study consisted of 16 activity plans based on the case-based reasoning process, a 30-item critical-thinking abilities assessment, and a 36-item self-awareness assessment. The data were analyzed using means, standard deviations, a t-test for dependent samples, one-way repeated measures MANOVA, relative gain score, and effect size. The results of the study were as follows: (1) students who received instruction using the case-based reasoning process demonstrated significantly higher critical-thinking abilities after the course compared to before the course, at a .05 level of statistical significance level, and the case-based reasoning process had a high impact on their critical-thinking abilities; (2) students who received instruction using the case-based reasoning process showed increased self-awareness after the course compared to before the course, at a .05 level of statistical significance level, and the case-based reasoning process had a low impact on their self-awareness; and (3) students who received instruction using the case-based reasoning process experienced an increase in self-awareness development. However, this was not statistically significant at a level of .05, and the case-based reasoning process had a moderate impact on their self-awareness development.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายก่อนและหลังเรียน เมื่อจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการให้เหตุผลเชิงกรณี (2) เปรียบเทียบการตระหนักรู้ในตนเองของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายก่อนและหลังเรียน เมื่อจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการให้เหตุผลเชิงกรณี (3) ศึกษาพัฒนาการการตระหนักรู้ในตนเองของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย เมื่อจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการให้เหตุผลเชิงกรณี กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนวังไกลกังวล ในพระบรมราชูปถัมภ์ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 20 คน โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Selection) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการให้เหตุผลเชิงกรณี จำนวน 16 แผน แบบวัดความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ จำนวน 30 ข้อ และแบบวัดการตระหนักรู้ในตนเอง จำนวน 36 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การใช้สถิติทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยที่กลุ่มตัวอย่างสัมพันธ์กัน (t-test for Dependent Sample) การวิเคราะห์ความแปรปรวนของตัวแปรพหุนามแบบวัดซ้ำ (One-Way Repeated Measures MANOVA) คะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์ (Relative Gain Score) และการคำนวณขนาดอิทธิพล (Effect Size) ผลวิจัยพบว่า (1) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการให้เหตุผลเชิงกรณี มีความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการให้เหตุผลเชิงกรณีมีอิทธิพลต่อความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณอยู่ในระดับมาก (2) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการให้เหตุผลเชิงกรณี มีการตระหนักรู้ในตนเองหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการให้เหตุผลเชิงกรณีมีอิทธิพลต่อการตระหนักรู้ในตนเองอยู่ในระดับน้อย และ (3) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการให้เหตุผลเชิงกรณีมีพัฒนาการการตระหนักรู้ในตนเองสูงขึ้นอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการให้เหตุผลเชิงกรณีมีอิทธิพลต่อพัฒนาการการตระหนักรู้ในตนเองอยู่ในระดับปานกลาง
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2489
Appears in Collections:Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs611130037.pdf5.36 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.