Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2442
Title: UX RESEARCH FOR DEVELOPMENT ORDER MANAGEMENT SYSTEM (OMS)
การวิจัยประสบการณ์ผู้ใช้งานสำหรับการพัฒนาระบบจัดการออเดอร์ 
Authors: NUTTHA LOHAJOTI
ณัฏฐา โลหะโชติ
Intaka Piriyakul
อินทกะ พิริยะกุล
Srinakharinwirot University
Intaka Piriyakul
อินทกะ พิริยะกุล
intaka@swu.ac.th
intaka@swu.ac.th
Keywords: การวิจัยประสบการณ์ผู้ใช้
ระบบจัดการออเดอร์
Choice-Based Conjoint Analysis
UX Resarch
Order Management System
Choice-Based Conjoint Analysis
Issue Date:  19
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: The aims of this research are as follows: (1) UX research for the development of Order Management System (OMS); and to study the demands of users on OMS by Choice-Based Conjoint Analysis (CBC.) The sample group in this research consisted of 200 consumers. This study process is based on a focus group used to acknowledge the pain points of the users and using three UX Research methods: Golden Circle to enhance the development purpose of users of an Order Management System development; Empathy map to understand the requirements of system users; and Affinity map use to conduct guidelines for well-classified, problem-solving compilation. The data from the Affinity map are categorized as a personality performance developed for the OMS: ease of use, increased sales, stock, and data analysis. The results found that the sample groups mostly knew the OMS for the first time from Facebook and Google Ads and from business partners. There are two distribution channels and the most frequently-used platform was Shopee, plus, an expense rate for system use per month from 0-999 Baht. Orders were not more than 499 orders/month and a product quantity list of approximately 1-49 lists. Increased sales are a personality performance which users prioritized first, with data analysis afterwards, which was easy to use and systematic stock management was the least unpopular. 
การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ กระบวนการวิจัยประสบการณ์ผู้ใช้งาน สำหรับการพัฒนาระบบจัดการออเดอร์ ด้วยวิธีการ Choice-Based Conjoint Analysis กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ กลุ่มผู้ใช้งานที่ใช้งานระบบจัดการออเดอร์อยู่แล้ว จำนวน 200 ตัวอย่าง โดยการวิจัยครั้งนี้ได้มีขั้นตอนการวิจัยประกอบด้วย การสัมภาษณ์แบบกลุ่ม (Focus Group) เพื่อให้ได้มาซึ่งปัญหาของผู้ใช้งาน (Pain point), การใช้ Golden Circle เพื่อให้ผู้พัฒนาเข้าใจถึงจุดประสงค์ของการพัฒนาระบบจัดการออเดอร์, การใช้ Empathy Map เพื่อให้เข้าใจถึงความต้องการของผู้ใช้งานระบบ และ การใช้ Affinity Map เพื่อเป็นการจัดแนวทางการรวบรวมวิธีการแก้ปัญหาที่ได้จัดเป็นหมวดหมู่เดียวกัน โดยข้อมูลที่ได้จากการทำ Affinity Map จะถูกนำมาใช้ในการจัดคุณลักษณะสำหรับพัฒนาระบบจัดการออเดอร์ ซึ่งประกอบด้วย ด้านการใช้งานง่าย (Easy to use) ด้านเพิ่มยอดขาย(Increase Sales) ด้านการจัดสต๊อก(Stock) และด้านการแสดงผลและวิเคราะห์ข้อมูล(Data) ผลการวิจัยของกลุ่มตัวอย่างพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ รู้จักระบบจัดการออเดอร์ครั้งแรกผ่านช่องทางการโฆษณาผ่าน Facebook / Google Ads และ ผ่านคนรู้จัก เพื่อน หรือ หุ้นส่วน จำนวนช่องทางการขายอยู่ที่ 2 ช่องทาง โดยช่องทางที่มีการใช้งานเยอะที่สุดเป็น Shopee โดยช่วงราคาค่าใช้จ่ายที่ใช้งานระบบจัดการออเดอร์จะอยู่ที่ 0-999 บาท/เดือน ซึ่งมีจำนวนออเดอร์ที่ต้องจัดการต่อเดือนไม่เกิน 499 ออเดอร์ และ จำนวนรายการสินค้าของร้านจะอยู่ที่ 1-49 รายการ โดยคุณลักษณะด้านเพิ่มยอดขาย เป็นคุณลักษณะที่ผู้ใช้ระบบจัดการออเดอร์ให้ความสำคัญมากที่สุด รองลงมาคือด้านการแสดงผลและวิเคราะห์ข้อมูล ด้านความใช้งานง่าย และ ด้านการจัดการสต๊อกที่ผู้ใช้งานระบบให้ความสนใจน้อยที่สุด
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2442
Appears in Collections:Faculty of Business administration for society

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs641130092.pdf2.91 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.