Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2485
Title: LEARNINGMANAGEMENT OF HEALTH EDUCATION IN 5 STEPS AND 7 HIGHLYEFFECTIVE HABITS TO PROMOTE PREVENTION SKILL SMOKING USAGE OF GRADE NINE STUDENTS
การจัดการเรียนรู้วิชาสุขศึกษาแบบบันได 5 ขั้น ร่วมกับการสร้างเสริม7 อุปนิสัยแห่งความสำเร็จ ที่มีต่อทักษะการป้องกันการสูบบุหรี่ ในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
Authors: WANNISA NUWONG
วรรณนิสา หนูวงศ์
Chatpan Dusitkul
ฉัตรพันธ์ ดุสิตกุล
Srinakharinwirot University
Chatpan Dusitkul
ฉัตรพันธ์ ดุสิตกุล
chatpan@swu.ac.th
chatpan@swu.ac.th
Keywords: การจัดการเรียนรู้สุขศึกษา, การจัดการเรียนรู้แบบบันได 5 ขั้น , อุปนิสัย 7 ประการ ,ทักษะการป้องกันการสูบบุหรี่
Learning management of health education; Learning management in five steps; even highly effective habits; Promote prevention skill smoking
Issue Date:  21
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: This quasi-trial research aimes to compare the mean values of  the defense skills scores before and after school and the mean of defense skills scores of the experimental and control groups. The sample was students in their thirdyear of secondary school in the first semester of the 2023 academicyear by a simple random draw. The participants were divided into an experimental group of 30 people and a control group of 30 people. The research tools consisted of the following: (1) a five-step ladder health education learning management plan with four character building plans; and (2) questionnaires on critical thinking skills, attitudes and practices in smoking prevention data were analyzed using statistics, such as mean and standard deviation, and the hypothesis testing were conducted on the paired sample t-test and independent sample t -test. The average smoking prevention skills were statistically significantly higher than before the learning management at a .05 level. The average score of smoking prevention skills was statistically significantly higher than that the control group at .05.
การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนทักษะการป้องกันการสูบบุหรี่ก่อนและหลังเรียน และ 2) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนทักษะการป้องกันการสูบบุหรี่หลังการทดลองระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่ายด้วยการจับฉลาก แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 30 คน กลุ่มควบคุม 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้วิชาสุขศึกษาแบบบันได 5 ขั้นร่วมกับการสร้างเสริมอุปนิสัย จำนวน 4 แผน 2) แบบสอบถามทักษะด้านการคิดวิเคราะห์ เจตคติ และการปฏิบัติในการป้องกันการสูบบุหรี่ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้สถิติ คือ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และมีการทดสอบสมมุติฐาน Paired Sample t-test และ Independent Sample t-test ผลการวิจัยพบว่า 1) หลังการจัดการเรียนรู้ กลุ่มทดลอง มีค่าเฉลี่ยของทักษะการป้องกันการสูบบุหรี่ สูงกว่าก่อนได้รับการจัดการเรียนรู้ อย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) หลังการจัดการเรียนรู้กลุ่มทดลอง มีค่าเฉลี่ยของคะแนนทักษะการป้องกันการสูบบุหรี่ สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุปผลได้ว่าการสอนสุขศึกษาโดยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบันได 5 ขั้นร่วมกับการสร้างเสริม 7 อุปนิสัยแห่งความสำเร็จ ช่วยเสริมสร้างทักษะในการป้องกันการสูบบุหรี่ของนักเรียนให้ดีขึ้น
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2485
Appears in Collections:Faculty of Physical Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs611130308.pdf2.05 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.