Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2419
Title: THE INFLUENCE OF FLEXIBLE WORKING AND PERFORMANCE EFFICIENCY EFFECTING TO WORK-LIFE BALANCE AND LIVING DURING COVID-19 PANDEMIC SITUATION OF WORKING PEOPLE IN THE BANGKOK METROPOLITAN AREA
อิทธิพลของรูปแบบการทำงานแบบยืดหยุ่น และประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ที่มีต่อการสร้างสมดุลระหว่างการทำงานและการใช้ชีวิตในช่วงสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ของประชากรวัยทำงานในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
Authors: TANAPORN SOPAPON
ธนาภรณ์ โสภาพล
Nartanong Nambuddee
นาฏอนงค์ นามบุดดี
Srinakharinwirot University
Nartanong Nambuddee
นาฏอนงค์ นามบุดดี
nartanong@swu.ac.th
nartanong@swu.ac.th
Keywords: การทำงานแบบยืดหยุ่น
ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน
การสร้างสมดุลระหว่างการทำงานและการใช้ชีวิต
สถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19
Flexible working
Performance efficiency
Work-life balance
COVID-19 pandemic situation
Issue Date:  19
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: This study aimed to investigate the influence of flexible work and performance efficiency effecting work-life balance among working people in the Bangkok Metropolitan area, living during COVID-19 pandemic situation. The sample consisted of 400 working people in the Bangkok metropolitan area using a questionnaire for collecting data by random sampling, quota sampling, and purposive sampling. The statistics used for analyzing data consisted of percentage, frequency, mean, standard deviation, and testing hypothesis using t-test, One-way ANOVA and Pearson’s correlation coefficient. The results found that the respondents mainly were female, aged between 31-40 years old, the majority were single and separated, educational level of a Bachelor’s degree, an average monthly income range of 15,001-30,000 baht and the majority of the respondents had a family burden. The overall factors supporting flexible working, performance efficiency and work-life balance were at a high level. The results of hypothesis testing showed that working people with different gender and education levels had different work-life balance and living with stress management at a statistically significantly level of 0.05, working people of different ages and family burden had a different work-life balance and living on improving relationship with family members and colleagues at  a statistically significantly level of 0.05. The five factors supporting flexible working consisted of work planning, expertise on operating system, generousness at work, workplace environment and coordination in organization. The four aspects of performance efficiency consisted of work quality, work quantity, time and expenses affecting work-life balance and living during COVID-19 pandemic situation of working people in the Bangkok metropolitan area. For improving good relationship with family members and colleagues, stress management and expense reduction were in the same direction at a medium level statistically significantly at level of 0.01. However, the results can improve flexible working to be guidelines for work from home or on-site working and guidelines for building work-life balance during the COVID-19 pandemic situation.
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย เพื่อศึกษาอิทธิพลของรูปแบบการทำงานแบบยืดหยุ่น และประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ที่มีต่อการสร้างสมดุลระหว่างการทำงานและการใช้ชีวิตในช่วงสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ของประชากรวัยทำงานในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ประชากรวัยทำงานในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย การสุ่มตัวอย่างแแบโควตา และการเลือกสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติค่าที ค่าความแปรปรวนทางเดียว และค่าสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 31 - 40 ปี สถานภาพโสด/แยกกันอยู่ ระดับการศึกษาปริญญาตรี มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 15,001 - 30,000 บาท และมีภาระครอบครัว ปัจจัยที่ช่วยสนับสนุนการทำงานแบบยืดหยุ่น ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน และการสร้างสมดุลระหว่างการทำงานและการใช้ชีวิตโดยรวมอยู่ในระดับมาก ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ประชากรวัยทำงานที่มีเพศ และระดับการศึกษาแตกต่างกัน มีการสร้างความสมดุลระหว่างการทำงาน และการใช้ชีวิตด้านการบริหารจัดการความเครียดแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ประชากรวัยทำงานที่มีอายุ และภาระครอบครัวแตกต่างกัน มีการสร้างความสมดุลระหว่างการทำงาน และการใช้ชีวิตด้านการเพิ่มความสัมพันธ์อันดีกับคนในครอบครัว และเพื่อนร่วมงานแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5 ปัจจัยที่ช่วยสนับสนุนการทำงานแบบยืดหยุ่นทั้ง 5 ด้าน ประกอบด้วย การวางแผนการทำงาน ความเชี่ยวชาญในงาน ระบบปฏิบัติการเอื้อเฟื้อต่อการทำงาน สภาพแวดล้อมในที่ทำงาน และการประสานงานภายในองค์กร ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานทั้ง 4 ด้าน ประกอบด้วย ด้านคุณภาพของงาน ด้านปริมาณของงาน ด้านเวลา และด้านค่าใช้จ่าย มีผลต่อการสร้างสมดุลระหว่างการทำงานและการใช้ชีวิตในช่วงสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ของประชากรวัยทำงานในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ด้านการเพิ่มความสัมพันธ์อันดีกับคนในครอบครัวและเพื่อนร่วมงาน ด้านการบริหารจัดการความเครียด และด้านการลดค่าใช้จ่ายในทิศทางเดียวกันในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ทั้งนี้ผลการวิจัยสามารถนำมาปรับรูปแบบการทำงานแบบยืดหยุ่น เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานที่บ้านหรือนอกสถานที่ และเพื่อเป็นแนวทางในการสร้างสมดุลระหว่างการทำงานและการใช้ชีวิตในช่วงสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2419
Appears in Collections:Faculty of Business administration for society

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs621130395.pdf4.02 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.