Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2483
Title: A STUDY OF THE SUCCESS OF SMEs IN PARTICIPATINGIN GOVERNMENT PROCUREMENT
การศึกษาความสำเร็จของ SMEs ในการเข้าร่วมการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ
Authors: MUTTAREEYA TAWANWONGSAKUL
มัทรียา ถาวรวงศ์สกุล
Preechaya Nakfon
ปรีชญาณ์ นักฟ้อน
Srinakharinwirot University
Preechaya Nakfon
ปรีชญาณ์ นักฟ้อน
preechayan@swu.ac.th
preechayan@swu.ac.th
Keywords: ความสำเร็จ, การจัดซื้อจัดจ้าง, ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
success procurement small and medium-sized business
Issue Date:  21
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: This research aims to study the success of the participation in SMEs in government procurement and to identify the factors that are conducive to or limiting the participation of SMEs in government procurement by using two study methods: (1) the document survey was used to understand the success of SMEs participating in government procurement by considering the small to medium-sized business operators that registered products or services. In terms of government procurement (THAI SME – GP) and participating in government procurement, ready to be selected and not preferred, including the period between 2019 until May 2022; (2) to collect data with query tools from 1 July 2022 until 3 June 2022 regarding Small and Medium Business Entrepreneurship Group to Sell Products and Services Registered by Office of Small and Medium Enterprise Promotion (THAI SME – GP). This included all 400 provinces in Thailand, with statistics used in data erosion included percentage and chi-square. The study found the success of SMEs in participating in government procurement, most of which were preferred (81%), followed by not being chosen (15.80%) and not participating (3.30%), according to Hypothesis One, the primary factors of entrepreneurs in different business types. In addition, it does not affect the success of participating in government procurement, while distinct income and business size influenced the success of government procurement. Hypothesis Two found that the readiness factors of entrepreneurs affected the success of government procurement as well. Hypothesis Three showed that the influence of business circles and the influence of buyers or service recipients did not affect the success of participation in terms of procurement. Government jobs and Hypothesis Four found that support of state technology and equipment and support for government personnel was that the manner of procurement affected the success of procurement. Therefore, it can be certified that all three factors were the primary component of the operator. The readiness factor of people and entrepreneurship and state support of the factors affecting success. In addition, the study found that social influence factors and the fundamentals of business entrepreneurs did not affect their success.
งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสำเร็จการเข้าร่วมของ SMEs ในการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ และเพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่เอื้อหรือเป็นข้อจำกัดของการเข้าร่วมของ SMEs ในการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ โดยใช้วิธีการศึกษา 2 วิธี คือ 1) การสำรวจเอกสาร เพื่อต้องการทราบถึงความสำเร็จของ SMEs ในการเข้าร่วมการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ โดยพิจารณาจากผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ขึ้นทะเบียนกิจการ และสินค้าหรือบริการกับทาง สสว. เพื่อการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ (THAI SME – GP) ที่เข้าร่วมการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐพร้อมได้รับการคัดเลือกและไม่ได้รับการคัดเลือก รวมไปถึงไม่เข้าร่วม ในช่วง พ.ศ. 2562 จนถึง พ.ศ. 2565 2) เก็บข้อมูลด้วยเครื่องมือแบบสอบถาม ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 จนถึง วันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2565 กลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและธุรกิจขนาดย่อมประเภทขายสินค้าและให้บริการที่ขึ้นทะเบียนกิจการ กับทาง สสว.เพื่อการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ (THAI SME – GP) ทุกจังหวัดในประเทศไทย จำนวน 400 แห่ง  โดยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละและไคสแควร์ ผลการศึกษาพบว่า ความสำเร็จของ SMEs ในการเข้าร่วมการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐนั้นส่วนมากได้รับการคัดเลือก (ร้อยละ 81) รองลงมาไม่ได้รับการคัดเลือก (ร้อยละ 15.80) และไม่เข้าร่วม (ร้อยละ3.30) โดยสมมติฐานที่ 1 ปัจจัยพื้นฐานของผู้ประกอบการในด้านประเภทธุรกิจที่แตกต่างกัน ไม่ส่งผลต่อความสำเร็จในการเข้าร่วมการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐซึ่งในขณะที่รายได้และขนาดธุรกิจ ที่แตกต่างกันมีผลต่อความสำเร็จในการเข้าร่วมการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ และสมมติฐานที่ 2 พบว่า ปัจจัยด้านความพร้อมของผู้ประกอบการมีผลต่อความสำเร็จในการเข้าร่วมการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐด้วยเช่นกัน สมมติฐานที่ 3 พบว่า อิทธิพลจากแวดวงธุรกิจและอิทธิพลจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการไม่มีผลต่อความสำเร็จในการเข้าร่วมการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ และสมมติฐานที่ 4 พบว่า  การสนับสนุนของรัฐด้านเทคโนโลยีและอุปกรณ์ และสนับสนุนด้านบุคลากรของรัฐ รวมถึงวิธีการจัดซื้อจัดจ้างในแต่ละวิธีมีผลต่อความสำเร็จในการเข้าร่วมการจัดซื้อจัดจ้าง ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า ทั้ง 3 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยพื้นฐานของผู้ประกอบการ ปัจจัยด้านความพร้อมของผู้ประกอบการ และปัจจัยด้านการสนับสนุนของรัฐ มีผลต่อความสำเร็จ อีกทั้งผลการศึกษายัง พบว่า  ปัจจัยด้านอิทธิพลทางสังคม และปัจจัยพื้นฐานของผู้ประกอบการด้านประเภทธุรกิจ ไม่มีผลต่อความสำเร็จในการเข้าร่วมการจัดซื้อจัดจ้าง SMEs ของภาครัฐด้วย ดังนั้นภาครัฐจึงควรสร้างการรับรู้ให้กับผู้ประกอบการ และจัดอบรมสัมมนาให้ความรู้ในขั้นตอนการปฎิบัติกับผู้ประกอบการในการเข้าร่วมการจัดซื้อจัดจ้าง และควรมีมาตรการจูงใจให้กับผู้ประกอบการเพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถเข้าร่วมการจัดซื้อจัดจ้างได้มากยิ่งขึ้น
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2483
Appears in Collections:Faculty of Social Sciences

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs641130228.pdf2.19 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.