Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2448
Title: | MARKETING MIX 4Es AND APPLICATION TECHNOLOGY ACCEPTANCE INFLUENCING REPURCHASE INTENTION TREND OF FOOD DELIVERY SERVICES CUSTOMER IN BANGKOK METROPOLITAN ส่วนประสมการตลาด 4Es และการยอมรับเทคโนโลยีแอปพลิเคชันที่มีอิทธิพลต่อแนวโน้มความตั้งใจในการซื้อซ้ำของผู้ใช้บริการธุรกิจส่งอาหาร ในเขตกรุงเทพมหานคร |
Authors: | NAPATPORN LAIPRASERT ณภัทร์พร ไหลประเสริฐ Sedtawat Prommasit เศรษฐวัสภุ์ พรมสิทธิ์ Srinakharinwirot University Sedtawat Prommasit เศรษฐวัสภุ์ พรมสิทธิ์ sedtawat@swu.ac.th sedtawat@swu.ac.th |
Keywords: | ส่วนประสมการตลาด 4Es, การยอมรับเทคโนโลยีแอปพลิเคชัน, แนวโน้มความตั้งใจในการซื้อซ้ำของผู้ใช้บริการธุรกิจส่งอาหาร 4Es Marketing mix Application Technology Repurchasing intentions food delivery services trend |
Issue Date: | 21 |
Publisher: | Srinakharinwirot University |
Abstract: | The aim of this research is to study the 4Es of the marketing mix and application technology acceptance influencing the repurchasing intention trends among food delivery service customers in the Bangkok metropolitan. The sample in this research consisted of 385 food delivery services customers who repurchased and lived in Bangkok. A questionnaire was used as the tool for data collection, with a reliability value of 0.856. The statistics for data analysis were in terms of percentage, mean and standard deviation. The statistics hypotheses testing employed a t-test, One-way analysis of variance and multiple regression analysis. The statistical value was set at the confidence level of 95% and the level of statistical significance was set at 0.05. The results indicated that the majority of the respondents were female, aged 20-29, lived together with a partner, worked company employees, and an estimated income of 25,000-30,000 Baht. Food delivery service users had opinions on the 4Es marketing mix at a very agree level, a total mean of 4.00 and a standard deviation of 0.219. The highest mean was access to consumers at 4.03, and standard deviation was 0.313, followed by value. The mean was 4.00 and standard deviation was 0.296. The mean was 3.99, the standard deviation was 0.278. For relationship building, the mean was 3.97 and the standard deviation was 0.303, respectively. The results of the hypothesis testing showed that different personal factors, such as gender, income, occupant and career had different repurchasing intention trends among food delivery service customers. Multiple regression analysis The marketing mix 4Es consist Experience and Evangelism of food delivery service customer in Bangkok had no influence on repurchasing intention trends among food delivery service customers, the factors of Availability Everywhere and Exchange among food delivery service customer in Bangkok had an influence on the repurchasing intention trends of food delivery service customer intentions at 15.5% and the factors of technology adoption, including perceived usefulness and perceived ease of use had positive acceptance influencing repurchasing intentions for 8.80% trend of food delivery service customers in Bangkok. การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษา ส่วนประสมการตลาด 4Es และการยอมรับเทคโนโลยีแอปพลิเคชันที่มีอิทธิพลต่อแนวโน้มในความตั้งใจซื้อซ้ำของผู้ใช้บริการธุรกิจส่งอาหาร ในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือ กลุ่มประชากรซึ่งเป็นผู้ที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครที่เคยใช้บริการสั่งอาหารแบบเดลิเวอรี่ ซึ่งไม่ทราบจำนวนที่แน่นอน จำนวน 385 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่น 0.856 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐานได้แก่ การวิเคราะห์ความแตกต่างโดยการหาค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และสถิติการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ โดยกำหนดค่าสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 และค่าความคลาดเคลื่อนที่ระดับร้อยละ 5 ผลการวิจัยพบว่า ผู้ใช้บริการธุรกิจส่งอาหารในเขตกรุงเทพมหานคร ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 20-29 ปี มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 25,001-35,000 บาท พักอาศัยร่วมกัน 1-2 ท่าน และมีอาชีพเป็นพนักงานบริษัทเอกชน ผู้ใช้บริการธุรกิจส่งอาหารมีความคิดเห็นต่อด้านส่วนประสมการตลาด 4Es ในระดับเห็นด้วยมาก โดยมีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.00 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.219 ข้อที่ได้ค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านการเข้าถึงผู้บริโภค มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.03 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.313 รองลงมาคือด้านความคุ้มค่า มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.00 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.296 ด้านการสร้างประสบการณ์ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.99 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.278 และด้านการสร้างความสัมพันธ์ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.97 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.303 ตามลำดับ ผลการทดสอบทางสมมติฐานพบว่า ผู้ใช้บริการธุรกิจส่งอาหารที่มีเพศ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน จำนวนผู้พักอาศัยร่วมกัน และอาชีพ แตกต่างกัน มีแนวโน้มความตั้งใจในการซื้อซ้ำแตกต่างกัน การวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า ส่วนประสมการตลาด 4Es ด้านความคุ้มค่าและด้านการเข้าถึงผู้บริโภค มีอิทธิพลต่อแนวโน้มความตั้งใจในการซื้อซ้ำของผู้ใช้บริการธุรกิจส่งอาหาร สามารถร่วมพยากรณ์แนวโน้มความตั้งใจในการซื้อซ้ำ ได้ร้อยละ 15.5 ปัจจัยด้านการยอมรับเทคโนโลยีแอปพลิเคชั่น ด้านการรับรู้ถึงประโยชน์ และด้านการรับรู้ความง่ายในการใช้งาน มีอิทธิพลต่อแนวโน้มความตั้งใจในการซื้อซ้ำและสามารถร่วมพยากรณ์แนวโน้มความตั้งใจในการซื้อซ้ำ ได้ร้อยละ 8.80 ของผู้ใช้บริการธุรกิจส่งอาหารในเขตกรุงเทพมหานคร |
URI: | http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2448 |
Appears in Collections: | Faculty of Business administration for society |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
gs641130103.pdf | 8.47 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.